'นิกร' โอด สว.งดประชุม ห่วงกมธ.ร่วมพิจารณาร่างพรบ.ประชามติ

11 ต.ค.2567 - นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากกรณีที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 30 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. จึงกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว สภาละ 14 คน และได้ลงมติตั้งบุคคลเป็นกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร และส่งไปยังวุฒิสภา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 แล้วนั้น

ล่าสุด ทราบว่า ประธานวุฒิสภามีคำสั่งให้งดการประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 14 และวันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 โดยแต่เดิมตน คาดหวังว่า ในวันที่ 15 ตุลาคมนั้นจะมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อเสนอ กมธ.ร่วม 14 คน แล้วต่อจากนั้นวันที่ 16 ตุลาคมจะได้มีการนัดประชุม กมธ.ร่วม เพื่อหารือ และหาข้อสรุปเกี่ยวกับประชามติ และได้ประเมินไว้ว่า 16-23 ตุลาคมก็ยังถือว่าทันอยู่จะได้สรุปรายงานส่งเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาในวันที่ 24 ตุลาคม จากนั้นในวันที่ 28 ตุลาคมซึ่งจะมีการประชุมวุฒิสภาหากตกลงกันได้ตามร่างของ กมธ.ร่วม และเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 30 ตุลาคม ก่อนที่จะปิดสมัยประชุม

“แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคาดหวังที่ว่าจะทำประชามติตรงกับวันเลือกตั้ง อบจ. ทั่วประเทศ นั้น ก็แทบจะสิ้นหวังไป นอกเสียจากจะมี มิชชั่น อิมพอสซิเบิ้ล เกิดขึ้น โดยถ้ามีการประชุมวุฒิสภาในวันที่ 21 ตุลาคม เพื่อกำหนดชื่อ 14 คน ฝ่ายสว. แล้วส่งชื่อมาทันที จากนั้นก็สามารถนัดประชุม กมธ. ร่วม ครั้งแรกได้ในวันที่ 22 ตุลาคม และประชุมต่อเนื่องในวันที่ 23-24 ตุลาคม ดังนั้นเมื่อเสร็จแล้วก็ทำรายงานส่ง 2 สภาได้ ประชุมเพียง 1-2 วัน ก็จบได้เหมือนกัน เนื่องจากมีมาตราเดียว มีไม่กี่ถ้อยคำ และวันที่ 28 ตุลาคม วุฒิสภาสามารถประชุมเห็นชอบข้อข้อสรุปของ กมธ.ร่วมได้ และวันที่ 30 ตุลาคม สภาผู้แทนฯก็สามารถประชุมให้ความเห็นกับร่างแก้ไขของ กมธ.ร่วมได้ ก่อนปิดสมัยประชุมในวันเดียวกัน ซึ่งก็ยังทันอยู่หากทั้งสองสภาประณีประนอมความเห็นต่างในคราวนี้ได้“ นายนิกร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ 'นิรโทษกรรม' งัดข้อประชามติชั้นเดียว

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' จ่อเข็น 'กม.นิรโทษฯ' ถกพร้อมร่างอื่น พ่วงเดินหน้า 'กม.ประชามติ' แนะ 'ประธานสภาฯ-วิป' เร่งหารือแนวทาง 'แก้ รธน.' เหตุ อาจเสียเวลาเปล่า

ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ

'ไพบูลย์' เย้ยรัฐบาลไม่มีทางแก้รธน.ทั้งฉบับได้ทัน คาดอยู่ไม่ถึง 1 ปี

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค พปชร. กล่าวถึงกรณีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะตีความเป็นกฎหมายการเงิน

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์