เลขานุการ รมว.อว.การอุดมศึกษาฯ ลงพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ ชื่นชมนักวิจัยค้นพบ “เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009”

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อม น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัด อว. ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่หมู่บ้านแสงวิมาน อ. ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาเรียนรู้ความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ประกอบด้วย กลุ่มส้มโอทับทิมสยาม กลุ่มทุเรียนหมอนทอง กลุ่มนาข้าว และกลุ่มไร่พริก (P7.1-64) ของบริษัทวลัยไบโอคอนโทรล จำกัด ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะวิสาหกิจในมหาวิทยาลัย (UBI-64 และ P5-65) ซึ่งขออนุญาตใช้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009

เมื่อมาถึง รศ.ดร.วาริน อินทนา นักวิจัยด้านโรคพืช ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) ได้นำเสนอผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ว่า ปัญหาของเกษตรกรคือขาดความยั่งยืนและความมั่นคง ตนจึงได้สร้างนวัตกรรมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและการทำลายจากแมลงได้ถึง 31 โรค และมีความปลอดภัยเพราะไม่มีส่วนผสมของสารเคมี โดยถ่ายทอดให้เกษตรกรที่หมู่บ้านแสงวิมาน อ. ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอ พันธุ์ทับทิมสยาม ของ อ.ปากพนัง ซึ่งเดิมได้รับผลกระทบจากโรคพืชในส้มโอ ทำให้ต้นส้มโอยืนตายและผลไม่ได้มาตรฐาน พร้อมกับเข้าไปสร้างศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค้นพบโดย มวล. จนสามารถทำให้ปัจจุบันสวนส้มโอทับทิมสยามแสงวิมานได้ผลผลิตจากเดิม 1,500-2,000 ลูก/ไร่/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ลูก/ไร่/ปี ที่สำคัญลดค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมี ได้ 30,000 บาท/ไร่/ปี และมียอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 1.47 ล้านบาท/ปี เป็น 2.94 ล้านบาท/ปี หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 100% จากพื้นที่เพาะปลูกขนาด 14 ไร่

รศ.ดร.วาริน กล่าวต่อว่า ต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทเพื่อรับอนุญาตใช้สิทธิจาก มวล. เป็นผู้จำหน่ายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า บริษัท วลัยไบโอคอนโทรล จำกัด มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่ห้องบ่มเพาะผู้ประกอบการ โซน บี อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. โดยปัจจุบันมียอดขายอยู่ที่ 6.1 ล้านบาท/ปี และขณะนี้มีลูกค้าจาก 5 ประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม เป็นต้น ให้ความสนใจเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009

ด้านนายอิมรอน แสงวิมาน เจ้าของสวนส้มโอทับทิมสยามแสงวิมาน กล่าวว่า โชคดีที่ได้เจอนักวิจัยของอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ มวล. ที่มาช่วยพลิกชีวิต จากที่เคยประสบปัญหาจากแมลงศัตรูพืช ปกติส้มโอจะใช้เวลาในการออกผลผลิตระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ช่วยได้และไม่มีสารเคมีเจือปนในผลผลิตเลย

จากนั้น ดร.ดนุช กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ และ อว. มีหน้าที่เอาองค์ความรู้จากนักวิจัยไปแก้ปัญหาให้เกษตรกร เพื่อทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และผลงานที่ทำกับสวนส้มโอแห่งนี้ก็ชัดเจนว่า งานวิจัยไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาแต่ยังเพิ่มรายได้และลดการใช้สารเคมีตามนโยบายเศรษฐกิจบีซีจีของ อว. ตนขอชื่นชมอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ว่าเป็นโซ่ข้อกลางในการประสานนักวิจัยให้เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการและประชาชนอย่างแท้จริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

NSM ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ

เมื่อ 25 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ โดยมี นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่

“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี