รมว. พิพัฒน์ ประชุมคบต. เห็นชอบขยายเวลาให้แรงงานข้ามชาติที่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้ว

รมว. พิพัฒน์ ประชุมคบต. เห็นชอบขยายเวลาให้แรงงานข้ามชาติที่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้ว อยู่ต่อและทำงานได้ถึง 13 ก.พ. 68 และขยายเวลาให้แรงงาน MOU ครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 4/2566 โดยมีนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
นายพิพัฒน์ เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีดำริให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างมีประสิทธิภาพคำนึงประโยชน์ของนายจ้าง สถานประกอบการ ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก รวมทั้งคำนึงถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม ที่ประชุม คบต. ในวันนี้จึงได้เห็นชอบ 2 ข้อพิจารณา ดังนี้

1. ผ่อนผันให้คนต่างด้าว ตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ที่ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการฯ ต่อกรมการจัดหางานแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

2.ผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงาน ตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 ธันวาคม 2566) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567

“ผมได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์ความคืบหน้า และแนวทางการปฏิบัติตามมติครม.ในคราวต่างๆ ให้นายจ้าง สถานประกอบการ และแรงงานข้ามชาติทราบอย่างทั่วถึง เพื่อสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และหลังจากนี้ขอความร่วมมือหน่วยงานด้านความมั่นคง ดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีนายจ้างที่ใช้แรงงานผิดกฎหมายและลูกจ้างที่ลักลอบทำงานอย่างเคร่งครัด พร้อมกับขอให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งมาที่กระทรวงแรงงานหากพบการใช้แรงงานผิดกฎหมาย” รมว.แรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานได้เตรียมแนวทางการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1.กลุ่มมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นายจ้างจะต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม ภายในระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่ผ่อนผัน และให้ดำเนินการจัดทำหนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง/CIหรือTDและตรวจลงตรา (Visa) ให้แล้วเสร็จ ภายใน 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยให้ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานข้ามชาติกลุ่มดังกล่าว ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ และได้แจ้งรายชื่อไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของบิดาหรือมารดา
2.แรงงาน MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว พร้อมรูปถ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นนำแรงงานเข้ามาทำงานตาม MOU โดยให้เริ่มดำเนินการตามวัน เวลา ที่กรมการจัดหางานกำหนด ในระหว่างการผ่อนผันให้นายจ้างขออนุญาตนำแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันเข้ามาทำงานตาม MOU และให้แรงงานเดินทางกลับประเทศต้นทางและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยในโอกาสแรกโดยไม่ต้องมีระยะเวลาพัก 30 วัน
ทั้งนี้ ขอให้นายจ้าง สถานประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติติดตามข่าวสารจากกรมการจัดหางานอย่างใกล้ชิด กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบจะเร่งยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงแรงงานและประกาศที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จเพื่อเป็นแนวทางให้นายจ้าง สถานประกอบการดำเนินการตามกฎหมาย แรงงานข้ามชาติได้รับความคุ้มครองตามสิทธิที่พึงมี ไม่เลือกปฏิบัติสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘พิพัฒน์’ นำทีมแรงงาน มอบเครื่องอุปโภคบริโภค 7 คันรถ ช่วยน้ำท่วม 8 จังหวัดภาคใต้

วันที่ 4 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประกันตน ลูกจ้าง นายจ้าง แรงงานนอกระบบ

‘พิพัฒน์’ ระดมแจกถุงยังชีพช่วยน้ำท่วมใต้ พร้อมแก้ปัญหาเดือดร้อนด้านอาชีพ ลดเงินสมทบประกันตน 6 เดือน ขี้นทะเบียนว่างงาน เร่งซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไซด์หลังน้ำลด

วันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรี นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรี นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์

"พิพัฒน์" ลงใต้ ปักหลัก 3 - 5 ธันวา ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมแรงงานเต็มที่

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ว่า ได้สั่งการเร่งด่วนให้ 5 เสือแรงงานจัดส่งถุงยังชีพไปแล้วกว่า 3,000 ชุด

“พิพัฒน์” เน้นย้ำความปลอดภัยในสถานประกอบการ จัดประชุมวิชาการ เสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ภาคเหนือ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน