สานฝันคนรุ่นใหม่สร้างนวัตกรรม สื่อสารสุข ผลิตสื่อ “คิด-ออม-ยัง?”

สสส.สานพลังภาคีเครือข่ายสร้างปัญญา ดึงนักลงทุน-นักสร้างคอนเทนต์มืออาชีพ สานฝันคนรุ่นใหม่ สร้างนวัตกรรมสื่อสารสุข ผลิตสื่อส่งต่อความรู้ “คิด-ออม-ยัง ?” เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดปี 2574 เปลี่ยน mindset มีวินัยออมเงินตั้งแต่ก่อนอายุ 40 ปี เปิดตัว ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ  “ปัญหาการเงิน ไม่ได้แก้ด้วยการยืมเงิน” เลือกการทำ OT และขายน้ำแพ็กส่งถึงบ้าน ครูสอนคอมพ์ได้รางวัล Popular Vote “เบื่อกับชีวิต...คิด” สร้างเด็กมีวินัยในการออมวันละ 20 บาท ครบเทอมซื้อของที่ต้องการ นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สสส. และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดเผยที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2566 ว่า สสส.ขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งเน้นพัฒนาสื่อองค์ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพประชาชนให้มีทักษะถ่ายทอดความรู้ มีประสบการณ์ร่วมปฏิบัติจริง ขยายแนวคิดการสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม

ในปี 2574 ไทยจะมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงสุดยอดถึง 28% เพื่อเตรียมความพร้อมสังคมสูงอายุตั้งแต่อายุ 30 ปี หรือตั้งแต่เริ่มต้นทำงานทั้งด้านสุขภาพ การเงิน สิ่งแวดล้อมโดยรวม “เราให้ความสำคัญกับการออม” สสส.จึงสานพลังเครือข่ายสร้างปัญญา จัดการประกวดผลิตนวัตกรรมสื่อสารผ่านคลิปวิดีโอภายใต้โครงการ “คิด-ออม-ยัง?” เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และคนวัยทำงานที่เริ่มมีรายได้ให้วางแผนการออมเพื่ออนาคต เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาวะไปจนถึงวัยสูงอายุ

“สสส.เชื่อมั่นในพลังคนรุ่นใหม่ในการสื่อสารถึงคนวัยเดียวกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยน mindset ต้องทำอย่างต่อเนื่อง การประกวดครั้งนี้เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วม มีการจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการเงิน การลงทุน นักสร้างคอนเทนต์มืออาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ การคัดเลือกผลงานมีผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลาย ทั้งภาควิชาการและภาคเอกชนร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน มีผลงานที่ได้รับการคัดเลือก 16 คลิป จาก 100 ทีม"

ผลการประกวดปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่อง “ปัญหาการเงิน ไม่ได้แก้ด้วยการยืมเงิน” จาก น.ส.วิลาสินี ไทยภักดี รองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง “ก้าวไปให้ไกล ควรก้าวเร็วหรือก้าวแรง ?” จาก น.ส.ภาวิดา ผุสดีโสภณ รองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง “คุณจะเลือกอะไร” จากทีม SPA (น.ส.เอมิกา ไกรเกรียงศรี และนายนันทวัฒน์ วิวัฒน์พิศิฏฐ์  นิสิตปี 2 ศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต (BAScii) สาขานวัตกรรมบูรณาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ส่วนคลิปที่ชื่นชอบหรือรางวัล Popular Vote ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันโหวตนั้น เรื่อง “เบื่อกับชีวิต คิด...” จาก น.ส.พิไลวรรณ เที่ยงธรรม ครูสาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยอาชีวศึกษา นครปฐม คว้ารางวัลไปครอง ทั้งนี้จะนำผลงานออกเผยแพร่ผ่านช่องทางยูทูบ “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” ให้เป็นแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์สื่อที่มีคุณภาพ ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่สังคมต่อไป” นางเบญจมาภรณ์ชี้แจง

ในโอกาสนี้ นางเบญจมาภรณ์ยังเปิดเผยว่า ประเทศไทยได้รับการคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลก ที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งด้านแรงงานตลอดจนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อีกทั้งไทยจะมีแนวโน้มมีผู้ป่วยติดเตียงสูงวัยมากขึ้น ในปี 2570 จะมีผู้ป่วยติดเตียงมากถึง 2 แสนคน ผู้ป่วยติดบ้านอีกกว่า 3 แสนคน ผู้สูงอายุเสียชีวิต ไร้บ้าน ถูกทอดทิ้งจะมากขึ้นและเป็นปัญหาใกล้ตัว ต้องส่งเสริมและเร่งแก้ไขให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในเมืองและชนบท

ขณะเดียวกัน สสส.ยังมีภารกิจรับมือสังคมสูงวัย ด้วยธนาคารเวลา เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือเกื้อกูลในชุมชน เพื่อดูแลรองรับคนไทยในสังคมสูงวัย ส่งเสริมให้ชุมชนช่วยดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุได้รับเวลาเป็นสิ่งตอบแทน ขับรถพาไปโรงพยาบาล ช่วยซื้อของ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ตัดหญ้า ทำความสะอาดบ้าน ดูแลสัตว์เลี้ยง ตัดผม ฯลฯ ผลตอบแทนที่ได้รับคือเวลาเก็บสะสมและบันทึกลงในสมุดบัญชีธนาคารเวลา เบิกถอนมาใช้เมื่อจำเป็นต้องการความช่วยเหลือต่างๆ จากสมาชิกในอนาคต โครงการเกษียณคลาส หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุ เปลี่ยนชีวิตให้แฮปปี้ เน้นสนุก เข้าใจง่าย ใช้ได้จริงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุยุคดิจิทัล เพิ่มศักยภาพด้านโซเชียลมีเดีย สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส.ได้จัดทำแคมเปญสูงวัยให้พร้อม ต้องเตรียมก่อน 40 เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องเตรียมความพร้อมต้องเริ่มก่อน 40 ในช่วงประชากรยังมีสุขภาพที่แข็งแรง เพื่อให้ช่วงสูงวัยมีคุณภาพเพื่อตนเองและเพื่อคนในครอบครัว โดยเตรียมพร้อม 3 ด้าน เตรียมร่างกาย เตรียมออม เตรียมบ้าน แคมเปญนี้จะเริ่มออกอากาศในเดือน ก.พ.2567

นายญาณวุฒิ จรรยหาญ นักสร้างคอนเทนต์มืออาชีพ เจ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจ "พี่เอ็ด7วิ" ให้ข้อคิดว่า โครงการ “คิด-ออม-ยัง?” สสส.ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ผ่านวิธีการที่เหมาะสม เพราะปัจจุบันสามารถเลือกชมสื่อได้หลากหลายช่องทาง สิ่งสำคัญที่สุดคือ วิธีการเล่าเรื่อง (Storytelling) เทคนิคที่จะทำให้คนสนใจ เริ่มจาก 3 ประเด็น คือ 1.เรื่อง หัวข้อ และการนำเสนอ ให้เริ่มต้นคิดว่าจะชวนคุยเรื่องราวต่างๆ จากจุดเล็กๆ ที่น่าสนใจ เช่น มุมมองการออมของคน 10 คน แล้วค่อยๆ เล่าในมุมมองที่กว้างขึ้น ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายออกไป เล่าเรื่องราวของบุคคลที่มีชื่อเสียงเรื่องการเงิน ดอกเบี้ย ผลตอบแทน สุดท้ายสรุปให้เข้าใจว่าการออมสำคัญอย่างไร จะทำให้มีกลุ่มคนดูเพิ่มมากขึ้น 2.พัฒนารูปแบบการนำเสนอจับกระแสสังคม สังเกตว่าผู้ชมชื่นชอบแบบไหน พร้อมเลือกใช้เพลงเป็นสื่อ เพราะเพลงเป็นสื่อที่ทุกคนชื่นชอบ 3.การสื่อสารที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนช่อง รูปแบบและวิธีการนำเสนอต้องกระชับ ตอบโจทย์ มีประโยชน์ต่อผู้คน.

*****

น.ส.วิลาสินี ไทยภักดี

เจ้าของรางวัลชนะเลิศ

ปัจจุบันเป็นพนักงานฝ่ายบุคคลของบริษัทเอกชนย่านสมุทรปราการ (บ.โกลบอลพลาสท์) ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวด ฝา มีพนักงาน 200 คน เคยเข้าร่วมโครงการสุขภาพสร้างสุขของ สสส. เนื่องจากภายในบริษัทสนใจทำโครงการเรื่องการออมเงิน ได้เข้าร่วมอบรมกับผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มีความรู้เรื่องการเงิน การออม นำไปสู่การจัดกิจกรรมกับพนักงานในบริษัท รวมถึงผลิตนวัตกรรมสื่อสารผ่านคลิปวิดีโอเรื่อง “ปัญหาการเงิน ไม่ได้แก้ด้วยการยืมเงิน” ส่งเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ โดยเลือกเพื่อนพนักงานเป็นนักแสดง ตนเองเขียนบทและกำกับการแสดง เพราะอยากใช้สื่อเผยแพร่ในวงกว้าง ลดปัญหาการยืมเงิน กระตุ้นตัวเองไปหารายได้เสริม ช่วยลดปัญหาของพนักงานภายในบริษัทในระยะยาว

“การออมเงินเป็นเรื่องของทุกคนที่ไม่มีการสอนในโรงเรียน ต้องเรียนรู้ ครอบครัวมีฐานะสอนให้ลูกรวย ครอบครัวจนก็สอนให้ลูกจนตามพ่อแม่ ถ้าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเงินก็ไม่พอ คนส่วนใหญ่มักคิดว่าไม่มีเงินก็ไปยืมเงิน ไม่คิดที่จะหาเงินเพิ่ม เพราะกลัวว่าตัวเองจะลำบาก จีจี้เลือกการทำโอที และขายของในร้านค้าของบริษัท ขับรถไปส่งน้ำเปล่าเป็นแพ็กตามบ้านในหมู่บ้านที่อยู่ภายในโรงงาน”

น.ส.พิไลวรรณ เที่ยงธรรม เจ้าของรางวัล Popular Vote

ประสบการณ์ที่เคยนำนักเรียนผลิตบอร์ดเกมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมประกวดรางวัล PM's Award ของ สสส.ได้รับรางวัลชมเชย ที่ศูนย์การค้าสามย่าน มิตรทาวน์ “ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ครูยังไม่หยุด Active ครูก็ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา นับตั้งแต่การเลือกใช้ชีวิต การคิด โดยเฉพาะนั่งคิด นอนคิด ยืนคิดที่จะออมเงินเป็นเรื่องยาก การที่เราซื้อของเป็นเรื่องง่ายกว่า ครูแสดงเอง เขียนบทเอง กำกับการแสดงเอง เพื่อให้นักเรียนรู้จักการออม เก็บเงินวันละ 20 บาท ครูก็ออมไปพร้อมๆ กับนักเรียนด้วย เมื่อเราอยากได้อะไรก็ซื้อได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปหยิบยืมจากใครมาซื้อของ นักเรียนของครูยากจนเป็นส่วนใหญ่ ครูจะเลี้ยงข้าวนักเรียนคนเดียวก็จะถูกกล่าวหาว่าลำเอียง ครั้นครูจะเลี้ยงนักเรียนทั้งหมดครูก็ไม่ไหวเหมือนกัน จึงต้องสอนให้นักเรียนรู้จักมีวินัยในการออม และได้ผลมากที่ไม่ต้องพึ่งพิงใคร ครบเทอมก็ซื้อสิ่งของที่ตัวเองอยากได้”. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ

“จิตวิญญาณอาหารกับเยาวชน” การเรียนรู้ที่มากกว่ากินอิ่มอร่อย

การเรียนรู้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำ ให้สังคมและชุมชนอยู่รอด ยิ่งหากมีการเรียนรู้ร่วมกัน ยิ่งทำให้สังคมหรือชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

อุดช่องว่างดิจิทัล ช่วยพลิกชีวิตคนพิการ

แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาก้าวไกลไปถึงยุค 5G แต่ทุกวันนี้กลุ่มผู้พิการมีข้อจำกัดในการใช้งานออนไลน์ สำหรับผู้พิการทางสายตาเข้าไม่ถึงข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ส่วนใหญ่ไม่รองรับการใช้งานของคนตาบอด จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขไทยมีผู้พิการทางสายตา 2 ล้านคน  พบว่า

อึ้ง เด็กประถม ขายบุหรี่ไฟฟ้า เลี้ยงปากท้อง ซ้ำ ฝุ่น PM2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง ทำป่วยมะเร็งปอดติด 1 ใน 5 โรคมะเร็งคร่าชีวิต

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สสส. หนุนรัฐสภา ใช้แนวคิด Happy Workplace พัฒนาโมเดลรัฐสภาองค์กรแห่งความสุข สร้างบุคคลสร้างสุขรัฐสภาต้นแบบ

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2567 ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรม