Universal Design อารยสถาปัตย์เพื่อสังคม ตอบโจทย์โลกผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่มีความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายโดยส่วนใหญ่มักพบปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคงจากการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก สายตาพร่ามัว อาการหูตึง ดวงตาฝ้าฟาง เดินไม่สะดวก บางรายเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นผู้สูงอายุนอนติดเตียงหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ผู้สูงอายุบางรายอยู่ตามลำพังไม่มีญาติหรือครอบครัวดูแล ครอบครัวต้องออกจากบ้านเพื่อประกอบอาชีพ ทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพใช้ชีวิตประจำวันอย่างยากลำบาก ก่อให้เกิดสภาพความเครียด เนื่องจากไม่มีคนที่คอยดูแลหรือคนที่สามารถพูดคุยได้ 

โจทย์ปัญหาเหล่านี้ กำลังค่อยๆขยายเพิ่มขึ้นพร้อมกับตัวเลขรายงานที่ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ14ล้านคน คนพิการ2ล้านคนและคนพิการที่ไม่ได้ลงทะเบียนอีก2ล้านคนเมื่อรวมผู้สูงอายุ คนพิการ คนทีกำลังตั้งครรภ์เกือบ20ล้านคน ในปี2576 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุระดับสุดยอดคือ28%จำนวน หรือเท่ากับจำนวนผู้สูงอายุที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นที่สำคัญคือ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว ประเทศไทยจะกลายเป็นแชมป์มีผู้สูงอายุจำนวนสูสีกับประเทศสิงคโปร์

จากข้อเท็จจริงเหล่านี้  ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสุขภาวะของผู้สูงวัย มองหาทางเลือกทางออกที่จะบริหารจัดการกับอนาคตของโลกผู้สูงวัย ซึ่ง "อารยสถาปัตย์" (Universal design) คือคำตอบ เพราะเป็นแนวคิดการออกแบบที่เป็นธรรม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับบริการสาธารณะ และผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เอื้อประโยชน์กับผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างจากบุคคลทั่วไปด้วยข้อจำกัดต่างๆ ให้ได้มากที่สุด

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่ให้เข้าใจเข้าถึงโจทย์ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาวะของโลกผู้สูงวัยในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดสสส.ได้ร่วมกับเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal design) ครั้งที่1The First National Academic Conference on Universal Design: 1st NACUD2022 รูปแบบการจัดงานแบบ Hybrid ภายใต้หัวข้อ “Inclusive Environment : A New Normal Life” รวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรม ด้านการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อผลักดันนโยบายให้ผู้สูงอายุและคนพิการให้มีสุขภาวะที่ดี ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ห้อง201เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565

การประชุมดังกล่าวมีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 12มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (UDC) หรือเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนเข้าร่วม ตั้งแต่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิวิทยาเขตนนทบุรีจับคู่กันทำงาน

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่2 (สสส.) และรองประธานกรรมการกำกับทิศทางการจัดปรับสภาพแวดล้อมและระบบขนส่งสาธารณะ กล่าวเปิดงานผ่านทางZoomว่า สสส.ยินดีอย่างยิ่งที่ได้ขับเคลื่อนและผลักดันโครงการเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จนเกิดเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สะท้อนให้เห็นว่าภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้ความสนใจต่อสิทธิความเป็นอยู่ในชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ เพราะอยู่ในกลุ่มเปราะบางที่ต้องเผชิญความยากลำบากในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณะ ที่ยังขาดแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย เพื่อทำให้คนกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีศักดิ์ศรี

นพ.อนุชากล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน2.09ล้านคน คิดเป็นร้อยละ3.21ของประชากรทั้งประเทศ และในปี2565เมืองไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) เพราะจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ60ปีขึ้นไป ร้อยละ20ของประชากรทั้งประเทศประมาณ66.19ล้านคน และอีก12ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มเป็นร้อยละ28ของประชากรทั้งประเทศ ทำให้สสส.และภาคีเครือข่ายคำนึงถึงการออกแบบที่เป็นธรรม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับบริการสาธารณะ และผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เอื้อประโยชน์กับชีวิตประจำวันของกลุ่มเปราะบางให้มากที่สุด

ในขณะที่ รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน กล่าวรายงานว่า วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจข้อมูลปี2559พบว่าประเทศไทยมีสิ่งอำนวยความสะดวก เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ได้แก่ โรงพยาบาล คิดเป็น40% สำนักเขต คิดเป็น30.8% ห้างสรรพสินค้า คิดเป็น12.5% บ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คิดเป็น7.3%ของประเทศ และยังมีพื้นที่ที่ต้องเร่งผลักดันให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกได้แก่ ตลาดสด ศูนย์บริการสาธารณะสุข สวนสาธารณะ สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ศาสนสถาน และห้องสมุด เพราะการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล หรือ Universal Design(UD) ถือเป็นการยกระดับสุขภาวะของประชากรกลุ่มเปราะบาง หลักสำคัญของการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทั้งมวล มีความเป็นสากลและเป็นธรรม ไม่เพียงแต่ครอบคลุมกลุ่มประชากรเปราะบาง แต่ยังครอบคลุม“คนทุกคน

