'จาตุรนต์' ชี้ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สะท้อนรัฐแก้ปัญหาไม่ตก ทั้งที่ทุ่มทรัพยากรมหาศาล ลั่น แนะตั้งทีมเจรจา-ปชช. มีส่วนร่วม เผย กมธ.ดับไฟใต้ เตรียมเสนอข้อสังเกตแก้ปัญหาต่อรัฐบาล
07 พ.ค.2568 - นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาฯ กล่าวถึงความคืบหน้าของ กมธ. ว่า ขณะนี้เป็นช่วงสุดท้ายที่จะต้องทำรายงานให้เสร็จ มีการร่างเนื้อหาสาระของรายงานที่ กมธ.ไปศึกษาที่ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และกำลังจะจัดทำข้อเสนอและข้อสังเกตที่ต้องเสนอต่อสภาฯ เพื่อให้ส่งไปยังรัฐบาล ทั้งนี้ ทาง กมธ.จะไม่เสนอเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ที่ กมธ.ได้พูดคุยกันว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เป็นที่สนใจของประชาชน เราควรนำมาเป็นปัจจัยประกอบในการเสนอข้อสังเกต และเสนอทางออกในการแก้ปัญหาเกิดขึ้นให้จริง ไม่ใช่ทำไปแล้วยืดเยื้อ เรื้อรังไปเรื่อยอย่างที่ผ่านมา
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ส่วนสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขณะนี้มองว่าเกิดจากอะไรนั้น ทาง กมธ.เราศึกษาเรื่องเหล่านี้มากนานพอสมควรเพื่อจัดทำข้อเสนอในภาพรวมและหวังผลในการแก้ปัญหาระยะยาว จึงไม่ได้มีการพูดถึงเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง นอกจากจะเห็นประเด็นที่จะแนะนำรัฐบาลก็จะเสนอไป แต่ในกรณีที่เกิดขึ้น กมธ.ไม่ได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้เนื่องจากเรากำลังจัดทำความเห็นในภาพรวม แต่ถ้าถามว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาอย่างไร เพราะอะไร เราจะพบว่ากรณีดังกล่าวเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 ปี ซึ่งมีแนวโน้มที่มีความรุนแรง ความไม่สงบเพิ่มมากขึ้น
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ที่เพึ่งเกิดเป็นกรณีที่คล้ายกับกลายเหตุการณ์ คือไม่สามารถพิสูจน์หรือจับตัวคนร้ายได้ ทำให้ไม่ทราบชัดเจนว่าเกิดจากการกระทำของใครต้องการอะไร แต่ความรุนแรงครั้งหลังๆนี้มีลักษณะพิเศษโดยเป็นการกระทำแบบไม่จำกัดเป้าหมาย หรือมุ่งไปที่ประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับความขัดแย้งเลย ซึ่งเลยไปถึงคนชราและเด็กเป็นต้น และเป็นเรื่องที่ทำให้เราต้องให้ความสนใจพิเศษว่าเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น คนที่ทำเป็นใคร ต้องการอะไร แต่การเกิดความรุนแรงแบบนี้ ตนคิดว่าสังคมไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ต้องช่วยกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและเลวร้าย ซึ่งไม่จำกัดว่าเป็นการใช้ความรุนแรงแก่เด็กและคนชราเท่านั้น แต่เป็นการใช้ความรุนแรงต่อใครก็ตามเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและสมควรประณาม
“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังมานี้ สะท้อนให้เห็นว่าการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใน 20 ปีมานี้ เรายังแก้ปัญหาไม่ตก และการแก้ปัญหาไม่สำเร็จนี้ ไม่ได้แสดงออกทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจากที่กมธ.ศึกษามา การแก้ปัญหาไม่ตกยังแสดงออกในหลายด้านคือกว่า 20 ปีมานี้เราทุ่มเททรัพยากรมหาศาลลงไปในพื้นที่ ประมาณ 4-5 แสนล้านบาท แต่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นพื้นที่ที่เศรษฐกิจเติบโตช้าที่สุด กระบวนการยุติธรรมก็อ่อนแอ และหลายกรณีที่เกิดขึ้นไม่สามารถพิสูจน์ด้วยกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ จนทำให้ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์กับใครหรือฝ่ายไหน เราไม่มีระบบที่ทำให้สามารถเกิดความเชื่อถือว่าเป็นการกระทำของใคร ใครเป็นผู้กระทำผิด ทำให้อยู่กันด้วยความไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจ นำไปสู่การแก้แค้น ตอบโต้กันไปมา สถานการณ์แบบนี้มีลักษณพิเศษคือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมคิดว่ามาถึงขั้นนี้สิ่งที่เราต้องดูคือเมื่อ 20 ปี มีการพยายามไปแก้ปัญหา ใช้กฎหมายความมั่นคงพิเศษถึง 3 ฉบับ รวมทั้งกฎอัยการศึก มีองค์กรระดับประเทศถึง 3 องค์กร ทั้ง สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งมีนายกฯเป็นประธาน และกำหนดนโยบายด้านต่างๆให้แก่จังหวัดชายแดนภาคใต้” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ใน 8 ปีมานี้ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระงับการทำหน้าที่ของสภาที่ปรึกษา แม้ขณะนี้จะยกเลิกคำสั่งนี้แล้ว แต่สภาที่ปรึกษาใหม่ก็เพิ่งตั้งขึ้น ดังนั้น ต้องทำให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้น ลดความหวาดกลัวคือการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มมาตรการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินประชาชน เพราะที่ผ่านมายังไม่เข้มแข็ง
เมื่อถามว่าฝ่ายตรงข้ามเจาะกลุ่มเป้าหมายเด็กและคนชรา มองว่ารัฐบาลไม่ชัดเจนเรื่องการเจรจาใช่หรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การพูดคุยกับผู้เห็นต่างในทางลับมีมาตลอด ซึ่งการพูดคุยอย่างเป็นทางการระหว่างรัฐบาลกับผู้เห็นต่าง เกิดขึ้นในปี 56 ต่อเนื่องมา และยังคงอยู่ไม่ใช่ยกเลิก เพียงแต่การตั้งคณะพูดคุยตั้งโดยนายกฯ เมื่อเปลี่ยนนายกฯ ก็ต้องเปลี่ยนคณะพูดคุย ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่ยังไม่ตั้งคณะพูดคุย ส่วนการตั้งหรือไม่ตั้งเพราะสาเหตุอะไร กมธ.คงไม่ก้าวล่วงแต่อาจจะมี้หตุผลหรือกลยุทธ์ทางเทคนิคของฝ่ายบริหาร แต่โดยหลักแล้วการพูดคุยเป็นประโยชน์ เปิดโอกาสให้กับผู้ที่ขัดแย้งกับรัฐได้หาทางออกโดยสันติวิธี แต่จะมีผลแค่ไหนหรือแก้ปัญหาได้หรืแไม่จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะจากที่ดูการพูดคุยยังมีการจำกัดไม่ครอบคลุมถึงประชาชนจำนวนมากจึงไม่นำไปสู่ข้อสรุปในการแก้ปัญหา ฉะนั้น เราต้องช่วยกันหาทางแก้โดยทบทวนการใช้ยุทธศาสตร์ การใช้งบประมาณ และการบังคับใช้กฎหมาย
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า การจะสรุปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าไม่พูดคุย ก็สรุปง่ายเกินไป เพราะปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซับซ้อนและสะสมมาหลายปี จะบอกว่าถ้าพูดคุยแล้วแก้ปัญหาทั้งหมดได้ บางคนก็จะบอกว่าอย่างนี้เอาประชาชนมาเป็นตัวประกันก็จะกลายเป็นบังคับรัฐบาลได้หมดจะเกิดปัญหา ฉะนั้น ในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้การตั้งคณะพูดคุยควรจะเกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไป รวมทั้งให้ประชาชนเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาลได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลส่งสัญญาณ พร้อมหนุน'ONE'ดันมวยไทยสู่เวทีโลก
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา แสดงความชื่นชม วัน แชมเปียนชิพ (ONE) ที่มีบทบาทสำคัญในการจุดกระแสมวยไทยให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มความนิยมอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก พร้อมแสดงความยินดีที่จะเปิดโต๊ะพูดคุยกันเพื่อให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม
'วิสุทธิ์' ลั่นไม่กังวลใครจะอยู่หรือไป เสียงรัฐบาลตอนนี้ 270-280 แล้ว
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ขอให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ไม่เช่นนั้นจะถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ว่า ตนไม่ทราบว่าเขาพูดจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม
เลขาฯเพื่อไทย ยัน 'นายกฯอิ๊งค์' ไม่ลาออกตามเงื่อนไขพรรคร่วม
นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวลือที่ว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจตอบรับข้อเสนอจากพรรคการเมืองบางพรรค ด้วยการลาออกหรือยุบสภาหลังผ่านกา
‘อนุสรณ์’ มั่นใจรัฐบาลอิ๊งค์อยู่ต่อได้ พรรคร่วมยังเหนียวแน่น!
“อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด” เชื่อ รัฐบาลน.ส.แพทองธาร ยังเดินหน้าต่อได้อย่างมั่นคง แม้พรรคภูมิใจไทยถอนตัว ชี้พรรคร่วมที่เหลือยังสามัคคีเป็นปึกแผ่น มั่นใจปรับ ครม. ได้มืออาชีพ เร่งสร้างผลงานต่อเนื่องก่อนเลือกตั้งปี 2570
'ณัฐวุฒิ' ชี้ยุบสภาไม่ใช่คำตอบ เตือนบทเรียนยึดอำนาจมักเกิดหลังยุบ
ที่ปรึกษาของนายกฯ ค้านแนวคิดยุบสภาก่อนถูกรัฐประหาร ชี้ไม่มีหลักประกันหยุดวงจรยึดอำนาจ ย้ำรัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจเต็ม รับมือภัยคุกคามจากต่างประเทศได้ยาก ยกบทเรียนในอดีตยุบแล้วก็ยังยึด สถานการณ์นี้ต้องพึ่งกองทัพทำงานร่วมรัฐบาลอย่างมีเอกภาพ
'อนุทิน' ประณามคนปล่อยข่าว ภท.ล้มนายกฯ ยันไม่แข่งตั้งรัฐบาล ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน
"อนุทิน" ประณามคนปล่อยข่าวภูมิใจไทยจ้องล้มนายกฯ-รัฐบาล ยัน"เนวิน" ไม่ได้ดีลลุง หนุน "พีระพันธุ์" นั่งนายกฯ ประกาศไม่ตั้งรัฐบาลสู้ เหตุเหลือเวลาไม่นาน ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ตัดจบไม่ขอชักเข้าชักออก กลับไปเป็นรัฐบาล แม้เปลี่ยนตัวนายกฯ