ซูเปอร์โพลเผยเมืองไทยเข้าสู่เฟสพายุการเมืองระอุ

7 เม.. 2567 - สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง พายุการเมืองระอุ กับ วิกฤตศรัทธา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,178 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 6 เมษายน พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา 

ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.0 มองว่า บรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุไม่เลย และเมื่อแบ่งออกตามเพศ พบว่า ชายส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 มองว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรงมากกว่า หญิงที่มีอยู่ร้อยละ 74.8 ที่มองว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง เช่นกัน เมื่อแบ่งออกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนอายุระหว่าง 20 – 29 ปี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.3 กลุ่มคนอายุระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 88.1 กลุ่มคนอายุระหว่าง 40 – 49 ปีร้อยละ 68.3 กลุ่มคนอายุ 50 – 59 ปีร้อยละ 74.2 และกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.2 มองว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง

ที่น่าพิจารณาคือ เหตุปัจจัยที่ทำการเมืองร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ วิกฤตศรัทธาต่อ ผู้นำการเมือง ร้อยละ 84.8 กระบวนการยุติธรรม ล่มสลาย ร้อยละ 83.7 ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 66.3 ความเสื่อมศรัทธาต่อ องค์กรอิสระ ร้อยละ 50.6 และการยุบพรรคก้าวไกล ร้อยละ 48.9 ตามลำดับ

รายงานของ ซูเปอร์โพล ระบุว่า หากเปรียบเทียบข้อมูลผลโพลชิ้นนี้ กับ อุณหภูมิร้อนทางการเมืองย้อนกลับไปประมาณปลายปีที่ผ่านมาจะพบว่า บรรยากาศการเมืองร้อนระอุขึ้นมากสอดคล้องกับการรับรู้และความรู้สึกของประชาชนได้ที่น่าเป็นห่วงคือบรรยากาศร้อนระอุทางการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะเหตุปัจจัยสำคัญที่ประชาชนระบุมาในผลโพลนี้คือ วิกฤตศรัทธาต่อผู้นำการเมือง กระบวนการยุติธรรมล่มสลาย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนล้มเหลว ความเสื่อมศรัทธาต่อองค์กรอิสระและการยุบพรรคก้าวไกล 

รายงานของซูเปอร์โพล ระบุด้วยว่า ในห้วงเวลาที่เหลืออยู่ ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้นำทางการเมืองทั้งหลาย เช่น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและกระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนและรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้จริงโดยทำให้คนทั้งประเทศเห็นว่าทำงานอย่างหนักเกิดผลงานจับต้องได้ มีการลงพื้นที่เกาะติดพี่น้องประชาชนต่อเนื่องและลงซ้ำเพื่อติดตามผลคืบหน้าแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนและชุมชนในระดับพื้นที่ได้จริง เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อาจจะกลับไปกางเต็นท์ที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อดูว่าอดีตวันนั้นกับอาจสามารถโมเดลแก้จน กับ วันนี้ในปัจจุบันแตกต่างไปอย่างไรบ้าง การลงพื้นที่อำเภออาจสามารถ ร้อยเอ็ด ในอดีตทำให้เกิดการพัฒนาดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร หากทุกฝ่ายช่วยกัน ผลที่ตามมาคือ บรรยากาศการเมืองที่จะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายก็จะลดระดับลงทำให้การขับเคลื่อนประเทศชาติและประชาชนทั้งประเทศเดินหน้าก้าวข้ามความขัดแย้งและผ่านพ้นวิกฤตศรัทธาต่อผู้นำการเมืองและอื่น ๆ ไปได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ซูเปอร์โพล' การันตี 'ทักษิณ' เป็นผู้มีบารมี ปชช.วอนแก้ปากท้อง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จับกระแสโพล ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

‘บิ๊กเอก’ ห่วงวิกฤตศรัทธาตำรวจ หวัง ‘รรท.ผบ.ตร.’ กอบกู้ หลังประกาศกวาดบ้านครั้งใหญ่

นับเป็นประวัติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อให้เกิดวิกฤติศรัทธาประชาชนที่มีต่อตำรวจ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

ไทยเฉยมาแรง! ไม่ยึดติดขั้วการเมือง เทใจให้ตามทิศผลประโยชน์

เปิดผลโพลความต้องการของประชาชน ต้องการเดินหน้าเงินดิจิทัล หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้อง ขณะการเมือง ไม่ยิดติด พร้อมหนุนกลุ่มทำดี มีผลประโยชน์

'ซูเปอร์โพล' ชี้ประชาชนพอใจให้โอกาส 'เศรษฐา' บริหารประเทศให้อยู่ครบวาระ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ประเมินผลงานรัฐบาล 6 เดือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป