‘ปลัดแรงงาน’ ประชุมระดับสูงด้านแรงงาน ไทย - อียู มุ่งคุ้มครองยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมในภูมิภาค

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นายจูสต์ คอร์เธ่ ปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมระดับสูงด้านแรงงานระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ครั้งที่ 3 โดยมี นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนางสาวกาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมนำเสนอและตอบข้อซักถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้วย ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

นายบุญชอบ เปิดเผยว่า การประชุมระดับสูงด้านแรงงาน จัดขึ้นภายใต้ ข้อตกลงการบริหารจัดการสำหรับการประชุมหารือด้านแรงงาน (Labour Dialogue) ระหว่าง กระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทย และ กระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยสหภาพยุโรปเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูงฯ ครั้งที่ 3 ในรอบ 3 ปี ภายหลังประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูงฯ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับประเด็นด้านแรงงาน โดยเฉพาะการเคารพหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ การขจัดแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก สิทธิมนุษยชน การยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ และแรงงานในภาคประมง

ปลัดกระทรวงแรงงาน ยังได้ร่วมนำเสนอพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น มาตรการรับมือกับโควิด - 19 การกระจายวัคซีน ให้บริการรักษา Hospitel และโครงการ Factory Sandbox ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีมาตรการเพื่อคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ เช่น การขยายอายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน การเข้าถึงวัคซีนและการรักษาอย่างเท่าเทียม รวมถึงกล่าวถึงผลการเป็นเจ้าภาพ APEC และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2566 ซึ่งอนุญาตให้ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านได้ โดยได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วน นอกจากนั้น การประชุมระดับสูงด้านแรงงาน ครั้งที่ 3 ที่ประชุมยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นด้านแรงงานต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจนอกระบบ เสรีภาพในการสมาคม และการฝึกงานอีกด้วย

ด้าน นางแอนดริอาน่า สุโคว่า รองปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคม คณะกรรมาธิการยุโรป ได้นำเสนอพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพยุโรปที่น่าสนใจ เช่น การสนับสนุนเพื่อลดความเสี่ยงที่จะตกงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาการด้านค่าจ้างขั้นต่ำและรายได้ขั้นต่ำที่เพียงพอ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับงานแพลตฟอร์ม กรอบเพื่อการฝึกงานที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจเพื่อสังคม การทำงานทางไกล (Telework) และสิทธิในการที่จะตัดขาดการติดต่อ (right to disconnect)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ

ประกันสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเปลี่ยน รพ. ปี 68 ผ่าน 4 ช่องทาง เริ่ม 16 ธ.ค.67 นี้

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม แจ้งให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2568 ได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.

“พิพัฒน์” เอาจริง! ตั้งชุดเฉพาะกิจตรวจสอบการจ้างแรงงานต่างด้าว ป้องปรามแย่งอาชีพคนไทย ออกจับ ปรับส่งกลับประเทศ

วันที่ 11 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจสอบการจ้างงาน สภาพการจ้าง การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

“พิพัฒน์” ลุยช่วยพี่น้องสตูล ฟื้นฟูหลังน้ำลด ระดมทีมช่างภาคใต้ช่วยเหลือ เปิดศูนย์ซ่อม สร้าง สุข บริการฟรี สอนอาชีพเสริม ปักหลักมอบถุงยังชีพ 5 อำเภอสตูล

วันที่ 6 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวต้อนรับ

‘พิพัฒน์’ นำทีมแรงงาน มอบเครื่องอุปโภคบริโภค 7 คันรถ ช่วยน้ำท่วม 8 จังหวัดภาคใต้

วันที่ 4 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประกันตน ลูกจ้าง นายจ้าง แรงงานนอกระบบ