วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 บันทึกเทปรายการ Suthichai Live 8t ว่าด้วย "ชุมชนเข้มแข็ง ตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี” ณ สถาบันการเงินชุมชนบ้านขอนขว้าง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. พร้อมคณะ และ ทีมจากธนาคารกรุงเทพ เข้าร่วมศึกษาพื้นที่ตำบลเข้มแข็งในครั้งนี้ด้วย
โดยมีการบันทึกเทปและสัมภาษณ์
Ep1 ประเด็น “การจัดการการเงินชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต” (สถาบันการเงิน, สวัสดิการชุมชน, การส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต) โดย (1) คุณสุทธิชัย หยุ่น (2) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) (3) นายบุญศรี จันทร์ชัย และ (4) นายบรรจง พรมวิเศษ ผู้แทนองค์กรชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก
Ep 2 ประเด็น “การพัฒนาที่อยู่อาศัย โครงการบ้านมั่นคงชนบทวังหินเกิ้ง บ้านที่มากกว่าคำว่าบ้าน” โดย (1) คุณสุทธิชัย หยุ่น (2) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) (3) นายบุญศรี จันทร์ชัย ผู้แทนองค์กรชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก (4) นางสาวสุพัดตา ทัพโยธา ประธานบ้านมั่นคงชนบทวังหินเกิ้ง
Ep3 ประเด็น "การจัดการน้ำโดยชุมชน ตำบลดงขี้เหล็ก : ความมั่นคงด้านน้ำ บริหารจัดการยั่งยืนโดย (1) คุณสุทธิชัย หยุ่น (2) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) (3) นายบรรจง พรมวิเศษ ผู้แทนองค์กรชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก
ตำบลดงขี้เหล็ก แบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน จำนวน 14 หมู่บ้าน มีประชากรจำนวน 10,306 คน มีครัวเรือน จำนวน 3,535 ครัวเรือน
"สถาบันการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านขอนขว้าง" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2524 หรือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ มีสมาชิกก่อตั้งจำนวน 48 คน ด้วยเงินสัจจะสะสมครั้งแรก จำนวน 1,150 บาท มีเป้าหมายเพื่อ “สร้างแหล่งทุนในชุมชนโดยการร่วมกันออมเงินเป็นทุนในการประกอบอาชีพ และแก้หนี้นอกระบบ” และยังมีความตั้งใจว่า “ทุกคนที่เข้ามาอยู่ร่วมกันในชายคาบ้านภายในตำบลดงขี้เหล็ก และรับเอาระเบียบปฏิบัติ ที่ชุมชนร่วมกันตั้งขึ้น จะได้รับสวัสดิการ และมีหลักประกันในชีวิตตั้งแต่วันที่เกิดจนถึงวันตาย” ในระยะถัดมาได้เริ่ม “บูรณาการทุนชุมชน” ไม่ว่าจะเป็น การบูรณาการความคิดจากคนในตำบลกว่า 5,000 คน 14 หมู่บ้าน และบูรณาการทุนชุมชน ปัจจุบันมีเงินรวม 626,300,000 บาท สมาชิก 9,541 คน
นอกจากนี้สถาบันการเงิน ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือสมาชิกผู้เดือดร้อนที่ดินที่อาศัย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสมาชิกที่ที่ดินทำกินกำลังจะหลุดมือจากการจำนองที่ดินกับธนาคาร เจ้าหนี้นอกระบบ โดยสถาบันการเงิน จะนำเงินไปไถ่ถอนแทนและรับจำนองที่ดินแทน ในจำนวนเงินผ่อนรายเดือนที่สมาชิกสามารถส่งได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ จำนวนสมาชิกที่ช่วยเหลือ 363 คน กว่า 300 โฉนด เป็นเงินกว่า 50 ล้านบาท
พร้อมทั้งมี "กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก" เน้นเรื่องการพัฒนาคน ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ ถือว่าการออมเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน ขององค์กรชุมชน ใช้หลักการออมวันละบาท สร้างระบบบริหารจัดการกองทุนให้เป็นระบบเป็นเป็นยอมรับของคนในชุมชน ตำบลดงขี้เหล็ก จดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เมื่อปี 2551 เป็นพื้นที่กลางในการปรึกษาหารือทบทวนสภาพปัญหา วิเคราะห์ต้นทุนศักยภาพตำบล และนำไปสู่การวางแผนพัฒนา
