ที่งานเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ "การส่งเสียงถึงคนรุ่นใหม่ ถึงพรรคการเมือง จากความฝัน ถึงนโยบายสาธารณะ เพื่อความยั่งยืนของประชาธิปไตย" ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม มหาวิทยาลัย บูรพา จ.ชลบุรี ท่ามกลางนักศึกษาประชาชน ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ได้กล่าวถึงประเด็นการผลักดันให้เงินกู้ กยศ.ต้องไม่มีดอกเบี้ย ว่า
เรื่อง กยศ.ทางพรรคภูมิใจไทย มองเห็นคุณค่าของการศึกษา และรัฐควรจะสนับสนุนในเรื่องนี้มากกว่าไปหาดอกเบี้ยกับอนาคตของชาติ ถึงเวลาที่ต้องเป็นบริการสาธารณะ อย่าลืมว่า น้องๆ ใช้เงินนั้นเพื่อการเรียน ไม่ได้นำเงินไปลงทุน คนที่มากู้ยืม ล้วนแต่เป็นอนาคตของชาติ ไม่มีประสบการณ์ชีวิต แต่ที่ผ่านมา ก็ยังมีบางคนบอกว่าไปเก็บดอกเบี้ยคนพวกนี้ด้วย เพราะเป็นการส่งเสริมวินัย จริงๆ จ่ายเงินต้น ก็เป็นการรักษาวินัยแล้ว จึงไม่ต้องไปเก็บดอกเบี้ยอีก บางคนบอกว่า เก็บดอกเบี้ยไปใช้เป็นงบดำเนินการ ทั้งที่เงินงบดำเนินการมี 4-6 ร้อยล้านบาท เงินทุนระดับ 4 แสนล้านบาท มีเงินหมุนเพียงพออยู่แล้ว
มาฟังความจริง ลำพังแค่เงินต้น น้องๆ ก็เหนื่อยมาก จบออกมา ค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่ได้รับ คือ 1.3-1.5 หมื่นบาท ไหนจะจ่ายเงินต้น ดำรงชีวิต แล้วจ่ายดอกเบี้ย กยศ. ชีวิตมันยากมาก ปัญหาหนักๆ คือ ถ้าจบออกมา แล้วได้เงินเดือนน้อยกว่านั้น หรือทำงานไป แล้วต้องออก ไม่มีเงินเดือน น้องๆ จะจัดการกับดอกเบี้ยอย่างไร ไหนจะค่าปรับอีก ถึงจะมีเงื่อนไขเรื่องการผ่อนผัน แต่ก็มีข้อกำหนด คือ ผ่อนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ถ้าหลุดจากนี้ไป ทุกอย่างมันเดินไปพร้อมกันทั้งดอกเบี้ย ทั้งค่าปรับ แล้วค่าปรับนี่ 12-18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ สรุป กยศ.คือกองทุนเพื่อการศึกษาหรืออะไรกันแน่
"นักการเมือง ต้องมองหาทางที่จะช่วยเหลือประชาชน อะไรทำได้ก่อน ก็ทำเลย อย่ามัวแต่ไปมองเรื่องช่วยกองทุน กองทุน ระบบเขาเข้มแข็งมากอยู่แล้ว มีคนเก่งๆ คอยดูแลอยู่ เงินหมุนหลัก 4-5 แสนล้านบาท แล้วประชาชนล่ะ มีอะไร เราต้องไปช่วยคนที่อ่อนแอ นี่คือแนวคิดของพรรคภูมิใจไทย และแนวคิดของผม"
นอกจากนั้น นายสิริพงศ์ ยังนำเสนอนโยบายของพรรคภูมิใจไทย อาทิ นโยบายพักหนี้ประชาชน คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นการพักหนี้แบบ หยุดต้น ปลอดดอก เป็นเวลา 3 ปี เท่ากับเวลาที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด หนี้ธนาคาร หนี้สหกรณ์ หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนรถยนต์ หนี้ผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ หนี้กองทุนหมู่บ้าน ใช้สิทธิได้ทั้งหมด ยกเว้นหนี้นอกระบบ ใช้สิทธิไม่ได้
นโยบายภาษีบ้านเกิดเมืองนอน ที่ให้ประชาชน เลือกจ่ายภาษีลงท้องที่ตามที่ต้องการ ไม่เกิน 30% ของภาษีทั้งหมด เพื่อกระจายงบประมาณลงท้องถิ่น ซึ่งเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่น
และนโยบายไฟฟ้าประชาชน หรือการสนับสนุนให้ประชาชน ใช้แผงโซลาเซลล์ ผลิตไฟฟ้า จำหน่ายให้รัฐบาล และลดค่าไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 5 ร้อยบาทต่อเดือน ที่สำคัญคือช่วยให้รัฐบาลลดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ลดการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เสี่ยหนู บอกปม ‘ไชยชนก’ ผิดคิวจบแล้ว ลั่นยังหนุนนโยบายนายกฯ ในฐานะพรรคร่วม
สิ่งที่นายไชยชนกพูดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ใช่มติของพรรคภูมิใจไทย และหากไปคัดลอกบันทึกการประชุมของพรรคภูมิใจไทยสองครั้งล่าสุด ไม่มีมติใดๆ ในเรื่องนี้
'อนุทิน' ร้องโอ้โห! เขย่าเก้าอี้ 'มท.1' ต้องใช้แรงเยอะ งงข่าวปรับครม. คุยพ่อนายกฯ ไร้การเมือง
'อนุทิน' งงสัญญาณปรับ ครม. ส่งหาสื่อ แต่มาไม่ถึงหัวหน้าพรรคร่วม ร้องโอ้โห ต้องใช้แรงเยอะเขย่าเก้าอี้ 'มท.1' เผยกินข้าว 'ทักษิณ' ก่อนสงกรานต์ ไร้เรื่องการเมือง
'วิสุทธิ์' ชี้ปรับครม.อยู่ในมือนายหญิงอิ๊งค์ กาสิโนกระแสดี ปชช.ไม่ขวาง
'วิสุทธิ์' ไม่รู้ มีดีลแลกเก้าอี้ รมต. 'พท.-ภท.' หรือไม่ บอกได้ยินแต่ข่าวจากสื่อ ย้ำ ทุกเรื่องเป็นอำนาจตัดสินใจของ 'นายกฯ อิ๊งค์' เผย วง สส.พท. อยากให้ปรับ ครม. กระทรวงค้าขาย ชี้ หลังฟังเสียง ปชช. ไม่ค้าน 'กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์'
ขับ‘เอกราช’พ้น‘ภท.’
ภูมิใจไทยตัดเนื้อร้าย! มติเอกฉันท์ขับ “เอกราช” พ้นพรรค เผยเคยเรียกให้ชี้แจงแล้วแต่เบี้ยว
พรรคแตก สลิ่มแยก ทางตันของฝ่ายอนุรักษ์นิยม!
ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พรรคอนุรักษนิยม เคยเป็นเสาหลักหนึ่งของการเมืองไทย ทั้งใ
ปรับ-ถอน-หรือปล่อยตาย: เกมตัดสินรัฐบาลในช่วงปิดสภาหลังสงกรานต์
แม้เทศกาลสงกรานต์จะยังไม่จบลงอย่างเป็นทางการ แต่ สัญญาณทางการเมืองหลังหยุดยาว เริ่มส่งแรงสั่นสะเทือนกลับมาเร็วเกินคาด โดยเฉพาะใน รัฐบาลผสมที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