'บุญส่ง' ลั่นพร้อมทำหน้าที่ 'ประธาน-รองปธ.สภาสูง' หวังอยู่ครบ 5 ปี

‘บุญส่ง’ ลั่นพร้อมทำหน้าที่ หากสมาชิกเลือกนั่งประธาน-รองปธ. ยันมีประสบการณ์ ยึดหลักจงรักภักดี-ซื่อสัตย์สุจริต หวัง สว. ชุดนี้อยู่ครบ 5 ปี อย่ามองมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง

12 ก.ค. 2567 – เมื่อเวลา 09.20 น. ที่รัฐสภา นายบุญส่ง น้อยโสภณ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงการเข้ามาทำหน้าที่ สว. ว่า ในฐานะที่เคยเป็นผู้พิพากษา มาจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีกทั้ง 5 ปีที่ผ่านมาได้เป็นที่ปรึกษา นายศุภชัย สมเจริญ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 จึงเข้าใจบทบาทอำนาจหน้าที่ของ สว. ดี พร้อมแสดงความยินดีกับ สว. ใหม่ 200 คน ชุดที่ 13 ซึ่งถือเป็น Lucky Number และหวังว่า สว. ชุดนี้จะอยู่ครบ 5 ปี

“ยืนยันว่าจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. เขียนเอาไว้ชัดเจนถึงอำนาจหน้าที่ นอกจากนี้ส่วนตัวจะยึดหลักของความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีความซื่อสัตย์ สุจริตในการทำหน้าที่ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เป็นกลาง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก” นายบุญส่ง ระบุ

ส่วนที่มีชื่อชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภานั้น นายบุญส่ง กล่าวว่า ต้องขอบคุณสื่อมวลชน แต่ของจริงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นอำนาจของผู้เสนอชื่อ รวมถึงต้องเคารพสิทธิของสมาชิกทุกคน ที่จะเลือกคนเหมาะสมมาทำหน้าที่ โดยไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์คุณสมบัติของคนที่จะมาทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา เพราะมองทุกคนในแง่บวก

เมื่อถามกรณีที่เคยทำงานร่วมกับรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 และมีกระแสข่าวถูกวางตัวไว้เป็นประธานหรือรองประธานวุฒิสภา มีความพร้อมหรือไม่นั้น นายบุญส่ง กล่าวว่า “พร้อมครับ” เพราะมีส่วนในการให้ความเห็นในการร่างกฎหมายต่างๆ รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาก่อน

ส่วนที่มีข้อครหาในกระบวนการเลือก สว. ชุดใหม่นั้น นายบุญส่ง กล่าวว่า มองโลกในแง่บวก ความสัมพันธ์ของสมาชิกด้วยกันต้องมีความสมัครสมานสามัคคีกัน ไม่อยากให้มองในแง่ลบ อย่าไปด้อยค่า เพราะทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการเข้ามาทำหน้าที่ เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นจะถูกร้องเรียนได้ ส่วนตนเองในฐานะอดีตผู้พิพากษาเก่า มองว่าผู้ที่ถูกร้องเรียนยังไม่ถือว่ามีความผิด จนกว่าจะประกาศผล

เมื่อถามถึงกระแสข่าว สว. จับกลุ่มต่อรองผลประโยชน์ มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง นายบุญส่ง กล่าวว่า ขออย่าพูดถึงนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง เพราะไม่ควรมองในแง่ลบ และความจริงพรรคการเมืองไม่ควรยุ่งเกี่ยว เพราะกฎหมายได้เขียนชัดเจนกรรมการการเลือกตั้งก็ได้มีการตรวจสอบ จึงขอปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ และต้องบอกว่าทุกคนถือเป็นผู้บริสุทธิ์ ส่วนตัวก็ไม่ได้สนใจข่าวดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาจำเป็นต้องรู้เรื่องกฎหมายหรือไม่ นายบุญส่ง กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องกฎหมายก็ได้ เพราะระเบียบข้อบังคับการประชุมมีอยู่แล้ว ซึ่งต้องแม่นข้อบังคับเพราะตีความได้ยาก ดังนั้นประธานต้องเก่งและประนีประนอมได้ อย่าตัดบทในขณะที่สมาชิกอภิปราย ไม่เช่นนั้นจะทะเลาะกัน ซึ่ง สว. มาจากหลากหลายกลุ่ม การควบคุมก็จะยากขึ้น และเมื่อขึ้นทำหน้าที่ประธาน จะมีเอกสารให้ดู จะมีเลขาฯ คอยส่งข้อมูลให้ ก็จะพูดตามนั้น แต่การควบคุมที่ประชุมก็อาจยากหน่อยเพราะ สว. มาจากหลายกลุ่ม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นนักการเมืองดัง ลวงเหยื่อ 22 ล้าน

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 (ผบก.สอท.5) มอบหมายให้ พ.ต.อ.กฤษดา มานะวงศ์สกุล ผกก.1 บก.สอท.5 สืบสวนจับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์

'ชวน' สะบัดมีดใส่ 'ทักษิณ' เล่นการเมืองไม่ได้หวังปกป้องธุรกิจหรือเอาประโยชน์ให้ครอบครัว

'ชวน' สวน 'ทักษิณ' สส.แก่สุดอยู่ในพรรคเพื่อไทย 2 คน กรีดเข้าการเมืองไม่ใช่ปกป้องธุรกิจครอบครัว ยันไม่เคยแค้น 'แม้ว' แต่ย้ำทำไม่ดีกับบ้านเมืองจะมีปัญหา

'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด

'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด