30 มิ.ย. 2567 – นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2560 โพสต์เฟซบุ๊กระบุความเห็นถึงรายชื่อสว.ชุดใหม่ ว่า เขาคือใครและเราคือใครในประเด็นวุฒิสมาชิกชุดใหม่ ผมขอให้ความเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ เกี่ยวกับวุฒิสมาชิกชุดใหม่ หลังจากฟังเสียงรอบข้างมาระยะหนึ่ง
1.ผมเห็นว่าควรมีวุฒิสภามาช่วยกลั่นกรองกฏหมาย และจะดีที่มาจากสาขาอาชีพต่างๆ แม้ในครั้งนี้จะมีปัญหาอยู่บ้างในระบบขั้นตอนของการได้มาตามกฏหมายในครั้งนี้ ที่เมื่อเราได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดแล้วค่อยแก้ไขในโอกาสต่อไป แต่ก็ถือว่าแนวนั้นมาถูกทางแล้ว
2.ผมไม่เห็นด้วยกับการมีวุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้ง แม้เคยเห็นการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกที่ดีที่สุดในสมัยท่านนายกฯบรรหาร ศิลปอาชา โดยคณะกรรมการที่เป็นอิสระ แม้แต่คนที่ท่านเสนอเห็นว่าเหมาะสม แต่ยังต้องถูกกรรมการคัดออก หรือผมเคยได้รับมอบหมายให้ทาบทามบุคคลมาเป็นวุฒิสมาชิกภาคเกษตรท่านหนึ่งในภาคใต้ ผมโทรไป ลูกสาวบอกว่าพ่อไม่อยู่ไปตัดยางในสวนกลับเย็นๆ เขาเป็นเกษตรกรธรรมดาได้เป็นวุฒิสมาชิกในครั้งนั้นด้วย ผ่านมา20กว่าปีแล้ว เขายังทำงานให้เกษตรกรอยู่จนปัจจุบันเพราะเขาเป็นตัวแทนอาชีพเกษตรกรจากรากหญ้าจริงๆ
3.ผมไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกโดยตรง เพราะจะเกิดปัญหาตัวแทนประชาชนซ้อนกัน ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้แทนประชาชนกันแน่ และที่สำคัญจะถูกแทรกแซงและครอบงำโดยตรงจากฝ่ายการเมืองอย่างแน่นอน ไม่ใช่การเข้ามาเกี่ยวข้องโดยอ้อมเหมือนครั้งนี้
4.ผมไม่เห็นด้วยกับการไปด้อยค่าวุฒิสมาชิกชุดนี้ เพราะผมคิดว่าเราเป็นแค่บุคคลคนหนึ่งในสังคมนี้ เราไม่มีสิทธิที่จะไปให้ความเห็นเช่นนั้น เราด่าว่าวุฒิที่มาจากหอคอยงาช้าง หรือมาจากการแต่งตั้ง แต่พอเราได้จากกลุ่มที่มาจากอาชีพต่างๆ และบ้างก็มาจากรากหญ้าโดยตรง เราก็ไปด้อยค่าเขาอีก คำถามกลับมาที่ต้วเราเองว่าเราเป็นใคร สูงส่งแค่ไหนถึงมีสิทธิให้ความเห็นเช่นนั้นได้
5.ผมอยากให้ กกต. ไปดำเนินการตรวจสอบไปตามกฏหมายที่เขามีหน้าที่และอำนาจไม่ใช่ตามที่เราอยากให้เป็นไป จากนั้นให้วุฒิสมาชิกที่ผ่านการตรวจสอบทำหน้าที่ของเขากันไปก่อนกันถึงค่อยมาใช้สิทธิว่ากล่าวเขาตามที่ควรเป็น เพื่อบ้านเมืองไม่ใช่เพื่อความสะใจของเราเอง
6.ผมแค่เป็นคนที่มองโลกตรงไปตรงมาในแง่ดี เพราะผมเองคิดว่าผมก็แค่คนๆหนึ่งที่ทำงานทางการเมืองแม้จะยาวนาน แต่ไม่ได้เป็นฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า เป็นฝ่ายประชาธิปไตย หรือ ฝ่ายไหนที่สูงส่งกว่าใคร ผมเคารพทุกๆคนที่ทำงานเพื่อบ้านเมือง และผมไม่ชอบการยกตนข่มท่าน ว่าใครดีกว่าใคร เพราะมันวัดกันที่ใครจริงใจกับประเทศชาติและประชาชนมากกว่าใคร ซึ่งมันวัดกันยากมาก ต้องใช้เวลาพิสูจน์คนทางการเมือง
เราควรจะให้เวลากับท่านสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้กันสักระยะหนึ่ง โดยไม่ดูถูกความเป็นเพื่อนร่วมชาติผู้เสนอตัวเข้ามาทำหน้าที่กันไม่ดีกว่าหรือ? ครบปีแล้วค่อยมาว่ากล่าวกันก็ยังทันครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
ระอุ สภาสูงย้อนเกล็ดเพื่อไทย ประธานกมธ.ทหารฯ ขวาง ครม.ทำโผทหาร
ระอุ สภาสูงตั้งป้อม สกัดเพื่อไทย ยึดอำนาจกองทัพ ประธานกมธ.ทหารฯ มาเอง ขวางครม.ทำโผทหาร เปิดเหตุผล “หัวเขียง-พท.”เสนอเพิ่มอำนาจครม.ตั้งบิ๊กท็อปบูต อัดแรง ระบบปัจจุบันเปิดช่องผบ.เหล่าทัพ วางทายาท-พวกพ้องให้สืบทอดอำนาจ
กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ
'นิกร' สอน 'ไอติม' อย่ารีบ! ยันคำวินิจฉัยศาล รธน.ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง
'นิกร' ยันคำวินิจฉัยศาลรัธรรมนูญให้ทำประชามติแก้ รธน. 3 ครั้ง หวั่นทำผิดขั้นตอนจากเร็วขึ้นจะกลายเป็นช้าแทน
'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.
นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69
นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน