สสส. สานพลังเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะแนวใหม่ บูรณาการการทำงานหนุนเสริมพลังสร้างการเรียนรู้-ส่วนร่วม-เปลี่ยนแปลง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จัดงาน เวที “สานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน” ปี 2566 วาระ : พลังชุมชนท้องถิ่น ตอบโจทย์ประเทศ โดยมี นพ.โกเมนทร์ ทิวทอง รองผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ดร.ภูนท สลัดทุกข์ เลขาธิการสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย เข้าร่วม ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชนกล่าวในการบรรยาย “ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะแนวใหม่” ว่า สสส. โดยแผนสุขภาวะชุมชน ปรับวิธีการทำงานแนวใหม่ โดยมองภาพงานแบบองค์รวมขยายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน เพื่อให้เกิดการขยายทรัพยากรในการทำงาน บูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง อาทิ สุรา ยาสูบ อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการส่งต่อกลไกทำงานร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย เกิดห่วงโซ่ผลลัพธ์ในการกำหนดมาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวกำหนดสุขภาพ ตัวกำหนดสุขภาพ สู่สุขภาวะที่ดี ทั้งด้านวิถีชีวิตและพฤติกรรมของแต่ละคน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ
“ตำบลสุขภาวะ ชุมชนสุขภาวะ ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ด้วย “ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น: S-2I (เอสทูไอ) S คือ จัดการพื้นที่ Systematization "คน- กลไก-ข้อมูล” I คือ การสร้างและพัฒนานวัตกรรมชุมชน และบูรณาการภายในชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานสนับสนุนภายนอก หนุนเสริม “ยุทธศาสตร์สาน 3 พลัง ของ สสส. คือ พลังปัญญา พลังสังคม พลังนโยบาย ด้วยกิจกรรมเชิงยุทธศาสตร์ 1. การจัดการพื้นที่ 2. การสร้างและพัฒนานวัตกรรมชุมชน 3. การบูรณาการภายในชุมชนท้องถิ่น และร่วมมือกับหน่วยงานสนับสนุนจากภายนอก ร่วมกับการสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ร่วม การสร้างสังคมสุขภาวะแนวใหม่ ต้องเปลี่ยนฐานคิด เปลี่ยนวิธีคิด ด้วย 3 สร้าง คือ สร้างการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น”ดร.ประกาศิต กล่าว

นพ.โกเมนทร์ ทิวทอง รองผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สธ. กล่าวว่า มิติใหม่ของการถ่ายโอน รพ.สต. ไปที่ อบจ. ในความดูแลของท้องถิ่น คือการมี Community care บริการที่ใกล้บ้าน ที่สามารถเข้าถึงได้ เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เกิดการดูแลกันในสังคม ให้ชุมชนมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้น โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ที่เริ่มจากผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน เดินหน้าการทำงานระบบสุขภาพที่ครอบคลุม ในระดับปฐมภูมิ สร้างความเท่าเทียมในการรักษาพยาบาล ยกระดับการดูแลรักษาด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการเข้าถึงการรักษา เมื่อมีการถ่ายโอนจะต้องมีการแบ่งหน้าที่ถึงบทบาทองค์กรท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมทำงานพัฒนาแผนสุขภาพอย่างเป็นระบบ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาวะชุมชนอย่างสูงสุด

นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินภารกิจด้านสาธารณสุขของ อปท. พัฒนาสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดี รวมถึงการจัดการบริการสาธารณสุขระดับท้องถิ่น รพ.สต. เป็นสถานพยาบาลในระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นด่านหน้า ของบริการสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น เช่นเดียวกับ อปท. ที่เป็นด่านหน้าของระบบสาธารณะที่ให้บริการประชาชนในพื้นที่เช่นกัน การถ่ายโอน รพ.สต. จึงเป็นสิ่งที่องค์การต่าง ๆ ทั้งด้านสุขภาพ สาธารณสุข อปท. จะต้องร่วมมือ สานพลัง ให้เกิดหน่วยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในท้องถิ่น ผลักดันให้เกิดนโยบายขับเคลื่อนงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ บูรณาการส่วนต่าง ๆ นำไปสู่นโยบายภาครัฐที่ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022