อว. ชวนเที่ยวงานมหกรรมวิทย์ฯ ใจกลางเมือง ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

อว. ชวนเที่ยวงานมหกรรมวิทย์ฯ ใจกลางเมือง ที่หอศิลปกรุงเทพฯนำวิทยาศาสตร์มาผสานศิลปะเชื่อมคนเมือง กับ 5 โซนกิจกรรมเด็ด! ชู “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ช่วยพัฒนาคนและพลิกโฉมไทยให้เจริญรุดหน้าอย่างยั่งยืน

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ใจกลางเมือง (National Science and Technology Fair 2023 Downtown) จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี และเป็นส่วนหนึ่งในงานเทศกาล “บางกอกวิทยา” ซึ่งในปีนี้ได้นำวิทยาศาสตร์มาผสมผสานให้เข้ากับศิลปะที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ได้รวมรวบทั้งงานนิทรรศการ การแสดงนวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์  พร้อมงานเสวนา Sci-Talk จากบุคคลหลากหลายวงการ ที่จัดขึ้นในย่านใจกลางเมืองเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ทั้งวัยรุ่นและคนในชุมชนเมือง ภายใต้แนวคิด “For Bright and Creative Generations” ตื่นตาตื่นใจกับ 5 โซนกิจกรรมเด็ดในงาน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่าง 17-20 สิงหาคม 2566 นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น.

เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่หอศิลปกรุงเทพฯ / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาประเทศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มาใช้บูรณาการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจและอุตสาหกรรม กระทรวง อว. มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ทั้งงานวิจัยพื้นฐานไปจนถึงระดับชาติ รวมทั้งการพัฒนากำลังคนและนักวิจัยรุ่นใหม่ พร้อมมุ่งเน้นที่จะขับเคลื่อนสังคมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านการจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์มาเพิ่มมูลค่าผลผลิตและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสร้างเวทีสำหรับเยาวชน นักศึกษา ให้มีพื้นที่และส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิด สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ ผลักดันการเป็นนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่ของประเทศในอนาคต และให้ประชาชนทั่วไปได้นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคมนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน

โดยงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ประจำปี 2566 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “For Bright and Creative Generations” ซึ่งจัดขึ้น 2 แห่ง ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถือเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีในช่วงเดือนสิงหาคม สำหรับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ใจกลางเมือง ปีนี้เราได้เชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และเมืองเข้ามาไว้ด้วยกัน ถือเป็นเทศกาลกิจกรรมความสนุกทางด้านวิทยาศาสตร์ที่หลอมรวมศิลปะเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มคนเมืองให้มีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิด และการสร้างสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ เข้าใจง่าย และใกล้ตัว ซึ่งงานนี้จะทำให้ทุกช่วงวัย ได้ค้นหาคำตอบ พร้อมหาความรู้ ที่สนุก และสามารถดึงไอเดียใหม่ ๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันต่อไป” ผศ.ดร.รวิน กล่าว

กิจกรรมภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ใจกลางเมือง แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนที่1 เวทีเสวนาที่จะพบกับกูรูด้านเทคโนโลยีชื่อดังของเมืองไทยมาให้ความรู้ ในหัวข้อท็อปฮิต อย่าง เรียนรู้ AI Generated ปัญญาประดิษฐ์ ความสร้างสรรค์ หัวใจโลกแห่งอนาคต, รู้จัก ChatGPT สนทนาเปลี่ยนโลก, Midjourney AI วาดรูป สร้างสรรค์ได้ตามใจเรา โซนที่ 2 ฮือฮาไปกับงานแสดงผลงานด้านนวัตกรรม จะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์กับศิลปะ เช่น นวัตกรรมแชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) & AI-Care ผู้ช่วยด้านสุขภาพจิตเสมือน, Ajarn Robot1 หุ่นยนต์ช่วยสอนภาษาอังกฤษ, หุ่นยนต์ดินสอ มินิ (Dinsaw Mini) หุ่นยนต์อัจฉริยะดูแลผู้สูงวัย ฯลฯ โซน 3. เป็นนิทรรศการภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ โซนที่ 4. เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเหล่าไอดอลด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ เกียรติอนันต์ เอี่ยมจันทร์ ในหัวข้อ “NFT กับการบาลานซ์ ระหว่างการสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่า” พชร ธารากิจ ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์กับการพัฒนาเกม”, ตีตี้ ศิรวิทย์ คุววัฒนานนท์ ในหัวข้อ “ติวเตอร์ฟิสิกส์ถ่ายภาพอย่างไร” เป็นต้น และสุดท้ายกับโซนที่ 5 วัยรุ่นต้องมาเช็คอิน เพราะมีทั้งเวิร์กช้อปวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ ร่วมช็อปชิมอาหารเก๋ ๆ รสชาติอร่อยจาก Food Truck ชื่อดัง พร้อมดื่มด่ำกับเสียงเพลงจากวงดนตรีแนวอินดี้มากมายบริเวณลานหน้าหอศิลปกรุงเทพฯ

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ใจกลางเมือง ถือเป็นงานที่จัดต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกับ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยปีนี้เลือกจัดขึ้น ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่าง 17-20 สิงหาคม 2566 นี้ เวลา 10.00-20.00 น. เข้าชมฟรี! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Website: thailandnstfair.com / Fb: มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

NSM ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ

เมื่อ 25 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ โดยมี นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่

“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

NSM จัดแข่ง SiT Talks 2024 เฟ้นหาเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ มาเล่าวิทย์ให้ว้าวใน 3 นาที

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแสดงความยินดี พร้อมเป็นประธานมอบรางวัลการแข่งขัน “SiT Talks: Science inspired by Teen 2024” รอบชิงชนะเลิศ

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน