ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ซัดฝ่ายค้าน เลือกอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ แพทองธาร เพียงลำพัง ไม่แตะพรรคการเมืองที่ถูกพัวพันคดีฮั้วเลือก สว. ชี้ลดความน่าเชื่อถือของการตรวจสอบ อัดยับ! ประชาชนอาจมองว่าฝ่ายค้าน ‘เลือกมุมเล่นการเมือง’ มากกว่าทำหน้าที่แท้จริง
8 มีนาคม 2568 - นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แสดงความเห็นเกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วาง ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ ว่า นี่เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของรัฐบาลนี้ นับจากนายกฯ เศรษฐา เป็นต้นมา
เดิมทีเดียวข่าวออกมาว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านกำหนดเป้าเป็นรัฐมนตรี 10 คนที่จะยื่นอภิปรายฯ แต่โค้งสุดท้ายเหลือเพียงนายกรัฐมนตรีแพทองธาร คนเดียวเท่านั้น ถ้าให้ผมประเมินเรื่องนี้ไม่อยู่เหนือความคาดหมายเท่าไหร่ล่ะครับ เพราะเคยนั่งคุยกับทีมงานใกล้ชิดอยู่บ้างว่าฝ่ายค้านอาจจะพลิกเกมเดินแต้มนี้ก็ได้ เพราะถ้าดูจากประวัติศาสตร์การเมืองไทย การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งนะครับ และทุกครั้งภายใต้ข้อสมมติฐานทางการเมืองว่ารัฐบาลกำลังมีปัญหา ภายใน หรือมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพของพรรคร่วมรัฐบาล
ครั้งแรกที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีคนเดียว คือในยุครัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เวลานั้นในสภาก็ไม่ค่อยดีครับ นอกสภานายทหารยังเติร์กก็เคลื่อนไหวเป็นคลื่นใหญ่ขึ้นทุกวันๆ สุดท้ายฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกฯ เกรียงศักดิ์คนเดียว และท่านก็ต้องลาออกจากตำแหน่งในที่สุด
ครั้งที่ 2 ในยุครัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นะครับ ตอนนั้นฝ่ายค้านก็อ่านเกมคล้ายๆ นี่แหละครับว่า รัฐบาลพลเอกเปรม ทำท่าจะกระท่อนกระแท่น ยื่นอภิปรายฯ คนเดียว แต่ลืมนึกไปครับว่าพลเอกเปรม แกโชว์ศักยภาพเหนือกว่า ผ่านไปไม่กี่วันเท่านั้นนะครับ รายชื่อ สส. ที่เข้าชื่อกันอภิปรายฯ ค่อยๆ ทยอยหายๆ ส่วนจะหายไปแบบไหน โดยใครไปค้นดูในประวัติศาสตร์กันก็แล้วกันนะครับ
อีก 2 ครั้งหลังคือรัฐบาลนายกฯ บรรหาร ศิลปอาชา,รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่ง 2 ท่านนี้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงลำพัง แล้วหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นายกฯ บรรหาร พลิกเกมยุบสภา , พลเอกชวลิต ลาออก ดังนั้นคราวนี้ฝ่ายค้านเขาก็อาจจะมองเกม ว่าเมื่อเกิดคดีฮั้ว สว. เกิดกรณีการคัดง้างเรื่องแนวทางการทำงานในพรรคร่วมรัฐบาล เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์หรืออื่นๆ ก็อาจจะทำให้สถานะของนายกรัฐมนตรีอยู่ในสภาพคล้ายๆ กับยุคพลเอกเกรียงศักดิ์ , คุณบรรหาร , คุณชวลิต หรือเปล่า เลยเปลี่ยนจาก 10 คนมายื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจคนเดียว
อย่างไรก็ตามนะครับ บริบททางการเมืองวันนี้ ผมมองว่ามันไม่ได้เหมือนกับยุคหลายสิบปีที่แล้ว ผมยังคงยืนยันภาพนี้เสมอนะครับว่า การเมืองปัจจุบันมันเข้าสู่ยุค 3 ก๊กและปฏิสัมพันธ์ของ 3 ก๊กนี้ มันมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน บางช่วงเวลา 2 ก๊กยืนอยู่บนผลประโยชน์ร่วมทางการเมือง ในขณะที่อีกก๊กนึงเนี่ยยืนอยู่ฝ่ายตรงข้าม
ดังนั้นถ้าหากมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเพียงลำพังคราวนี้ แล้วจะคาดหวังว่าพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคหรือมากกว่า 1 พรรคจะโหวตคว่ำนายกรัฐมนตรี หรือจะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ ผมว่าในยุค 3 ก๊กนี่ ไม่ง่ายนักครับ
