ก.แรงงาน จับมือ IOM คุ้มครองสิทธิลูกจ้างทำงานบ้าน สู่งานที่มีคุณค่าอย่างเสมอภาคเท่าเทียม

วันที่ 28 สิงหาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย แรงงานต่างด้าว ต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม และในวันนี้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดโครงการเสริมสร้างความรู้สู่งานที่มีคุณค่าร่วมมือพัฒนาลูกจ้างทำงานบ้านขึ้น ณ โรงแรมแกรนด์ อินเตอร์ ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า โครงการเสริมสร้างความรู้สู่งานที่มีคุณค่าร่วมมือพัฒนาลูกจ้างทำงานบ้านที่จัดขึ้นในครั้งนี้ กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินโครงการร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ ไอโอเอ็ม ซึ่งในวันนี้คุณภัคชนก พัฒนถาบุตร เจ้าหน้าที่แผนกเคลื่อนย้ายแรงงานและบูรณาการทางสังคม องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ ไอโอเอ็ม ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดด้วย ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความปลอดภัยในการทำงานให้แก่ลูกจ้างทำงานบ้าน รวมถึงนายจ้างให้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ตามมาตรฐานของกฎหมายและความเป็นธรรมในสังคมกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีแนวทางการดำเนินงานที่บูรณาการและเชื่อมโยงเข้ากับภาคประชาสังคม เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาประเทศนำไปสู่การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยให้ความสำคัญกับแรงงานนอกระบบ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกจ้างในงานเกษตรกรรม ซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างตลอดปี ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานนอกระบบทั้งสัญชาติไทย แรงงานข้ามชาติ อย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านสิทธิ ความปลอดภัยในการทำงาน และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับหลักการ Decent work หรือ งานที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นงานที่สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบได้ การอบรมในครั้งนี้ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "บทบาทของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ" โดย นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การบรรยายในหัวข้อ "หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง ความปลอดภัยในการทำงานและการสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีคุณค่า" โดยนายเกษมสันต์ เครือเจริญผู้อำนวยการกองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการบรรยายในหัวข้อ "กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างและภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนาลูกจ้างทำงานบ้าน (Domestic Worker) โดย เจ้าหน้าที่จาก International Organization for Migration (IOM)

ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน โดยกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ยังได้ร่วมจัดกิจกรรมออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (Road Show) ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ลูกจ้างทำงานบ้าน ลูกจ้างในงานเกษตรกรรม แรงงานนอกระบบทั้งสัญชาติไทย แรงงานข้ามชาติ ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้แรงงานถูกกฎหมายและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพราะแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้น จะได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งด้านสิทธิประโยชน์รวมทั้งสวัสดิการต่างๆ ที่เหมาะสมตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทยทุกประการอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่