MEA เตรียมพร้อมรับมือคนไทยใช้ไฟฟ้าสูงสุดหน้าร้อนนี้

MEAคาดร้อนนี้ยอดความต้องการใช้ไฟฟ้าแตะ 9,282 เมกะวัตต์ และมีแนวโน้มหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่ม 0.2%  ประกาศความพร้อมรับมือการใช้ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีและระบบศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA แนะ 'ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน' ช่วยประหยัดไฟฟ้าช่วงฤดูร้อน

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงหรือ กฟน.( MEA ) เปิดเผยว่า สถิติการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของ MEA ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ (เม.ย.-พ.ค.) คาดจะมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4% ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว , การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีก) คาดจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ลดลง 1.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรืออยู่ที่ระดับ 9,282 เมกะวัตต์ เนื่องจากคาดการณ์อุณหภูมิไม่สูงเท่าปีที่แล้ว และประชาชนเริ่มหันมาใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มากขึ้น ขณะที่หน่วยจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA ทั้งหมดของปี 2566 คาดจะมีจำนวน 51,651 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 0.2% จากปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ MEA มีความพร้อมรับมือกับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้สนับสนุนระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จากสถิติค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า SAIFI (System Average Interruption Frequency Index) หรือค่าเฉลี่ยความถี่ที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้องในปี 2565 มีค่าเท่ากับ 0.632 ครั้ง/ราย/ปี และ SAIDI (System Average Interruption Duration Index) หรือค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้องในปี 2565 มีค่าเท่ากับ 20.194 นาที/ราย/ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสำคัญอย่างศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition)  ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับใช้ในการตรวจสอบสถานะ ตลอดจนวิเคราะห์การทำงานของระบบควบคุมตรวจจับข้อมูล แล้วส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ โดยมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย รองรับการปรับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของ MEA ในโครงการระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Metro Grid

ผู้ว่าการ MEA ยังกล่าวถึงแผนการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมช่วยการเตรียมความพร้อมในด้านระบบไฟฟ้าด้วยระบบ AI ในการบริหารงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ 18 เขต มีการจัดตั้งทีมปฏิบัติการทางน้ำ Marine MEA เพื่อรองรับการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีพื้นที่ติดริมน้ำและชายฝั่งทะเล ใช้เทคโนโลยี Thermovision สแกนตรวจจับความร้อนของอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการใช้โดรนตรวจสอบระบบสายส่งไฟฟ้าโดยเชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการ Field Force Management และระบบแผนที่ GIS อีกทั้งยังให้ประชาชนแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องผ่านแอปพลิเคชั่น MEA Smart Life ตลอด 24 ชั่วโมง

"ในช่วงหน้าร้อนที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานมากขึ้นนั้น ขอแนะนำวิธี 'ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน' ได้แก่ ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่ ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง และล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ เปลี่ยนมาพกกระติกน้ำแข็งสำหรับดื่ม ตรวจขอบยางประตูตู้เย็นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ปิดสวิตช์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกครั้งหากไม่ได้ใช้งาน หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ถ้าชำรุดต้องซ่อมแซมทันที รวมทั้งติดตั้งสายดิน พร้อมเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า"

ผู้ว่าการ MEA ย้ำถึงหากเกิดพายุฤดูร้อน มีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดจากพายุ ป้ายโฆษณากลางแจ้งต้องตรวจสอบโครงสร้างให้มีสภาพแข็งแรงมั่นคงปลอดภัย ตรวจสอบระยะห่างของป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้า เพราะอาจส่งผลกระทบทำให้ไฟฟ้าดับ ควรอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงใกล้แนวสายไฟฟ้า เพราะกิ่งไม้อาจหักโค่นจากลมกระโชกแรงและพาดลงมาทำให้เสาไฟฟ้าล้มหรือสายไฟฟ้าขาด สำรวจต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณบ้าน ให้กิ่งไม้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยไม่ระสายไฟฟ้า เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าดับ รวมถึงอาจทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วมาตามกิ่งไม้ที่เปียกน้ำจากฝนฟ้าคะนองได้

สำหรับผู้พบเห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดหรือไม่ปลอดภัยสามารถแจ้งได้ที่เฟซบุ๊กการไฟฟ้านครหลวง MEA, ไลน์ MEA Connect, ทวิตเตอร์ @mea_news, และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง 1130 หรือแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น MEA  Smart Life ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ร้อนจัดปกคลุมประเทศไทย อุณหภูมิทะลุ 43 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลาง

ร้อนปรอทแตก! กรมอุตุฯ เตือนรับมืออุณหภูมิสูงสุด 41-43 องศา ตั้งแต่ 30 มี.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 28 มี.ค.-6 เม.ย. 67 init. 2024032712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : อากาศยังเปลี่ยนแปลงโดย 28-29 มี.ค.67 อากาศร้อนบริเวณภาคเหนือ

ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ 5 ดาว ประหยัดไฟ รักษ์โลกมากกว่าเดิม

แม้ไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนเพียงไม่นาน แต่บางพื้นที่มีอุณหภูมิร้อนแรงแตะ 45 องศาเซลเซียส ทำให้หลายคนเตรียมปาดเหงื่อทั้งจากอากาศที่ร้อนจัด

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 6 อัปเดตพื้นที่เสี่ยงอันตราย 'พายุฤดูร้อน' ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 6 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2567) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุฤดูร้อน 19 มี.ค. ฝนตกหนัก 40-60% อุณหภูมิลดลง 5 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 16 - 18 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง

สัญญาณชัด! พายุฤดูร้อน 19-21 มี.ค. เตรียมรับมือฝนชุดใหญ่ครั้งแรกของปี

เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 14-23 มี.ค. 67 ทิศทางลมยังแปรปรวน โดยมีลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมด้านตะวันวันของภาคเหนือ