กยท. ประกาศยางไทย พร้อมรับเทรนด์โลก ลุยจัดระบบตรวจสอบย้อนกลับเต็มรูปแบบ

กยท.โชว์ฝีมือการทำงาน สร้างความพร้อมให้กับวงการยางพาราไทยทุกภาคส่วน เดินหน้าจัดระบบพร้อมรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยางได้ถึงแหล่งกำเนิด รับเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และผลผลิตยางที่มาจากสวนยางบนที่ดินถูกกฎหมาย ไม่รุกเขตป่าสงวน

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิด ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ยางพารา ถือเป็นนโยบายสำคัญที่ กยท. กำลังมุ่งเน้นดำเนินการ เพื่อรองรับมาตรการต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากปัจจุบันเทรนด์โลก ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงประเทศผู้นำเข้ายางรายใหญ่ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยางต้องผลิตมาจากสวนยางที่มีเอกสารสิทธิถูกกฎหมายของประเทศผู้ผลิตต้นทาง และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และผลจากที่ กยท. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้วันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมมากเกี่ยวกับเรื่องนี้

“กยท. ได้ดำเนินการในมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการดำเนินงานที่จัดให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแล้วถึง 8 ล้านคน พร้อมทั้งมีการทำข้อมูลพื้นที่ปลูก ที่ตรวจสอบได้ว่าพื้นที่ปลูกยางพารานั้น เป็นเอกสารในรูปแบบโฉนด หรือ เอกสารสิทธิ์อื่น ๆ ขณะที่ด้านผลิตภัณฑ์ยางก็สามารถทราบถึงที่มา แหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ยางนั้นว่าจากสวนยางของเกษตรกรรายไหนและตั้งอยู่ในพื้นที่ใด ด้วยความพร้อมด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เกษตรกร และสถาบันเกษตรได้ดำเนินการร่วมกับ กยท. ทำให้ยืนยันได้ว่า เกษตรกรแต่ละคน สถาบันเกษตรกรแต่ละแห่ง ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกยางอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับตลาดกลางยางพารา ที่เป็นแหล่งของการซื้อขายยางพารา แหล่งอ้างอิงถึงพื้นที่ปลูกยางพารา ซึ่งทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบย้อนกลับ” นายณกรณ์ กล่าว

นายณกรณ์ กล่าวอีกว่า จากการดำเนินงานของ กยท. ตลอดช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่า ผลผลิตของยางตั้งแต่ต้นกำเนิด จนมาถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

“จากนโยบายที่ส่งเสริมให้มีการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิด ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ยางพารา จะช่วยสร้างผลดี และประโยชน์อย่างมาก ทั้งต่อผู้ซื้อ ที่สามารถทราบถึงแหล่งกำเนิด ทำให้รู้ได้ว่า มาจากไหน มีกระบวนการจัดการแปลงอย่างไร นำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่จะได้รับมากขึ้น ส่วนด้านของผู้ผลิต ผู้ขาย ถือเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเรื่องของการส่งออก กยท.จึงขอยืนยันว่า นโยบายนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี” นายณกรณ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

กยท.ตั้งเป้ากำหนดราคายางโลก เร่งตรวจสอบย้อนกลับ3.5ล้านตัน ใช้EUDRเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพ/ขยายตลาด

กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก