Sea (ประเทศไทย) และ CEA โชว์ผลงานผู้ประกอบการหญิง 10 แบรนด์ ความสำเร็จแห่งโครงการ Women Made

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการรายย่อยและรายเล็กในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในหลายมิติ และผลกระทบอาจรุนแรงขึ้นไปอีกในกลุ่มผู้ประกอบการหญิง โดยรายงาน Thai Digital Generation 2021 ‘ฉายภาพอนาคตประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19’ จาก Sea (Group) และ World Economic Forum พบว่า กลุ่มผู้หญิงพบปัญหาการลดลงของรายได้และสุขภาพจิตที่แย่ลงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดมาจากความเครียดของผู้หญิงที่ต้องทำงานและรับบทบาทดูแลสมาชิกในครอบครัวด้วยในเวลาเดียวกัน ทั้งยังขาดการเข้าถึงทักษะและแหล่งเงินทุนที่จำเป็นในการทำธุรกิจ รายงาน Global Entrepreneurship Monitor ยังชี้ว่า 70% ของผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยขาดความมั่นใจและกลัวความล้มเหลว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจของตน

 

ด้วยเหตุนี้ Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) จึงริเริ่มโครงการ Women Made ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหญิงก้าวข้ามความกลัว สร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมผ่านธุรกิจของตน โดยจับมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ โครงการ Women Made จึงเปรียบเสมือนพื้นที่การเรียนรู้และสนามทดลองในการทำธุรกิจ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อยอดธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการหญิง

 

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า หลังจากเปิดตัวโครงการไปในช่วงปลายปี 2022 โครงการ Women Made ก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้สมัครร่วมโครงการกว่า 100 แบรนด์ เราได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการอย่างเข้มข้น ทั้งด้านความโดดเด่นของธุรกิจหรือสินค้า ศักยภาพในการขยายธุรกิจบนช่องทางออนไลน์ และความตั้งใจในการสร้างอิมแพคให้สังคมไม่ว่าจะในด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม จนได้ผู้ร่วมโครงการทั้ง 10 แบรนด์ ที่ต้องผ่านการอบรมทั้งในด้านการทำธุรกิจออนไลน์ การตลาดและแบรนดิ้ง การออกแบบและต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม   จนสุดท้ายได้ผลลัพธ์เป็นผลิตภัณฑ์คอลเลกชันพิเศษที่วางขายแล้วบนช้อปปี้เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ผู้ประกอบการหญิงทุกแบรนด์ระบุว่ามีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในฐานะผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังได้รับทักษะใหม่ ๆ ได้แก่ 1.) การทำธุรกิจโดยรวม 2.) การทำธุรกิจบนดิจิทัลแพลตฟอร์มและโลกออนไลน์ และ 3.) ด้านการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สะท้อนเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้นบนช่องทางออนไลน์ โดยเพิ่มขึ้นราว 20% ในช่วงเวลาเพียงแค่ 1 เดือน นอกจากนี้ ทุกแบรนด์ยังได้ค้นหาแนวทางการดำเนินธุรกิจของตัวเองให้มีความยั่งยืนในรูปแบบที่ทำได้จริงและมีความหมายต่อแบรนด์อีกด้วย

ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า จากบทบาทหน้าที่ของ CEA ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน และปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เกิดการเติบโตนอกจากความคิดสร้างสรรค์แล้ว ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นอีกมิติที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องตระหนักและปรับตัว พร้อมใช้ต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ตลาดมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนโดยรอบ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเอื้อให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์อย่างแท้จริง เราเชื่อว่าโครงการ “Women Made” ที่จัดทำร่วมกับ Sea (ประเทศไทย) นอกจากเรื่องความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังมีการผนวกเรื่องการใช้เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมในการทำธุรกิจให้เกิดขึ้น เพื่อยกระดับศักยภาพในการทำธุรกิจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 10 แบรนด์ ให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อีกทั้งยังถือเป็นโครงการนำร่อง สำหรับผู้ประกอบการหญิงที่มีไฟและต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถขยายสู่กลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นได้จริง โดยผู้ประกอบการหญิงที่ผ่านการบ่มเพาะในโครงการฯ จะสามารถใช้องค์ความรู้พัฒนาศักยภาพให้ตอบโจทย์ธุรกิจของตนเอง ในระดับประเทศหรือนานาชาติ รวมไปถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ประเทศไทยต่อไป

 

ด้าน อาจารย์เรวัฒน์ ชำนาญ ที่ปรึกษาโครงการผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างสรรค์และอดีตบรรณาธิการบริหาร Wallpaper Thai Edition กล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการหญิงที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 10 แบรนด์นั้นล้วนมีศักยภาพในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจและสร้างคุณค่าต่อสังคมไปพร้อมกัน เราจึงได้ออกแบบ Masterclass โดยใช้กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ โอกาสในการพบเมนเทอร์ (Mentor) รวมถึงเครือข่ายนักสร้างสรรค์จาก Connect by CEA มาทำงานร่วมกับผู้ประกอบการในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ นอกจากนั้นผู้ประกอบการหญิงทั้ง 10 แบรนด์มีโอกาสได้ลองประยุกต์ความรู้จาก Masterclass และทดลองไอเดียใหม่ ๆ โดยใช้ seed-funding จากโครงการในการออกคอลเลกชันพิเศษที่ทดลองขายบน Shopee

 

ผลงานความสำเร็จจากพลังผู้ประกอบการหญิงทั้ง 10 แบรนด์ที่เข้าร่วมของโครงการ “Women Made” มีดังนี้

  • Kanz by Thaitor: แบรนด์เสื้อผ้าเล็ก ๆ จาก จ.แพร่ ที่คนในครอบครัวออกแบบลายและทำกันเองทุกขั้นตอน เป็นการต่อยอดผ้าบาติก
  • Sliptosleep: แบรนด์ Braless Pajamas หรือชุดนอนสำหรับสาว ๆ ที่มาพร้อมกระเป๋าหนาสามชั้นด้านนอก ทำให้ไม่ต้องกลัวโป๊แม้จะไม่ได้ใส่บรา
  • Veraparisbag: แบรนด์กระเป๋าซึ่งเป็นตัวแทนของชีวิตผู้หญิงในมหานคร ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากสถาปัตยกรรมเมือง โดยออกแบบให้มีฟังก์ชันที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ชีวิต Urban Life สร้างสุนทรีย์ให้ผู้หญิงในการถือ และใช้กระเป๋า
  • Sureeya: แบรนด์ผลิตภัณฑ์กระเป๋าและ Accessories จากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผ้าพื้นถิ่น คือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่
  • Pick Me Please: หมูหย็องกรอบที่ใช้กรรมวิถีคั่วบนเตาถ่านสูตรโบราณ โดยปราศจากการใช้เครื่องจักร ปรุงรสจนได้หมูหย็องกรอบที่ กรอบอร่อย รสชาติไม่เหมือนใคร ปราศจากผงชูรสและสารกันเสีย
  • ขนมทันจิตต์: ต่อยอดตำนานครอบครัวนักรังสรรค์ขนมที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี พร้อมส่งต่อความสุขที่ทานได้ แบบ Non Stop กับขนม "เผือกกรอบรูปตะแกรง" ในแบบฉบับ "ทันจิตต์
  • Mediherbtea: แบรนด์ชาจากดอกไม้ ปราศจากคาเฟอีน ไม่มีน้ำตาล ทั้งยังเปี่ยมไปด้วยแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่มีทั้งกลิ่นหอมและคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยชาเบลนด์ 3 รสชาติ ได้แก่Morning Bloom ชาดอกไม้สีแดงจากดอกชบา กระเจี๊ยบแดง และกุหลาบ 2. Golden Noon ชาดอกไม้สีเหลืองทองจากดอกคำฝอย มะตูม และดอกกระดังงา 3. Starry Night ชาดอกไม้สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน มะลิ และเปเปอร์มิ้นท์
  • Ales Thailand: แบรนด์สกินแคร์ที่อยากช่วยให้การดูแลผิวเป็นเรื่องง่าย โดย Ales เกิดจากความตั้งใจของเพื่อน 3 คน (พลอย - เภสัชกรที่มีความรู้ด้านงานวิจัยสารสกัด หยก-ทายาทธุรกิจนำเข้าเคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง แพร-Influencer ที่สนใจด้านธรรมชาติและสุขภาพ) ที่อยากทำสกินแคร์ แบรนด์ไทยที่มีคุณภาพ และส่งต่อความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ดีให้กับผู้บริโภค
  • Happy FLows TH: แบรนด์ผ้าอนามัยออร์เเกนิกและผ้าอนามัยสมุนไพร ที่มุ่งมั่นช่วยให้ผู้หญิงรักษาอนามัยอย่างปลอดภัยได้ในทุก ๆ วัน และต้องการร่วมขับเคลื่อนสังคม ช่วยเหลือให้ผู้หญิงที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงผ้าอนามัยดี ๆ ได้ ปล่อยเซ็ตผ้าอนามัยสมุนไพร “Happy Together” ประกอบด้วย ผ้าอนามัยแบบกลางคืน 24 แผ่น กระเป๋าใส่ผ้าอนามัย และ Period Tracker นอกจากนั้นกล่องผ้าอนามัย Happy Flows สามารถ I.Y. เป็นกล่องใส่ผ้าอนามัยอีกด้วย เมื่อซื้อ 1 กล่อง แบรนด์จะมอบอีก 1 กล่องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขาดโอกาสเข้าถึงผ้าอนามัยที่ถูกสุขลักษณะเพื่อเป็นอีกพลังหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนความสุข ความเท่าเทียมด้านสุขอนามัยของผู้หญิงทุกคน
  • Pethology+: แบรนด์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยต่อยอดแชมพูกำจัดเหาของเด็กมาเป็นแชมพูสมุนไพรสำหรับสุนัขและแมว พัฒนามาจากใบถอบแถบซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามแนวป่าชายเลน ผ่านการทดลองในห้องทดลองโดยผู้เชี่ยวชาญ จนได้เป็นแชมพูและสเปรย์สมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์

 

ผู้ที่สนใจสามารถเยี่ยมชมผลงานจากผู้ประกอบการหญิงทั้ง 10 แบรนด์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายในการประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-16.00 น. ณ ร้านชำ FLVR Creative Grocery ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสว. จับมือ ช้อปปี้ หนุนสิทธิประโยชน์ขยายช่องทางตลาด จัดแคมเปญ “SUPER SMEs SELECT” ผลักดันสินค้า SME กว่า 1,000 ราย โปรโมชันจัดหนักจัดเต็ม

สสว. ร่วมกับ ช้อปปี้ จัดแคมเปญออนไลน์ “SUPER SMEs SELECT” ระหว่างวันที่ 4 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2567 บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ภายใต้งานส่งเสริมสิทธิประโยชน์ SME ชวนอุดหนุนสินค้ากว่า 1,000 ร้านค้า

เดินเที่ยว Bangkok Design Week 2024

กลับมาแล้ว “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW 2024) เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ปีที่ 7 มาในธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’  วันที่ 27 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2567 การจัดงานทั้ง 9 วัน ปลุกชีวิตและเติมสีสันแต่ละย่านผ่านกิจกรรมกว่า 500 โปรแกรม

CEA ปลื้ม “CHANGEX2 : LOCAL COLLAB แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ โชว์ Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่” ได้ 30 คู่ธุรกิจ

เพราะเล็งเห็นว่า ธุรกิจในทุกภูมิภาคของไทยยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีก ในยุคที่การ Collab เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab” โชว์ผลงานปั้นธุรกิจใหม่ ร่วมกับ ครีเอเตอร์ 30 คู่ ส่งเสริมรายได้อย่างยั่งยืน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ หนุน Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่