
28 ต.ค.2566 - นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสโจมตี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อันเนื่องมาจากนายจุลพันธ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ได้นำข้อสรุปจากการประชุมครั้งล่าสุดของคณะอนุกรรมการดังกล่าวออกมาเปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติออกมาว่าให้เสนอทางเลือกอื่น ๆ อีก 3 ทางเลือกในการแจกเงิน 10,000 บาท จากทางเลือกเดิมที่กำหนดให้แจกแบบถ้วนหน้าทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จำนวนราวๆ 56 ล้านคน เป็นเงินที่ต้องใช้รวม 560,000 ล้านบาท นั้น
ขอชี้แจงว่า ทางเลือกที่เสนอมาใหม่ทั้ง 3 ข้อนั้น ไม่ใช่เป็นความเห็นหรือข้อเสนอส่วนตัวของนายจุลพันธ์แต่อย่างใด นายจุลพันธ์เพียงเป็นผู้รวบรวมมติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อนำไปเสนอต่อบอร์ดใหญ่คือ คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เท่านั้น เหตุไฉนจึงมีคนจับประเด็นคลาดเคลื่อน แล้วพยายามปั่นกระแสเป็นทำนองว่า นายจุลพันธ์พยายามจะหาทางบิดพลิ้วไปจากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทแบบถ้วนหน้าตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่าเมื่อทางเลือกทั้ง 3 ข้อถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่แล้ว ก็ยังไม่แน่ว่าที่ประชุมใหญ่จะเห็นด้วยกับทางเลือกข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ หรืออาจจะยังคงยืนยันในทางเลือกเดิมคือแจกแบบถ้วนหน้าตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 56 ล้านคน ใช้งบประมาณ 560,000 ล้านบาทก็เป็นได้ ดังนั้น จะต้องรอข้อสรุปจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ก่อน
“ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลนี้ยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ด้วยการเปิดรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เห็นต่างอย่างรอบด้าน และพร้อมพิจารณาทางเลือกต่างๆ อย่างรอบคอบด้วยกลไกการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ได้มติสุดท้ายออกมาจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ก็ควรจะถือว่าเป็นข้อยุติ โดยรัฐบาลจะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่ออกมา” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
ทั้งนี้ 3 ทางเลือกที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เสนอนั้น มีดังนี้
1. ให้เฉพาะกลุ่มที่เคยลงทะเบียนคนจน จำนวน 15-16 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณราว 150,000-160,000 ล้านบาท
2. กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน จำนวน 43 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณราว 430,000 ล้านบาท
3. กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน จำนวน 49 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณราว 490,000 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พิชัย' อ้ำอึ้งแจกเงินหมื่นวัยรุ่น บอกใจเย็นๆ
"พิชัย" ตอบ "ศิริกัญญา" เลื่อนคุยกำแพงภาษีไม่ใช่ประเด็น ดีใจไม่รีบไป รอจังหวะ ขอเฝ้ามองกรอบประเทศใหญ่ พร้อมเฝ้าจับตา จีน-สหรัฐฯคุยกัน ภาวนาคลื่นเล็กลง ทำงานง่ายขึ้น แจงปมกู้เงิน 5 แสนล้าน
ยุ่งแล้ว! 4บิ๊กเนม ยื่น ป.ป.ช. ฟันครม.'เศรษฐา-อุ๊งอิ๊ง' พ่วง 'สส.-สว' ปรับงบฯมาแจกเงินหมื่น
'สมชาย - ชาญชัย - เจษฎ์- นิติธร ' ยื่น ป.ป.ช. ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ถอดถอนครม.'เศรษฐา-อุ๊งอิ๊ง' พ่วง 'สส.- สว' ชุดปัจจุบัน ผิดรธน. ม.144 ปรับงบฯ 68 ส่วนเงินกู้มาแจกเงินหมื่น
โวยรัฐบาล 2 ปี ไร้น้ำยาแก้ปากท้อง ขายปาล์ม 1 กิโล ซื้อขายไข่ไม่ได้สักฟอง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อนิจจา!!! คนจนจะอดตาย ขายปาล์ม 1 โล ซื้อไข่ไม่ได้สักฟอง
'อิ๊งค์' ล่องเรือไฟฟ้า ชมคลองบางลำพู เจอชาวบ้านตะโกนทวงเงินหมื่น
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมพื้นที่คลองบางลำพู เพื่อดูแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีเส้นทางเชื่อมโยงกับคลองโอ่งอ่าง บริเวณสวนสาธารณะป้อมมหากาฬ โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้การต้อนรับ
ครม.เห็นชอบ พ.ร.ก.ไซเบอร์ เพิ่มมาตรการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี