กรมชลฯ เดินหน้าปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง หวังแก้ปัญหาอุทกภัย

วันนี้ (23 พฤษภาคม 2566) นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายยงยส เนียมทรัพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายมานพ แจ่มมี ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ นายวิรวัฒน์ ผสมทรัพย์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ และผู้เกี่ยวข้อง นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานสำรวจ ออกแบบ โครงการปรับปรุงระบบชลประทาน พื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ณ ห้องประชุมฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 (ประตูระบายน้ำพระธรรมราชา)โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ จังหวัดปทุมธานี

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เมื่อเกิดฝนตกหนักมักจะเกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เป็นประจำเกือบทุกปี ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนและทุกภาคส่วนเป็นอย่างมาก และจากเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง กรมชลประทานจึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงระบบชลประทานพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ซึ่งเป็น 1 ใน 9 แผนงานของแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อปี 2560 โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาทบทวนความเหมาะสมแล้วเสร็จในปี 2560 ลักษณะโครงการเป็นการปรับปรุงคลองและอาคารชลประทานในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างตั้งแต่ใต้แม่น้ำป่าสักบริเวณเขื่อนพระรามหก ผ่านคลองระพีพัฒน์ จนถึงชายทะเลอ่าวไทย ด้วยการปรับปรุงโครงข่ายคลองชลประทานเดิม จำนวน 24 คลอง ความยาวรวม 505.18 กม. รวมถึงก่อสร้าง/ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ 21 แห่ง

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2566 ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทั้งโครงการฯ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้จากเดิม 210 เป็น 400 ลบ.ม./วินาที โดยระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา 100 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกง 156 ลบ.ม./วินาที และระบายน้ำสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทย 144 ลบ.ม./วินาที ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลเชิญชวนเกษตรกร-ประชาชน สมัครร่วมโครงการจ้างงาน ช่วงว่างเว้นทำเกษตร

ช่วยเกษตรกรฤดูแล้ง! 'รัฐบาล' เชิญชวนเกษตรกร-ประชาชน สมัครร่วมโครงการจ้างงานกับกรมชลฯ สร้างรายได้ทดแทนช่วงว่างเว้นจากการทำการเกษตร

นักวิชาการชี้โครงการ 'ผันน้ำยวม' มูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกม. สร้างหนี้รัฐมหาศาล ไม่คุ้มค่า

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม โดยมี ดร.ศิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ชาวร้อยเอ็ด จัดเวทีใหญ่ 2.4 พันคนลงชื่อไม่เห็นด้วยสร้างเขื่อนกั้นน้ำชี

ชาวบ้านลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีกว่า 350 คน ได้ร่วมเวทีนำเสนอข้อมูล เพื่อให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ-ประตูระบายน้ำ(เขื่อน)กั้นแม่น้ำชี ที่มีแผนดำเนินการศึกษาและก่อสร้างบริเวณหมู่บ้านไชยวาน ต.นาเลิง อ.เสลภูมิ

กรมชลฯ เร่งระบายน้ำแจ้งเตือนลุ่มเจ้าพระยาอาจได้รับผลกระทบ

กรมชลฯ แจ้งเตือนลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 4 เพิ่มระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา จาก 1,500 เป็น 1,800 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ท้ายเขื่อนเฝ้าระวังน้ำสูงขึ้นจากเดิมอีก 80 ซ.ม. อาจกระทบชุมชนบางพื้นที่