ส่วน ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์  ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ว่าสหประชาชาติมีนโยบายให้สังคมโลกเป็นสังคมสำหรับทุกคน มีสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อทุกคน โดยเฉพาะคนพิการที่ต้องใช้Wheel Chair มีทางลาดเพื่อสะดวกในการเข้าประชุมร่วมกิจกรรมเหมือนคนทั่วไป คนตาบอดมีอุปกรณ์เตือนเพื่อเลี่ยงเส้นทางที่มีต้นไม้ หลุมบ่อ การสื่อสารกับคนหูหนวกมีล่ามภาษามือสื่อสาร

คนพิการในเมืองไทย พิการการมองเห็น คนหูหนวก พิการทางสติปัญญา ต้องใช้การสื่อสารให้รับรู้ข้อมูลได้เท่าๆกับคนปกติ คนที่เรียนล่ามภาษามือต้องใช้เวลาเรียนถึง5ปี ค่าจ้างล่ามภาษามือค่อนข้างแพง จึงต้องใช้เมื่อจำเป็น  หรือการใช้ล่ามภาษามือผ่านทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยประหยัดค่าจ้างล่ามได้ ขณะนี้มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการดูแล การที่คนหูหนวกไปเที่ยวป่าเขา จะพาล่ามไปด้วยเป็นเรื่องลำบาก บนป่าเขามีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ใช้ไอแพ็ด โทรศัพท์มือถือสื่อสารให้ล่ามช่วยพูดคุยกับคนหูดีถามเส้นทาง ขณะนี้สวทช.(NECTEC)ทุ่มเททำงานวิจัยเทคโนโลยีบริหารล่ามภาษามือ มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สมัยก่อนต้องเช่าจากต่างประเทศในสนนราคาที่แพงมาก แต่ปัจจุบันเราเช่าจากสวทช.ถูกกว่าการเช่าจากต่างประเทศ ส่งผลให้นวัตกรรมในเมืองไทยมีการพัฒนาเดินหน้าไปได้อย่างดียิ่ง

นอกจากการประชุมด้านวิชาการแล้ว ภายในงานยังมีการมอบรางวัลบทความดีเด่น บุคคลต้นแบบ องค์กรต้นแบบ Universal Design presented by TOTO โดย นายทาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งองค์กรต้นแบบที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย กรมส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ ,เทศบาลนครรังสิต ,  เทศบาลนครหนองตองพัฒนา เชียงใหม่ ,ชมรมเพื่อคนพิการ จ.เลย ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด

ประเภทรางวัลบุคคลต้นแบบ นายกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยะสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล นายกรกิจ พวงมาลีผู้ประสานงานชุมชนกทม. นายมานพ ตันสุภายนต์ ประธานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลหนองตองพัฒนา เชียงใหม่ รศ.ดร.พญ.สิรินาถ ตงศิริ รองคณบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  นายจำเนียร มานะกล้า สาธารณสุขตรัง

 

มาตรฐานญี่ปุ่นออกแบบห้องน้ำใช้ได้นาน15-30ปี

นายนาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัทโตโต้(ประเทศไทย)จำกัดกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อเรื่อง “The Revolution of Universal Design Restroom”วิวัฒนาการออกแบบห้องน้ำเพื่อทุกคน ว่า  ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจสร้างสังคมไทยสำหรับทุกคน ด้วยเป้าหมายให้ทุกคนออกไปใช้ชีวิตข้างนอกบ้านได้อย่างสะดวกกายสบายใจ มุ่งหวังให้ธุรกิจท่องเที่ยวมีชีวิตชีวา ยกระดับสังคมไทยสร้างเสริมความตระหนักรู้ในการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ด้วยการสนับสนุนงานวิจัยUniversal design 30ปี การออกแบบห้องน้ำขึ้นอยู่กับสังคม กฎหมาย วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ แต่ขณะเดียวกันยึดหลักสถิรศาสตร์ทำให้ทั่วโลกมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นการออกแบบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ห้องน้ำมีความเป็นเอนกประสงค์มากขึ้นทั้งความสูงของเครื่องสุขภัณฑ์ ราวจับ ทุกอย่างถูกสุขอนามัย การใช้รถเข็นเข้าไปในห้องน้ำได้อย่างสะดวกสบาย ผู้ที่มีถุงทวารเทียมผ่านทางหน้าท้องก็ใช้ห้องน้ำได้สะดวกมากขึ้น การออกแบบยังคำนึงถึงผู้พิการผู้สูงอายุที่ไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง การเดินทางไปสนามบิน ศูนย์การค้า สถานที่ต่างๆ

ด้วยแนวคิดมาตรฐานญี่ปุ่น การทำห้องน้ำอเนกประสงค์ เป็นการออกแบบเพื่อใช้ห้องน้ำได้นาน15-30ปี เพราะถ้าออกแบบห้องน้ำไม่เหมาะสมก็ต้องทนใช้นานถึง30ปี ก๊อกน้ำ สุขภัณฑ์อัตโนมัติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกสุขอนามัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง