ดร.ณัฏฐ์ ชี้ศึกซักฟอกเกมยืมมือฝ่ายค้านสู่การปรับครม. ฟันธงยังไม่ถึงขั้นเปลี่ยนขั้ว

นักกฎหมายมหาชนฟันธง อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นเพียงเกมเปิดแผลรัฐบาล ลดทอนความนิยม นำไปสู่การปรับ ครม. แต่ยังไม่ใช่จุดเปลี่ยนขั้วการเมือง ตัวแปรยุบสภายังไม่เกิด
 
19 ก.พ.2568 - ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน  กล่าวถึงกรณีพรรคประชาชน ในฐานะแกนนำฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยคาดหมายว่า จำนวน 10 รัฐมนตรีจะถูกฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางภายในเดือนมีนาคมนี้ ว่าในระบบรัฐสภา กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า “ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ”  การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้น ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่า รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น 
 
ดร.ณัฏฐ์ กล่าวว่า กรณีเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อลงมติในครั้งนี้ เป็นไปตามกลไกรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 สส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ โดยปกติ การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะพุ่งเป้าไปที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้กระทบชิงไปยังนายทักษิณ ชินวัตร 
 
"จะเห็นว่า ยังไม่ได้เปิดอภิปราย มีองค์รักษ์พิทักษ์นายโผล่ตอบโต้ทางการเมือง หรือแม้กระทั่ง นายทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ว่า จะอยู่หลังห้องประชุมเพื่อโต้ตอบทางการเมือง แม้รัฐธรรมนูญจะมีเอกสิทธิ์คุ้มครองตามมาตรา 124 คุ้มครอง สส.ฝ่ายค้านในการประชุม กล่าวถ้อยคำใดๆในทางแถลงข้อเท็จจริง แต่หากพาดพิงบุคคลภายนอก ย่อมไม่ได้รับเอกสิทธิคุ้มครองก็ตาม แต่กระแสร้อนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นก่อนการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ"
 
นักกฎหมายมหาชน ระบุว่าเมื่อประธานรัฐสภา ได้บรรจุเป็นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรายบุคคลเพื่อลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151  กลไกลตรวจสอบฝ่ายบริหารจะเดินเครื่องทันที โดยมีเป้าหมายเพื่อให้รัฐมนตรีรายบุคคลที่เปิดอภิปรายตกเก้าอี้ โดยใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ สมาชิก สส.ที่มีอยู่ในสภา โดยกลไกของรัฐธรรมนูญ เมื่อประธานรัฐสภารับบรรจุเป็นวาระ ผลทางกฎหมาย รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร จะหนีการตรวจสอบ โดยชิงยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ 
 
ตรงนี้ รัฐธรรมนูญห้ามเด็ดขาด แต่มีข้อยกเว้น 2 กรณี คือ 1.มีการถอนญัตติ 2.การลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 วรรคสี่ กล่าวคือ “ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่เป็นอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร” 
 
นักกฎหมายมหาชน อธิบายว่า ในระบบรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ประเทศต้นแบบประชาธิปไตย ในการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร กรณีไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ฝ่ายบริหารจะชิงยุบสภาเพื่อหลบเลี่ยงมิให้ตรวจสอบไม่ได้ ตรงนี้ รัฐธรรมนูญห้ามเด็ดขาด 
 
สำหรับฝ่ายรัฐบาลขณะนี้ มี 321 เสียง ได้แก่ พรรคเพื่อไทย 142 เสียง พรรคภูมิใจไทย 69 เสียง(ยอดเต็ม 71 เสียง) พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง พรรคกล้าธรรม 24 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง  และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง
 
ฝ่ายค้าน มี 172 เสียง ได้แก่ พรรค 143 เสียง  พรรคพลังประชารัฐ 20 เสียง พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง พรรคเป็นธรรม 1 เสียง พรรคไทยก้าวหน้า 1 เสียงและพรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง 
 
ทั้งนี้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล เป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร ไม่เกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภา แต่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ สมาชิกวุมิสภายื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ โดยอาศัยกลไกรัฐธรรมนูญมาตรา 153 แต่กระทำได้ปีละหนึ่งครั้ง ที่ผ่านมาเห็นในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน จะเห็น สว.อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล หรือหากย้อนไปในอดีต ปี 2492-2494 รัฐบาลจอมพล ป.ถูก สว.อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งเคยเกิดมาแล้ว นำไปสู่การยึดอำนาจและเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 2495
 
