สสส. สานพลัง อก. ลุยสร้างสุขภาพชาว SMEs ใน 34 จังหวัด ชู นวัตกรรมแนวคิด Happy Workplace

เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างมาตรฐานในการทำงาน ดังนั้น การทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี และมีความสุขในการทำงาน จึงมีความสำคัญ ปัจจุบัน SMEs กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน  และมีอัตราการลาออกสูง การสร้างสุขภาวะองค์กรช่วยให้มีอัตราการลาออกของพนักงานลดลง เป็นการรักษาพนักงานที่มีทักษะในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพัฒนาปรับปรุงงานและนวัตกรรมต่างๆ ภายในองค์กรมากขึ้น

“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) โดยเฉพาะการพัฒนามาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (มอส.) ซึ่งจะขยายผลส่งเสริมให้ SMEs ทั่วไทย มีแนวทางการดูแลคุณภาพชีวิตบุคลากรในองค์กรที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน การดำเนินงานที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ วิสาหกิจเพื่อเป็นองค์กรต้นแบบด้านการสร้างสุขภาวะองค์กรและพัฒนาผลิตภาพ และส่งเสริมให้ SMEs นำหลักการสร้างสุขภาวะองค์กรไปประยุกต์ใช้ มีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกวิสาหกิจต้นแบบจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้ 4 เกณฑ์การคัดเลือก 1. กระบวนการทำงาน 2. คะแนนสุขภาวะองค์กร Happy Workplace วัดจากเครื่องมือ HAPPINOMETER 3. ศักยภาพในการพัฒนาผลิตภาพ 4. การนำเสนอ จำนวน 57 แห่ง แบ่งเป็นระดับเพชร 3 รางวัล แพลทินัม 12 รางวัล ทอง 20 รางวัล ดีเด่น 2 รางวัล และรางวัลวิสาหกิจต้นแบบ สุขสร้างสรรค์ 20 รางวัล” นายใบน้อย กล่าว

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งให้คนทำงานมีความสุขทั้ง 8 มิติ (Happy 8) ภายใต้นวัตกรรมแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) โดยเฉพาะกลุ่มสถานประกอบการ SMEs ที่มีจำนวนมากทั่วไทย สสส. สานพลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคีเครือข่าย ริเริ่มโครงการ SHAP ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งในระยะที่ 3 นี้ มีสถานประกอบการเข้าร่วม 80 แห่งใน 34 จังหวัด ยกระดับเป็นสถานประกอบการวิสาหกิจต้นแบบ 57 แห่ง มีพนักงานรวม 18,689 คน พัฒนาเป็นเจ้าหน้าที่ SHAP Agents แกนนำสร้างสุขภาวะองค์กร 130 คน

SHAP Agents คือ พลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพในองค์กร ร่วมพัฒนากิจกรรมที่ตอบโจทย์คนทำงาน เช่น กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน 8.25 ล้านบาท เลิกเหล้าได้ 154 คน ลด ละ เลิกบุหรี่ 107 คน ออมเงินได้ 37.7 ล้านบาท ที่สำคัญยังพัฒนาศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ Wellness Center อีก 13 แห่ง เป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษา ส่งผลให้อัตราการลาป่วยลดลง 25.4% ลดค่าใช้จ่ายในการเบิกยา/ค่ารักษาพยาบาล 2.56 ล้านบาท พบค่าความสุขวัดจาก HAPPINOMETER ใน 8 มิติ ก่อนดำเนินงานอยู่ที่ 60.11% เพิ่มขึ้นเป็น 66.42% สำหรับระยะที่ 4 มุ่งพัฒนาศูนย์ Happy Workplace Center ให้บริการด้านวิชาการ แนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุข 5 แห่ง ภายในปี 2569 ผลักดันให้งานส่งเสริมคุณภาพชีวิตวัยทำงานในสถานประกอบการเป็นกลไกปกติที่อยู่คู่กับการสร้างสุขภาวะองค์กรในระยะยาว” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นวัตกรรม สสส. “Home Coming” นิทรรศการทางเลือก พาใจกลับบ้าน สุดเจ๋ง!! คว้ารางวัลแอดแมน อวอร์ส 2023

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า นิทรรศการสร้างประสบการณ์ Home coming

เริ่มแล้ว!! ประชุมระดับชาติ PM2.5 ครั้งแรกของประเทศ “สสส.–สกสว.–ศวอ.–มช.–สภาลมหายใจเชียงใหม่” สานพลัง 60 ภาคี เปิดเวทีถกประเด็น “อากาศสะอาด”

ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ

อึ้ง!! ผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่เกือบครึ่ง เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี วันเอดส์โลก ‘66 สสส.-สถาบันยุวทัศน์ฯ สานพลังภาคี ขับเคลื่อนนโยบาย 'พก ซื้อ ใช้' ลดอุปสรรคการเข้าถึงถุงยางอนามัยของเยาวชน ชงข้อเสนอรัฐบาล 'ลดราคาถุงยาง เพิ่มการเข้าถึง'

ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ สายด่วน 1663 เครือข่ายประชาชนขจัดการเลือกปฏิบัติ (MovED) และเครือข่ายสถานศึกษาในกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมขับเคลื่อนนโยบายวิถีชีวิตปกติกับถุงยางอนามัย “พก ซื้อ ใช้”

ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ยกวาระสุขภาพสู่ระดับโลก

มิติสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงก้าวตามโลกสังคมเทคโนโลยี ทั้งนี้ เห็นได้จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะโรคโควิด-19 และยังต้องโฟกัสกับสภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นโลกเดือด

ก้าวต่อไปของ ‘คนไร้บ้าน’ พม. - สสส. - จุฬาฯ แถลงผลแจงนับคนไร้บ้านปี 66 เกินครึ่งวัยกลางคน เป็นผู้สูงอายุ 22%

เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2566 ณ อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์