โดยใช้ผังตำบล ผังชีวิตชุมชนเป็นเครื่องมือ วางแผนการพัฒนาตำบลสู่รูปธรรมชุมชนเข้มแข็งในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาตำบลดงขี้เหล็กทุกมิติ และประสานเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับท้องถิ่น หน่วยงานต่างๆ
และยังมีการจัดการน้ำโดยชุมชน จนเกิดกระบวนการจัดการทรัพยากรน้ำขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำที่ไหลมาจากภูเขาจนถึงสุดปลายน้ำ โดยใช้กระบวนการงานวิจัย และค้นหาแนวทางแก้ไขร่วมกันทุกหมู่บ้าน ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)
ตลอดจนการพัฒนาเรื่องอาชีพ มีการส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาเรื่องอาชีพ เช่น การปลูกไม้ดอกไม้ประดับและการปลูกพืชสมุนไพร ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในการพัฒนาช่องทางการตลาดและแปรรูปผลผลิตสมุนไพรเป็นเวชภัณฑ์ยารักษาโรค
กว่า 40 ปี ที่ผู้นำของตำบลดงขี้เหล็กได้คิด และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและทำให้คนในตำบลอยู่ดีมีความสุข ตำบลดงขี้เหล็ก จึงถือเป็นหนึ่งในหลายตำบลที่นำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ และจัดการปัญาหา พร้อมขยายผลสู่กระบวนการจัดการตนเองในหลาหลายมิติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“วันที่อยู่อาศัยโลก 2566” คนจนรวมพลังจี้รัฐแก้ไขปัญหา ที่ดินสาธารณะใน กทม.-ริมคลอง-ที่ดินรถไฟ-ท่าเรือ ฯลฯ
กรุงเทพฯ / วันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้คึกคัก ตัวแทนคนจนทั่วประเทศ 3,000 คน จากเครือข่ายสลัม 4 ภาค บ้านมั่นคง ฯลฯ ร่วมเดินรณรงค์จากศาลาว่าการ กทม.-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย-ถนนราชดำเนินนอก-ทำเนียบรัฐบาล
‘20 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนทั่วประเทศ กว่า 3,000 โครงการ รวม 265,382 ครัวเรือน
โครงการ ‘บ้านมั่นคง’ เริ่มดำเนินการในปี 2546 โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการและอนุมัติงบประมาณในเดือนมกราคมปีนั้น จำนวน 146 ล้านบาทเศษ เพื่อให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่มีรายได้น้อย ไม่มีความมั่นคงในที่ดิน-ที่อยู่อาศัย นำร่องจำนวน 10 โครงการทั่วประเทศ
รณรงค์ ‘วันที่อยู่อาศัยโลกปี 2566’ เข้มข้น...“เสียงจากคนจน” สู่นโยบาย ‘ที่อยู่อาศัยเช่าราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเมือง’
พอช. / งานรณรงค์ ‘วันที่อยู่อาศัยโลกปี 2566’ เวทีขับเคลื่อนนโยบาย ‘ที่อยู่อาศัยเช่าราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเมือง’ เข้มข้น คนจนเสนอปัญหาห้องเช่าราคาแพงเกินรายได้
‘วราวุธ’ รมว.พม. มอบนโยบายบริหารกระทรวง ‘ตามรอยในหลวง ร.9’ เสนอไอเดียนำตึกร้างทำที่พักคนทำงานรุ่นใหม่-ศูนย์บริบาลผู้สูงวัยชุมชน
กระทรวง พม. / นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ คนใหม่ มอบนโยบายการบริหารกระทรวงให้แก่ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด ข้าราชการ
‘ศานนท์’ รองผู้ว่าฯ กทม. ร่วมงาน-รับมอบข้อเสนอจากภาคประชาชน เวที ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ การแก้ปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ-ริมคลอง
พอช. / เครือข่ายสลัม 4 ภาค- พอช.-ชาวชุมชน ร่วมจัดเวที “การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ ริมคลองย่อยและคลองสาขาต่างๆ” เนื่องในช่วงรณรงค์
เสียงจากคนคลองเตย ‘เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก 2566’ “26 ชุมชนขอแบ่งปันที่ดิน-สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อลูกหลาน”
วัดสะพาน / ชาวคลองเตยจัดเวทีหารือ ‘การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัดคลองเตย’ เนื่องในโอกาสการรณรงค์แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนในช่วง ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2566’