มอบบ้านที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติหลังแรกให้ชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้ง จ.แพร่
จ.แพร่ / สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ‘พอช.’ ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย-ความยากจน สนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์พายุฝนถล่มแพร่ในพื้นที่ 5 อำเภอ รวม 20 หลัง งบประมาณรวม 360,000 บาท
วันนี้ ( 12 มิถุนายน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ (พมจ.แพร่) สำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดแพร่ มูลนิธิแพร่น้ำใจ เครือข่ายคนฮักแพร่ และเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ได้จัดงาน ‘ท้องถิ่นร่วมมือ ชุมชนร่วมใจ พัฒนาที่อยู่อาศัย แก้ไขปัญหาความยากจน’ ที่บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่
เพื่อมอบบ้านที่ซ่อมสร้างให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ลมพายุและฝนพัดกระหน่ำเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู สส.บัญชีรายชื่อ จังหวัดแพร่ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานในการมอบบ้านหลังแรกให้แก่ครอบครัวนายเฉลิมวุฒิ ผายาว มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ และประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 100 คน
นายวิชัย นะสุวรรณโน ผู้อำนวยการ สำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และ พอช. มีแผนงานพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยระยะ 20 ปี คือตั้งแต่ปี 2560-2579 ตามนโยบายของรัฐบาล มีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยทุกครัวเรือนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายในปี 2579 โดย พอช.จะใช้เรื่องบ้านนำไปสู่การทำงานพัฒนาทุกมิติ โดยให้ชุมชนเป็นแกนหลัก ประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
โดยที่ผ่านมา พอช.ทำงานเรื่องบ้าน 5 เรื่อง คือ 1.บ้านมั่นคงเมือง 2.บ้านมั่นคงชนบท 3.บ้านพอเพียง หรือการซ่อมแซมบ้านเรือนที่มีฐานะยากจน สภาพทรุดโทรม 4.บ้านมั่นคงริมคลองในกรุงเทพฯ และ 5.ที่อยู่อาศัยชั่วคราว เช่น กรณี ไฟไหม้ ภัยพิบัติ เช่นที่จังหวัดแพร่ โดยในปีนี้ พอช.สนับสนุนเรื่องบ้านพอเพียงในจังหวัดแพร่ รวม 65 หลัง และเรื่องบ้านเรือนที่ประสบภัยพิบัติอีก 20 หลัง ซึ่งรวมทั้งบ้านที่มีการมอบในวันนี้ด้วย
“การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจะสำเร็จได้ 1.จะต้องมีข้อมูลและแผนงานที่ชัดเจน โดยการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อน และนำข้อมูลมาวางแผนการแก้ไขปัญหาระยะ 3 ปี หรือ 5 ปี 2.ต้องมีกลไกเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน เช่น ในขณะนี้มีการจัดตั้ง ‘คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย’ ขึ้นมาในจังหวัดภาคเหนือ โดยมี พอช.และ พมจ.ร่วมเป็นคณะทำงาน และ 3.จะต้องมีการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และมูลนิธิต่างๆ และที่สำคัญต้องมีทรัพยากรหรืองบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจึงจะประสบความสำเร็จ” ผอ.สำนักงานภาคเหนือ พอช.ยกตัวอย่าง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ช่วงเวลาประมาณ 18.00-20.00 น. ได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองพัดถล่มหลายพื้นที่ในจังหวัดแพร่ มีลูกเห็บตก และน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ในพื้นที่ 5 อำเภอ 12 ตำบล รวม 20 หลัง ส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวผู้ที่มีรายได้น้อย ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด - 19 บางครอบครัวตกงาน มีรายได้ลดลง สภาพครอบครัวยากจน บางหลังคาเรือนมีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรมไม่มั่นคงแข็งแรง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแพร่ได้ร่วมกันให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนไปแล้ว
ขณะเดียวกันสำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ผู้นำท้องถิ่น และฝ่ายปกครอง สำรวจข้อมูลความเสียหายบ้านเรือนประชาชน และได้จัดทำ ‘โครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยธรรมชาติ จังหวัดแพร่’ ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านเรือนของประชาชนตามโครงการบ้านมั่นคง กรณีภัยพิบัติ งบประมาณสนับสนุนไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท รวมงบประมาณทั้งหมด 360,000 บาท โดยมีช่างชุมชน ช่างจิตอาสา และนักศึกษาในจังหวัดแพร่มาร่วมกันซ่อมสร้างบ้าน ช่วยให้ประหยัดงบประมาณและซ่อมสร้างบ้านได้เร็ว
ช่างชุมชนช่วยซ่อมบ้าน
นักศึกษาช่วยซ่อมบ้าน
ส่วนบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายในจังหวัดแพร่ รวม 5 อำเภอ 12 ตำบล 20 หลัง ประกอบด้วย ตำบลปงป่าหวาย อ.เด่นชัย 5 หลัง ตำบลนาจักร อ.เมือง 2 หลัง ตำบลทุ่งโฮ้ง อ.เมือง 1 หลัง ตำบลบ้านถิ่น อ.เมือง 2 หลัง ตำบลแม่ยม อ.เมือง 1 หลัง ตำบลแม่คำมี อ.เมือง 1 หลัง ตำบลหนองม่วงไข่ อ.หนองม่วงไข่ 1 หลัง ตำบลน้ำเลา อ.ร้องกวาง 1 หลัง ตำบลแม่ยางฮ่อ อ.ร้องกวาง 1 หลัง ตำบลร้องกวาง อ.ร้องกวาง 2 หลัง ตำบลทุ่งน้าว อ.สอง 1 หลัง และตำบลห้วยหม้าย อ.สอง 2 หลัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เตือนปีนี้ 'ไข้เลือดออก' ระบาดหนัก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้เลือดออก
พอช.จับมือหน่วยงานภาคีลงนามบันทึกความร่วมมือ “สร้างความเข้มแข็งชุมชนผ่านการพัฒนาคน โดยใช้ศูนย์เด็กเล็กเป็นฐาน”
ลพบุรี / พอช.จับมือหน่วยงานภาคีลงนามบันทึกความร่วมมือ ‘การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการพัฒนาคน โดยใช้การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเป็นฐาน’ นำร่องศูนย์เด็กเล็ก 60 แห่งทั่วประเทศ
‘พอช.’ ชี้แจง ชาวบ้าน 41 ราย โดนฉ้อโกง ‘อ้างบ้านมั่นคง’ ออกใบเสร็จปลอมเชิดเงิน 8 ล้าน เตรียมแจ้งความดำเนินคดี
พอช. / กรณีที่มีข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า มีกลุ่มชาวบ้านย่านดอนเมือง-หลักสี่ กรุงเทพฯ ประมาณ 41 ราย
"ดงขี้เหล็กโมเดล" ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเอง
วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 บันทึกเทปรายการ Suthichai Live 8t ว่าด้วย "ชุมชนเข้มแข็ง ตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี” ณ สถาบันการเงินชุมชนบ้านขอนขว้าง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. พร้อมคณะ และ ทีมจากธนาคารกรุงเทพ เข้าร่วมศึกษาพื้นที่ตำบลเข้มแข็งในครั้งนี้ด้วย
‘ชัชชาติ’ ผู้ว่า กทม. เปิดงาน ‘ร้อย รักษ์ โลก’ ที่คลองเปรมประชากร’ ด้าน พอช. พัฒนาที่อยู่อาศัยแล้ว 10 ชุมชนกว่า 1 พันครอบครัว
จัดงาน ‘ร้อย รักษ์ โลก เปรมสุข ณ คลองเปรมประชากร’ ที่ชุมชนประชาร่วมใจ 1 ริมคลองเปรมประชากร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธาน
ดร.กอบศักดิ์ ประธานบอร์ด พอช.เดินหน้า ใช้โซเชียลมีเดียหนุนการพัฒนาชุมชน-เศรษฐกิจฐานราก
พอช. / ดร.กอบศักดิ์ ประธานบอร์ด พอช. เดินหน้าใช้โซเชียลมีเดียหนุนการพัฒนาชุมชน-สร้างเศรษฐกิจฐานราก โดยการสร้างแนวร่วม ดึงคนรุ่นใหม่เข้าร่วมสร้างพลังแห่งการสื่อสาร