"ศักดิ์สยาม" ให้ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JETRO Bangkok) และประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCCB) เข้าพบ เพื่อหารือแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ นายคุโรดะ จุน (Mr.Kuroda Jun) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JETRO Bangkok) และนายคาโต้ ทาเคโอะ (Mr.Kato Takeo) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCCB) เข้าพบ เพื่อหารือแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนจากกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คณะ JETRO Bangkok และ JCCB เข้าร่วมหารือในวันที่ 25 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม
.
ในที่ประชุม นายคุโรดะ จุน ได้รายงานผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 (ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2565) โดยแนวโน้มเศรษฐกิจจากทัศนะของผู้ประกอบการญี่ปุ่นยังเป็นไปในทิศทางบวก และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ ราคาต้นทุนวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่สูงขึ้น รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับราคาสูงขึ้น และอุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกลดลง แต่ก็หวังว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย
จะส่งผลดีกับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปี 2566
.
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวขอบคุณข้อเสนอแนะและยืนยันเป้าหมายของรัฐบาลไทย ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย โดยกระทรวงคมนาคมยังคงดำเนินภารกิจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง สนับสนุนมาตรการส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในภาคการขนส่งสาธารณะ มุ่งเน้นการดำเนินการด้านความเป็นกลางด้านคาร์บอน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามขอบเขตของกิจกรรมทางธุรกิจ โดยยกตัวอย่างการดำเนินโครงการถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) ที่จะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 4 ปี และการสานต่อการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและชานเมือง พร้อมทั้งแจ้งความคืบหน้าโครงการ Landbridge โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ Concept Design เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนการประชาสัมพันธ์โครงการฯ (Road Show) ทั้งในและต่างประเทศเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั่วโลก
.
สำหรับด้านการต้อนรับนักท่องเที่ยวในปี 2566 กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท) ได้ออกประกาศผู้ทำการในอากาศ (NOTAM) ฉบับล่าสุด (10 มกราคม 2566) เพื่อแจ้งสายการบินและภาคการบินที่เกี่ยวข้องทั่วโลกทราบมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในการเดินทาง เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการยกเลิกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สายการบินไม่ต้องตรวจสอบผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง รวมทั้งจะไม่มีการสุ่มตรวจเมื่อเดินทางมาถึงซึ่งจากมาตรการดังกล่าวทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ โดยรัฐบาลไทยยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบิน ทั้งกำหนดการเปิดการเปิดอาคารผู้โดยสาร SAT-1 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี 2566 การคลี่คลายปัญหาความล่าช้าจากขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระอย่างเร่งด่วน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' การันตี ภท. ไม่ปรับ ครม. ชี้ 8 รมต. ทำงานคืบหน้า

'อนุทิน' ย้ำรัฐมนตรีภูมิใจไทย 8 คน ไม่มีขยับ ชี้ทุกคนทำงานเต็มที่ผลักดันนโยบายคืบหน้าตลอด นายกฯ ยังไม่ส่งสัญญาณปรับ ครม. พร้อมอุ้ม 'เกรียง' มอบ พช. ดูแลเพิ่มอีกกรม

'อนุทิน' จ่อถอดเทป 'เศรษฐา' จ้อสื่อนอก ลั่น 'กัญชาเสรี' อยู่ในนโยบายรัฐบาล

'อนุทิน' ยัน 'กัญชา' มีประโยชน์ทางการแพทย์-เศรษฐกิจ บรรจุในนโยบายรัฐบาลแล้ว หลังนายกฯ ระบุจะนำกลับบัญชียาเสพติด ชี้หากเปลี่ยนแปลงต้องแก้กฎหมายหลายตัว เยียวยาผู้ทำถูกต้อง

'ปธ.กกต.' ยันไม่ชักช้า แจงคืบหน้าคดียุบ 'ก้าวไกล-ภูมิใจไทย'

'ประธาน กกต.' แจงไม่ชักช้า พิจารณายุบพรรคก้าวไกล เร่งศึกษาคำวิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ส่วนคดียุบภูมิใจไทย ยังอยู่ในกรอบเวลา

'ธนกร' ขอบคุณ 'มท.1' สั่งล้างบางมาเฟียต่างชาติในภูเก็ต

'ธนกร' ขอบคุณ 'อนุทิน' สั่งกวาดล้างมาเฟียต่างชาติในภูเก็ต ฝาก มท.-ตร. เร่งสแกนพื้นที่ ตัดวงจรฟอกเงิน มั่นใจช่วยผู้ประกอบการไทยทำธุรกิจดีขึ้น หนุนท่องเที่ยวภาคใต้โตตามเป้า

'ภูมิใจไทย' ยื่นร่างกฎหมาย รื้อ 'คำสั่ง คสช.'

'ภูมิใจไทย' ยื่นร่างกฎหมายรื้อคำสั่ง คสช. ลั่นไม่ได้ตำหนิ ชี้บางฉบับมีความจำเป็นในการปกครอง ขอเปลี่ยนชื่อเป็น พ.ร.บ. ให้ดูดีในสายตาต่างชาติ