เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม  การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก  ...

การดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดของมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่19เม.ย.2567 นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) รวมทั้งคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ดันกระบวนการทำงานเพื่อแก้ปัญหาผู้ติดยาเสพติดของมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ซึ่งเป็นต้นแบบที่น่าสนใจ เพราะเป็นไปตามหลักการ “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย ชีวิตมีความหวังต้องรักษา”

สำหรับมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัยเปิดบริการเมื่อเดือนมกราคม2567  รับเฉพาะผู้ป่วยชาย จำนวน8เตียงให้การบำบัดระยะยาว (Long Term Care) ใช้ระยะเวลาประมาณ 90-120 วัน และติดตามต่อเนื่องเป็นระยะเวลา1ปีมีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรวม 11 ราย ผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้ว 5 ราย ทุกรายสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้300-500บาท/วัน โดยจากการติดตาม พบว่าผู้ป่วยไม่กลับไปเสพซ้ำ3ราย ส่วนอีก2รายที่กลับยุ่งเกี่ยวยาเสพติดได้ติดตามดูแลเรื่องการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดไปพร้อมกับการบำบัดรักษา เพื่อให้สามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างเด็ดขาด โดยผู้ป่วยสีแดงที่มีภาวะวิกฤติด้านจิตเวชและยาเสพติด มีหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปรวม2แห่งผู้ป่วยสีส้มที่พ้นภาวะวิกฤติแล้ว มีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลวังน้อย ให้การบำบัดระยะกลาง(Intermediate care) ผู้ป่วยสีเหลืองที่ไม่มีปัญหาซับซ้อน จะมีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ให้การบำบัดระยะยาว (Long Term Care) ส่วนผู้ป่วยสีเขียว ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติด จะบำบัดโดย “ชุมชนล้อมรักษ์" ที่เป็นกระบวนการบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) ซึ่งมีครบทุกอำเภอ รวม 43 แห่ง นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์คัดกรองผู้ติดยาเสพติ213แห่ง ครอบคลุมทุกตำบลตั้งแต่ปี2566-ปัจจุบัน คัดกรองผู้ป่วยทั้งหมด4,380 ราย พบเป็นกลุ่มสีแดง 120 ราย สีส้ม 1,314 ราย สีเหลือง 2,185 ราย และสีเขียว 761 ราย

การทำงานของชุมชนล้อมรักษ์ โดยเครือข่าย 5 เสือ คือ ทหาร ตำรวจ นายอำเภอ  นายก อบต. และสาธารณสุข ของพระนครศรีอยุธยา ปี 2566 มีผู้ป่วยสีเขียวสมัครใจบำบัดถึง 699รายซึ่งมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ล่าสุด กำลังจะขยายชุมชนล้อมรักษ์เพิ่มขึ้นอีก 23 แห่ง รวมเป็น 66 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้คืนคนสู่สังคมอย่างปลอดภัยได้มากขึ้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดก็ไม่เปลี่ยนแปลง ยังเดินหน้าให้ได้ตามป้าหมาย”

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวถึงการสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ขับเคลื่อนงานป้องกันระดับพื้นที่หมู่บ้านชุมชนว่า สสส. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เกิดพื้นที่ต้นแบบ 25 แห่ง ใน 48 จังหวัด ป้องกันเด็ก และเยาวชนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติด เกิดแกนนำเป็นกลไกขับเคลื่อนงานป้องกันในเครือข่าย 5 ภูมิภาค  2,683 คนรวม 1,527 หมู่บ้าน/ชุมชน สู่การพัฒนาองค์ความรู้การจัดการปัญหายาเสพติดขยายผลสู่พื้นที่ชุมชนอื่นทั่วประเทศ โดย สสส. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชม มินิธัญญารักษ์ รพ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในเครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” (CBTx) บำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด โดยชุมชนดำเนินการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ไม่ต้องเดินทางไกล ดูแลทางการแพทย์ จิตสังคม การศึกษา และฟื้นฟู ปัจจุบันมีเครือข่ายกว่า 146แห่งรองรับผู้ป่วยยาเสพติดได้1,957เตียง ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้กลับสู่สังคม ซึ่งการลดปัญหาสิ่งเสพติดทุกประเภทเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของสสส.ในการลดปัจจัยทำลายสุขภาพ สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับทุกคนในสังคม

นโยบายของรัฐบาลวางไว้อย่างชัดเจนที่จะสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างมีบูรณาการทุกภาคส่วนต่างๆนับตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด เชื่อมโยงการทำงานกับนายอำเภอ ผู้กำกับ สถานีตำรวจภูธร กำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นความสวยงามเพื่อเชื่อมโยงรอยต่อ ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านชุมชนส่งต่อการบำบัดรักษา ไม่ใช่การจับติดคุก ส่วนสำคัญให้คนบำบัดมากขึ้น ชุมชนมีความเชื่อมั่นมีส่วนร่วมที่ดีทำให้รพ.อุทัยเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะยาวและยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้เป็นการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ผู้ป่วยมีศักดิ์ศรีมีงานทำด้วยความภาคภูมิใจ รู้จักคุณค่าของตัวเอง

นพ.เศกสรรค์ ชวนะดีเลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุทัย  ตั้งข้อสังเกตว่าการสมัครใจเพื่อรักษาของผู้ติดยาเสพติดเป็นเรื่องสำคัญ บางคนไม่หายเพราะส่วนลึกแล้วไม่อยากรักษาส่งผลต่อปัจจัยไม่หาย สังคมจะต้องปฏิบัติดีต่อผู้ป่วย มินิธัญญารักษ์ใช้ยาบำบัด ครอบครัว สังคม ชุมชนมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษาผู้ป่วยเพื่อให้เขารู้สึกว่ามีความสุข มีคุณค่า โดยมีทีมบุคลากรทางด้านสาธารณสุขหมอ1พยาบาล1นักจิตวิทยา นักวิชาการด้านสาธารณสุข และคนในชุมชน3คน รวมทั้งทีม7คนทำหน้าที่พี่เลี้ยงหมุนเวียนจัดตารางเวลาตลอด24ชั่วโมง มีกิจกรรมให้ผู้ป่วย ไม่ใช้คำพูดตำหนิติเตือน แต่เป็นการพูดส่งเสริมให้กำลังใจโดยนักจิตวิทยาชุมชน การดีไซน์หลักสูตรนี้มาจากรพ.ธัญญารักษ์ซึ่งใช้เวลา90-120วัน

“ผู้ป่วยบางคนมีหน้าที่การงานมีอาชีพรับเหมาต้องตัดสินใจมารักษา เหมือนกับทหารเกณฑ์ที่จะต้องจูนความคิดบุคลากรในโรงพยาบาล คนไข้ไม่คิดหนี ถ้าอยากกลับให้บอกกับพี่เลี้ยง เราไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ ทุกสัปดาห์ให้ญาติเข้ามาเยี่ยมได้ เราต้องเปลี่ยนนิสัยจากการใช้ยาไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ เพราะยาส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะบางคนกินยาบ้า10เม็ด/วัน บางคนเสพยาบ้า2เม็ด/วัน  ดังนั้นเรื่องการเสพยาบ้า5เม็ด/วันจึงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่าการรักษาครั้งนี้ยังไม่มีผู้หญิงมิฉะนั้นเราต้องแยกทีมดูแล ถ้าจะจัดรักษารวมก็ไม่เหมาะสมแต่อย่างใด  ผู้ชายมีโอกาสติดยาเสพติดมากถึง80% ในขณะที่ผู้หญิงติดยาเสพติดเพียง20%หากวิเคราะห์แล้วผู้หญิงมีความอดทนต่อแรงกดดันได้มากกว่าผู้ชาย และไม่พึ่งพายาเสพติด”นพ.เศกสรรค์ชี้แจง

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาแบบค้างคืน90วันที่มินิธัญญรักษ์รพ.อุทัยสามารถออกไปซื้อของยังร้านค้า ทำบุญตักบาตร เรียนรู้ในการซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เมื่อออกไปใช้ชิวิตปกติสามารถยึดเป็นอาชีพได้อย่างดี จากการรักษาผู้ป่วยผ่านไปแล้ว2รุ่น ยังไม่พบปัญหาความเครียดเรื้อรังจนหมดพลังแต่อย่างใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุหรี่ไฟฟ้า..ฟิน จน ตาย "ความจริง" ที่ถูกบิดเบือน

ผลการสำรวจของการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทย (Global Youth Tobacco Survey: GYTS) ปี 2565 พบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นก้าวกระโดดจาก

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

สสส.สานพลัง สธ เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย สร้างพื่นที่ปลอดภัยปัญหายาเสพติด

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ติดตามการดำเนินงานและให้กำลังใจผู้ป่วยยาเสพติด ที่รับการบำบัดที่มินิธัญญารักษ์ รพ.อุทัย และชุมชนล้อมรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลลุมพลี อำเภอ