นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีมอบอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการสำหรับผู้พิการอันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนน โดยมี นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ร่วมในพิธี และมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวความเป็นมาของความร่วมมือทั้งสองกระทรวง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
นายศักดิ์สยาม เปิดเผยว่า การสร้างสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งโอกาส” มีความเสมอภาคและเท่าเทียมโดย “ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คือ เจตนารมณ์อันมุ่งมั่นของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมกันนำนโยบายดังกล่าวขับเคลื่อนผ่านหน่วยงานภายใต้สังกัดอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้พิการ เพื่อดูแลผู้พิการให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ ได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างต่อเนื่อง
โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ ได้จัดทำ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการอันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนน” เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ซึ่งก่อนมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือข้างต้นนั้น กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ได้จัดสรรเงินเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการฯ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มีผู้พิการที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมจำนวน 15,735 ราย รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 748,737,301 บาท
ต่อมาเมื่อกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข ได้ยกระดับการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้พิการได้รับอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสม โดยผ่านการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ แล้ว ขบ. โดย กปถ. ได้สนับสนุนเงินค่าอุปกรณ์ฯ ในรอบแรกให้กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดซื้อให้แก่ผู้พิการที่ยื่นคำขอ จำนวน 944 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 61,968,511 บาท แบ่งเป็นส่วนกลาง จำนวน 64 ราย เป็นเงิน 3,690,000 บาท ส่วนภูมิภาค จำนวน 880 ราย เป็นเงิน 58,278,411 บาท
โดยอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการฯ ที่มีการจัดสรรให้กับผู้พิการนั้น ประกอบด้วย รถนั่งสำหรับคนพิการแบบธรรมดา รถนั่งสำหรับคนพิการแบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า แขนเทียม ขาเทียม เครื่องดูดเสมหะ เตียงนอนธรรมดา ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ และเบาะรองนั่งสำหรับแผลกดทับ เป็นต้น สำหรับรอบสองได้เปิดรับคำขอเมื่อต้นเดือนเมษายน 2565 - 17 พฤษภาคม 2565 ขณะนี้ ขบ. ได้ตรวจคุณสมบัติผู้พิการที่ยื่นคำขอและส่งเรื่องให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจประเมินร่างกายและพิจารณาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความพิการตามขั้นตอนต่อไปแล้ว จำนวน 905 ราย โดยคาดว่า กปถ. จะใช้งบประมาณสนับสนุนในรอบที่สองนี้ประมาณ 50,000,000 บาท
สำหรับความร่วมมือในการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการที่ดำเนินการร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ในครั้งนี้ ขบ. ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมและมติของคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัย ในการใช้รถใช้ถนน โดยมีการดำเนินการดังนี้
- ขบ. เป็นผู้เปิดรับคำขอและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้พิการจากการประสบอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนแล้วส่งเรื่องให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข โดยส่วนกลาง ได้แก่ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ และในส่วนภูมิภาค ได้แก่ โรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 85 แห่ง ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อทำการตรวจสภาพความพิการของผู้ยื่นขอ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจะส่งคำขอพร้อมผลการตรวจสภาพความพิการของผู้ยื่นขอและอุปกรณ์ที่เหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมราคาอุปกรณ์ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาการขอรับจัดสรรเงินค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการอันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
- เมื่อคณะอนุกรรมการฯ อนุมัติแล้ว ขบ. จะโอนเงินของ กปถ. ให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามมติของคณะอนุกรรมการฯ และระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วส่งมอบให้กับผู้พิการฯ ต่อไป
ทั้งนี้ การมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือข้างต้น นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้พิการ อันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนแล้ว ยังเป็นการบูรณาการของหน่วยราชการเพื่อยกระดับมาตรฐานในการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ โดยอุปกรณ์ทุกชิ้นจะต้องผ่านการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มีคุณภาพและจัดสรรได้เหมาะสมกับผู้พิการมากที่สุด และสำหรับในรอบถัดไปจะเปิดรับคำขอเป็นประจำในช่วงต้นปีงบประมาณของทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง โดย กปถ. ได้ตั้งกรอบงบประมาณสนับสนุนในเรื่องนี้ประมาณ 110 ล้านบาทต่อปี และจะประเมินทบทวนกรอบงบประมาณทุกปี เพื่อให้ผู้พิการได้รับอย่างทั่วถึงต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' การันตีไม่มีรัฐประหารแล้ว เบ่งใส่ภูมิใจไทยหล่อช้าๆ ไม่ต้องรีบจะดีกว่านี้
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า พรรคเพื่อไทยจะคุยกันพรุ่งนี้ (12 ธ.ค.)
'พิพัฒน์' ย้ำภูมิใจไทยไม่ได้ส่งใครชิงนายก อบจ.สงขลา
'พิพัฒน์'” ย้ำ ภท.ไม่ได้ส่งสนามท้องถิ่น รับคุยอดีตผู้สมัคร สส.ภูมิใจไทย หลังลงชิงนายก อบจ.สงขลา บอกเป็นเพื่อนกัน ปัดคุย 'ถาวร'
พรรคภูมิใจไทย วางพานพุ่ม ถวายบังคมพระรูปต้นแบบ ร.7 รำลึกวันรัฐธรรมนูญ
วันที่ 10 ธันวาคม 2567 ที่ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าพิพิธภัณฑ์รัฐสภา ชั้น MB 1 อาคารรัฐสภา นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯ คนที่สอง นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย
พรรคภูมิใจไทย วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2567
วันที่ 5 ธันวาคม 2567 ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค พร้อมด้วย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
'อนุทิน' เมิน 'หมอเชิดชัย' เสนอยุบสภา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีน.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
ปฏิวัติการศึกษา ! พรรคภูมิใจไทย เริ่มแล้ว เผยแพร่คลิป เวิร์กชอปพ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม บรรจุ 3 แพลตฟอร์ม เรียนรู้ออนไลน์-เครดิตแบงค์-Portfolio พร้อมการรับฟังความคิดเห็นเอกชน นักศึกษา และนักวิชาการ
เพจพรรคภูมิใจไทย นำเสนอ คลิป 6 ตอน เกี่ยวกับการ “เวิร์กชอป ปฏิวัติการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม” โดยมีเนื้อหา ในเรื่อง Painpoint การศึกษาไทย ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม ที่จะบรรจุ 3 แพลตฟอร์ม สำคัญคือ แพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ แพลตฟอร์มเครดิตแบงก์ และแพลตฟอร์ม Portfolio