11 ศิลปินแห่งชาติถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ ปั้นคนรุ่นใหม่สู่เส้นทางนักประพันธ์

11 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ซึ่งล้วนเป็นนักเขียนชั้นครูและมีผลงานวรรณกรรมระดับมาสเตอร์พีซ ผนึกกำลังกันถ่ายทอดความรู้ พร้อมมุมมองจากประสบการณ์ชีวิตและงานเขียนมากมาย เพื่อสร้างนักเขียนรุ่นใหม่สู่นักเขียนอาขีพ ผ่านกิจกรรมฝึกอบรมลายลักษณ์วรรณศิลป์ รุ่นที่ 7 ซึ่งมีการติวเข้มวรรณกรรมถึงเ 4 ประเภท ได้แก่ เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์  และสารคดี ณ หออัตรศิลปิน จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมหลากหลาย ทั้งน้องๆ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้ที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนในอนาคต โดย นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มอบหมายให้นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงาน

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. กล่าวว่า การจัดการฝึกอบรมลายลักษณ์วรรณศิลป์ รุ่น 7 เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ  ที่ สวธ. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และว่างเว้นกิจกรรมไปช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย สวธ.จัดกิจกรรมนี้ขึ้นอีกครั้งเพราะเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการสืบทอดรักษามรดกภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

สำหรับจุดแข็งของกิจกรรมลายลักษณ์วรรณศิลป์ รองอธิบดี สวธ. กล่าวว่า นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้ที่ต้องการจะเป็นนักเขียนในอนาคต มีโอกาสได้เสริมสร้างประสบการณ์ ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับศิลปินแห่งชาติ  ฝึกฝนลีลาในการสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์  พัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  สามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์ตามแนวทางของตนเอง แล้วยังมีโอกาสที่จะได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับอัครศิลปิน วิศิษฏศิลปิน ประวัติและผลงานของ ศิลปินแห่งชาติ จากนิทรรศการที่จัดแสดงอยู่ภายในหออัครศิลปินแห่งนี้อีกด้วย  

จากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 7 การฝึกอบรมลายลักษณ์วรรณศิลป์ หัวใจสำคัญ คือ พลังของเหล่านักเขียนศิลปินแห่งชาติ

“ การฝึกอบรมเข้มข้นลักษณะนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากศิลปินแห่งชาติทุกท่านที่เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรม รวมถึงสังคมและประเทศชาติจะได้รับ ขอขอบคุณศิลปินแห่งชาติ และวิทยากรทุกท่าน ทีสละเวลามาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ ผู้เข้าอบรม หวังว่าทุกคนจะนำความรู้ ประสบการณ์ คำชี้แนะ วิจารณ์ ที่ได้รับจากศิลปินแห่งชาติ และวิทยากร ไปปรับใช้กับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าอบรมที่จะร่วมกันรักษาสืบสานและสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์เจรรโลงสังคมและวัฒนธรรมให้คงอยู่และดียิ่งขึ้น” นางสาววราพรรณ กล่าว

ด้านนางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา เผยเป้าหมายการจัดกิจกรรมว่า เพื่อถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้ที่ต้องการจะเป็นนักเขียนจากทั่วประเทศ ในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยในภาคทฤษฎีผู้เข้าอบรมจะได้รับการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานจากศิลปินแห่งชาติ  ในภาคปฏิบัติผู้เข้าอบรมจะได้สร้างสรรค์ผลงานตามความถนัด เมื่อจบหลักสูตรศิลปินแห่งชาติจะพิจารณาคัดเลือกผลงานดีเด่น และนำไปจัดพิมพ์ในหนังสือลายลักษณ์วรรณศิลป์ 7

สำหรับหนังสือลายลักษณ์วรรณศิลป์นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการที้เกิดประโยชน์ต่อแวดวงนักเขียนแล้ว ยังได้เผยแพร่ผลงานเขียนของผู้เข้าอบรมไปยังนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  และหนอนหนังสือ ช่วยเปิดมุมมอง  สร้างจินตนาการและสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่ผู้อ่านและนักเขียนรุ่นใหม่ต่อไป

หนึ่งในศิลปินแห่งชาติ นางนันทพร ศานติเกษม ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี2564 เจ้าของนามปากกา ปิยะพร ศักดิ์เกษม โด่งดังจากนิยายมากมาย อย่างเรื่องทรายสีเพลิง , ใต้เงาตะวัน กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนด้านนวนิยาย อยากจะฝากถึงน้องๆ ว่าที่นักเขียนในอนาคตว่า ถ้าใครอยากเป็นนักเขียนต้องเริ่มสำรวจตัวเองเบื้องต้นก่อนว่า เป็นคนรักการอ่านไหม รักตัวอักษรไหม รักการเขียนไหม  หากมีสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐาน น้อง ๆ ก็สามารถฝึกฝน พัฒนาทักษะ ให้เป็นนักเขียนที่ดีได้

“ เพราะการเขียนได้ เขียนดี และเขียนงาม จะสามารถก้าวสู่ความสำเร็จบนถนนนักเขียนได้แน่นอนในอนาคต” นักเขียนนิยายคุณภาพวงการวรรณกรรม กล่าว

สำหรับ 11 ศิลปินแห่งชาติ ที่ร่วมเวิร์คช็อปอย่างเข้มข้นครั้งนี้ ประกอบด้วยนายสถาพร ศรีสัจจัง นายเจริญ มาลาโรจน์ นางชมัยภร บางคมบาง นายไพวรินทร์ ขาวงาม รองศาสตราจารย์ธัญญา สังขพันธานนท์ นายกิตติศักดิ์ มีสมสืบ  นายจำลอง ฝั่งชลจิตร นางสาวอรสม สุทธิสาคร นางนันทพร ศานติเกษม นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร นางวรรณี ชัชวาลทิพากร นอกจากนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณกรรม ได้แก่  นายวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง  และ นายจรูญพร ปรปักษ์ประลัย สร้างสีสัน

งานนี้ ศิลปินแห่งชาติแต่ละคนถ่ายทอดวิทยายุทธ ส่งต่อความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม ผู้เข้าอบรมได้เก็บเกี่ยวเคล็ดลับการใช้ภาษาของศิลปินแถวหน้า ซึ่งสามารถหลอมรวมความรู้  ความคิด  ทัศนคติและประสบการณ์  ด้วยกระบวนการคิดที่เป็นระบบสื่อสารไปยังผู้อ่านผ่านงานวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ  ที่ตีพิมพ์ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ที่น่าสนใจเมื่อจบหลักสูตรเหล่าศิลปินแห่งชาติจะพิจารณาคัดเลือกผลงานเขียนดีเด่นของผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 4 ประเภท ไปจัดพิมพ์ในหนังสือลายลักษณ์วรรณศิลป์ 7  

ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความคึกคักแวดวงวรรณกรรม และร่วมสืบสานวรรณศิลป์ผ่านเมล็ดพันธ์ุที่บ่มเพาะจากการอบรมครั้งนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาลัย'คุณหญิงกุลทรัพย์' ศิลปินแห่งชาติผู้เทิดทูนสถาบัน

1 พ.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานว่า คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2555  ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 สิริอายุ 93 ปี มีกำหนดพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

ศิลปินแห่งชาติสุดทน! ใช้เมตตาธรรมกับเกรียนคีย์บอร์ดมานาน จากนี้เจอกันที่ศาล

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผมรอให้เหตุการณ์ซาลงค่อยเขียนจดหมายฉบับนี้ เ

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

สวธ.จัดมหกรรมลำกลอนกระหึ่ม‘มหาสงกรานต์ อีสานหนองคาย’ สืบสานประเพณี

17 เม.ย.2567 - หมอลำกลอนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของหนองคาย เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสานควบคู่กับประเพณีสงกรานต์ไทยในงานเฉลิมฉลอง “มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย สงกรานต์ผ้าขาวม้า สมมาหลวงพ่อพระใส 2567” ที่วัดโพธิ์ชัย วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตลอดการจัดงานระหว่างวันที่