รมว.เฮ้ง ห่วงลูกจ้างสมุทรปราการนับร้อย ถูกลดค่าจ้างแถมไม่จ่ายค่าจ้างตั้งแต่ปี 63 สั่ง กสร. เร่งดำเนินการตามกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ห่วงลูกจ้างโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการนับร้อยคน ถูกลดค่าจ้างและไม่จ่ายค่าจ้างตั้งแต่ปี 2563 สั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีลูกจ้างโรงงานสิ่งทอในจังหวัดสมุทรปราการนับร้อย รวมตัวกันหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อขอให้เร่งรัดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามคำร้อง (คร.7) รวมทั้งตรวจสอบทรัพย์สินนายจ้าง ผลประกอบการ และภาษีอากรของนายจ้างนั้น ตนจึงได้สั่งการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที เบื้องต้นได้รับรายงานจากพนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ว่า โรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการสิ่งทอ มีลูกจ้างรวม 225 คน โดยการลดวันทำงานและลดค่าจ้างลูกจ้างเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ นายจ้างมีประกาศขยายลดวันทำงานและลดค่าจ้างต่อเนื่องมาตลอด จนวันที่ 18 เมษายน 2566 โรงงานถูกตัดระบบการจ่ายไฟฟ้าเนื่องจากนายจ้างค้างชำระ หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้เข้าทำงานให้กับนายจ้างอีกเลย แต่นายจ้างยังไม่เลิกจ้างและทยอยจ่ายค่าจ้างบางส่วนให้แก่ลูกจ้าง โดยตั้งแต่วันที่ 3 – 25 พฤษภาคม 2566 มีลูกจ้างรวม 115 คน ได้ยื่นคำร้อง (คร.7) ต่อพนักงานตรวจแรงงานเรียกค่าจ้างค้างจ่ายและเงินสะสมที่หักจากค่าจ้าง และค่าชดเชยกรณีเกษียณ (2 คน) ขณะอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานและสอบข้อเท็จเพิ่มเติม วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ผู้นำแรงงานได้นำลูกจ้างประมาณ 88 คน ไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเพื่อให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมถึงได้มีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 353/2566 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 – เมษายน 2566 เป็นเงิน 18,125,677.58 บาท เงินสะสมหักจากค่าจ้าง เป็นเงิน 857,977 บาท และค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ (2 คน) เป็นเงิน 354,433.33 บาท ให้แก่ลูกจ้าง จำนวน 109 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,338,087.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนลูกจ้างอีก 6 คน ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานและจะดำเนินการออกคำสั่งต่อไป อย่างไรก็ตาม ผมได้กำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเตรียมช่วยเหลือลูกจ้างกลุ่มดังกล่าว โดยการให้คำปรึกษา แนะนำ ข้อกฎหมายและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายประกันสังคม ตำแหน่งงานว่างรองรับกรณีลูกจ้างมีความประสงค์จะหางานใหม่ หรือฝึกการเพิ่มทักษะด้านอาชีพต่อไป

ด้านนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากพนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายสิทธิประโยชน์ข้างต้นแล้ว เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ก็จะดำเนินการให้ลูกจ้างยื่นขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นต่อไป ทั้งนี้ หากลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวไม่สะดวกมายื่นคำร้องที่ สสค.สมุทรปราการ สามารถยื่นคำร้อง คร.7 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 3 หรือ 1546

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่