แต่ก็เถอะ อย่างน้อยที่สุดมันก็ทำให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจคราวนี้เพิ่มความเซ็กซี่ขึ้นมา เพราะพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลายกล้ามใหญ่ขึ้นมาทันทีนะครับ เนื่องจากว่านายกรัฐมนตรีเป็นคนเดียวที่ต้องการเสียงโหวตไว้วางใจ คือมันไม่มีว่าต่างพรรคต่างต้องโหวตให้รัฐมนตรีของแต่ละพรรค เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว ก็จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลแต่ละคะแนนมีนัยยะ มีความสำคัญมากขึ้น และวินาทีที่โหวตคือวินาทีที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชุดนี้พลาดไม่ได้ เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาในตอนโหวต ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทันที รัฐบาลเดินต่อไม่ได้ ต้องจบลงตรงนั้น แต่ว่ามิติแบบนี้จะให้ลุ้นให้ตื่นเต้นให้วิเคราะห์กันก็พอได้อะครับ แต่จะคาดหวังว่ามันจะเป็นจริง ผมไม่เชื่อว่าจะเดินไปถึงจุดนั้น
แต่เรื่องที่อยากจะเปิดอกพูดกันนะครับก็คือ เมื่อฝ่ายค้านตัดสินใจที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ แพทองธารคนเดียว ก็เท่ากับว่าเลือกที่จะเดินในมิติทางการเมืองเป็นหลัก ทำให้ในทางกลับกันบทบาทของการทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลทุกแง่ทุกมุม มันอ่อนด้อยหรือเลือนหายไป ประชาชนเขาอาจจะรู้สึกได้ ว่านี่หมายความว่าพรรคฝ่ายค้านไม่ติดใจ ไม่สงสัย ไม่คิดจะอภิปราย เพราะไว้วางใจรัฐมนตรีบางคนบางท่านที่ถูกมองว่ากำลังมีปัญหาในบาง เรื่องบางประเด็น เช่น ฮั้ว สว. ฝ่ายค้านก็ไม่ติดใจนะครับ
"จะเป็นเรื่องเขากระโดงก็ไม่ติดใจ เรื่องประกันสังคมก็ไม่ติดใจ หรือเรื่องอื่นๆ ของรัฐมนตรีทั้งในพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้านล้วนแล้วแต่ให้ความไว้วางใจทั้งหมดหรือไม่"
และผมคิดว่าบรรยากาศการอภิปรายจริงๆ ก็คงยุ่งกันพอสมควร เพราะว่าแต่ละเรื่อง แต่ละนโยบายที่รัฐบาลขับเคลื่อนอยู่ ก็มีรองนายกฯ หรือมีรัฐมนตรีที่เขารับผิดชอบโดยตรง แม้การอภิปรายจะพุ่งเป้าที่ตัวนายกรัฐมนตรี แต่พอไปเกี่ยว ไปพาด ไปพิงเอากับเนื้องานของผู้รับผิดชอบ เขาก็ย่อมมีสิทธิที่จะลุกขึ้นชี้แจงตอบคำถามตอบข้อกล่าวหา ฝ่ายค้านก็คงไม่ยอมง่ายๆ ฝ่ายรัฐบาลเขาก็ยอมไม่ได้ ยุ่งพิลึกอะครับ
ผมคิดว่าการตัดสินใจอภิปรายแบบนี้ มันคงมีทั้งคนเห็นด้วยและเห็นต่าง อย่างไรก็ตามนะครับ ก็ต้องดูเวลาฝ่ายค้านเขาทำหน้าที่ละ ว่าจะออกมาเป็นที่ยอมรับกับประชาชนมากน้อยแค่ไหน ส่วนจะอภิปรายกันกี่วัน ขอให้ฝ่ายสภาเขาตกลงกันเถอะครับ แต่จะเอา 5 วันเนี่ยผมว่ามากไป คือนายกฯ เพิ่งทำงานมาได้ประมาณ 6 เดือน อภิปรายนายกฯ กันคนเดียว 5 วัน ผมว่าคงไม่ถึงนะครับ แต่จะเป็นหนึ่งวัน สองวัน สามวัน ก็สุดแท้แต่จะหาข้อสรุปกันมา
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วางมือตรงหน้า ซ่อนไพ่ไว้ข้างหลัง: รัฐบาลที่ไม่กล้าชนภูมิใจไทย
กล้องทุกตัวจับภาพ ภูมิธรรม เวชยชัย ควงแขน อนุทิน ชาญวีรกูล เดินลงจากตึกไทยคู่ฟ้า พร้อมรอยยิ้มและคำหยอกว่า “เดี๋ยวหอมแก้ม” ท่ามกลางเสียงแซวว่าจะจับมือกันถึงปี 70
'ภูมิธรรม' ย้ำนายกฯ อิ๊งค์ยังไม่ส่งสัญ ญาณปรับ ครม.
'ภูมิธรรม' ย้ำยังไม่มีสัญญาณปรับครม. จากนายกฯ เลย หลังมีกระแสข่าว สส.พท.เขย่า บอกจะบริหารความพึ่งพอใจให้มากที่สุด
🛑LIVE แพทองธาร อาการหนัก | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568
'ภูมิธรรม' ฟุ้งจับมือ 'เสี่ยหนู' บ่อยเพราะมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน!
'ภูมิธรรม' ย้ำ บมือคุย 'เสี่ยหนู' บ่อย เหตุมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เผย รมต.ยังไม่มีใครได้รับสัญญาณจะถูกปรับพ้นครม. บอก นายกฯคุยหลายฝ่ายปมปัญหาราคาสินค้า
‘เพื่อไทยดิ่งเหว ทักษิณมืดมน’ อดีตบิ๊กศรภ. ชี้ไม่เกิน 4 เดือน!
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ชี้พรรคเพื่อไทยกำลังเผชิญวิกฤตศรัทธา จากนโยบายกาสิโน-แจกเงินไม่ดูฐานะการคลัง เตือนบทบาททักษิณครอบงำรัฐบาลจนทุกอย่างมุ่งสู่จุดจบทางการเมืองและกฎหมาย
'ชูศักดิ์' กางตัวเลขชี้ชัดไม่มีทางเขี่ยภูมิใจไทยเพราะเสี่ยงไปตายดาบหน้า
'ชูศักดิ์' กางคณิตศาสตร์การเมือง หากเขี่ยภูมิใจไทยออก ไม่มีรัฐบาลไหนเสี่ยงไปตายดาบหน้า เชื่อยังพอไปกันได้ ยึดคำนายกฯ ทำสถานการณ์คลี่คลาย มอง คว่ำพ.ร.บ.งบเรื่องใหญ่ ไม่น่าเกิดขึ้น