"หากวัดเสียงในสภา รัฐบาลครองเสียงข้างมาก 321 เสียง แต่ฝ่ายค้านครองเสียง 172 เสียง เสียงฝ่ายรัฐบาลเด็ดขาด แต่มีโอกาสเกิดงูเห่าในพรรคไทยสร้างไทย ในส่วนของ 6 เสียง อาจยกมือให้ฝ่ายรัฐบาล หลายคน ตัวอยู่ฝ่ายค้าน แต่ใจอยู่เพื่อไทย" ดร.ณัฏฐ์ แล่าวและว่าส่วนเกมถอนถอนใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง รัฐบาลมีเสียงข้างมาก โอกาสถอนถอนรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ฟันธง ได้เลยว่า ไม่มีรัฐมนตรีรายใดตกเก้าอี้เพราะเกมอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้
 
แต่เทคนิคในการปรับคณะรัฐมนตรี เอากระทรวงที่สำคัญคืนของเพื่อไทย แม้ถอดถอนรัฐมนตรีบางรายไม่ได้ แต่เป็นการเปิดแผลฝ่ายรัฐบาล ลดทอนความนิยมในรัฐบาล เกมจึงพุ่งเป้าไปที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพลังงาน โดยเกมการเมือง โดยยืมมือฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อเปิดแผล ตามที่พรรคเพื่อไทย ต้องการ แม้ฝ่ายรัฐบาลจะคุมเกมเสียงข้างมากและเมื่อโหวตเสียง จะเป็นเกมต่อรองทำให้รัฐมนตรีเจ้าของกระทรวงมีคะแนนสนับสนุนในระดับน้อยกว่าคนอื่น เพื่อนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี   เป้าประสงค์ต่อการปรับเปลี่ยนกระทรวง 
 
ส่วนการจะนำไปสู่ปรับเปลี่ยนขั้วการเมืองใหม่นั้น  ดร.ณัฏฐ์ ชี้ว่าตัวแปรยังไม่มี เพราะรัฐบาลผสม เป็นสงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับการเมืองสามก๊ก ส่งผลให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้กุมอำนาจของรัฐบาล อ่านเกมไม่กล้าปรับพรรคร่วมอย่างพรรคภูมิใจไทยและพรรครวมไทยสร้างชาติออกจากรัฐบาลผสม เพราะกระทบต่อสถานะของนายทักษิณโดยตรง
 
ที่ถามว่า โอกาสจะเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองหรือไม่ ตนกล้าฟันธงเลยว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนขั้วการเมือง  เพราะหากปรับรัฐมนตรีดึงเอาพรรค ปชน.ฝ่ายค้านมาร่วมรัฐบาล  พรรคร่วมกระเพื่อม ต่างร้องยี้ มาตรา 112 โดยเฉพาะในคดีที่ค้างใน ปปช.ของ 25 ปชน.(อดีต 44 สส.ก้าวไกล) ในคดีจริยธรรมฯ จะถูกเร่งรัดคดีจากอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ มือที่มองไม่เห็น ยิ่งเร่งเชือดอย่างไว ย่อมทำให้สมการตัวเลขคณิตศาสตร์การเมืองลดลง โดย สส.พรรค ปชน.มีตัวเลขลดลงเหลือ 118 เสียง หากเกมเปลี่ยนขั้วรัฐบาล ย่อมเกิดความเสี่ยงสูงที่จะล้มทั้งกระดาน และส่งผลให้รัฐบาลนำไปสู่การยุบสภาก่อนครบกำหนดอายุสภาไปในที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชื่นมื่น! 'อิ๊งค์' เปิดโรสวูดเลี้ยงข้าวหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลนัดพิเศษ เพื่อพูดคุยเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล

เช็กความพร้อม 'แพทองธาร ชินวัตร' สู้ศึกซักฟอก-ติดกับดักตนเอง!

เสียงระฆังซักฟอกใกล้ดังขึ้น ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงบททดสอบของนายกรัฐมนตรี ”แพทองธาร ชินวัตร” เท่านั้น แต่ยังเป็นสมรภูมิที่เดิมพันไปถึงคนในครอบครัว-ทักษิณ ชินวัตรอีกด้วย

'ทวี' พร้อมช่วยแจงชั้น 14 แทน 'พ่อ-ลูก' ชินวัตร

'ทวี' พร้อมหนุนข้อมูลชั้น 14 ช่วย 'นายกฯอิ๊งค์' เย้ยเรื่องเก่า อยู่ในองค์กรอิสระหมดแล้ว มั่นใจตอบได้หมด ปัดชินวัตรดีลแลกประเทศ อวยมีแต่เปลี่ยนให้ดีขึ้น