กรมชลฯ เปิดเวทีระดมความเห็นแผนพัฒนาแหล่งน้ำลำน้ำห้วยน้ำโสม เพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน-บรรเทาปัญหาอุทกภัย ประชาชนได้ประโยชน์กว่า 45,000 ไร่

กรมชลประทานลงพื้นที่ติดตาม “โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำลำน้ำห้วยน้ำโสม จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย” ระดมความเห็นเสนอแนวคิดสู่แผนพัฒนาโครงการแก้ปัญหาอุทกภัย-ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร อุปโภค-บริโภค ผลักดันโครงการประตูระบายน้ำน้ำโสม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน 1 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 4 พันไร่ เพิ่มรายได้สร้างความมั่นคงให้เกษตรกร

วันที่ 5 ตุลาคม 2566 นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ พร้อมคณะผู้บริหาร กรมชลประทาน นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ จ.หนองคาย ร่วมประชุมปัจฉิมนิเทศในขั้นการจัดทำแผนหลัก “โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำลำน้ำห้วยน้ำโสม จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย” เพื่อนำเสนอความคืบหน้าการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวจากการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ เนื่องจากการพัฒนาโครงการมีความเกี่ยวโยงกับลุ่มน้ำข้างเคียง และลุ่มน้ำสายหลัก โดยได้เปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมให้ผลการศึกษาแผนหลัก (Master Plan) นำไปสู่การบริหารจัดการน้ำ และแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับลงพื้นที่ เพื่อสำรวจพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งหัวงานโครงการ บริเวณวัดแก่งศิลา ต.แก้งไก่ อ.สังคม จ.หนองคาย โดยมีเป้าหมายในการสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร รวมถึงระบบการกระจายน้ำในพื้นที่โครงการให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค

“สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เสนอแผนงานโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และ อุดรธานี) ต่อคณะรัฐมนตรีสัญจร ครั้งที่ 7/2561 ที่ จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 12 โครงการ โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำห้วยน้ำโสม จ.อุดรธานี จ.หนองคาย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษโครงการและได้รับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณในปี 2564 ซึ่งที่ผ่านมากรมชลประทานได้มีการวางแผนแก้ไขบรรเทาปัญหาอย่างเป็นระบบ และที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำดังกล่าวเพื่อจัดทำแผนหลักการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยน้ำโสม” นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กล่าว

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กล่าวว่า ลุ่มน้ำห้วยน้ำโสม มีพื้นที่ประมาณ 1,060.29 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่ จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย โดยต้นน้ำห้วยน้ำโสมอยู่บริเวณ ต.น้ำโสม อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่บริเวณ ต.แก้งไก่ และ ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย ความยาวประมาณ 116 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำโสมมีปริมาณฝนตกสะสมเฉลี่ยประมาณ 1,486.6 มิลลิเมตรต่อปี เกิดเป็นน้ำท่าในลุ่มน้ำประมาณ 353.44 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ด้วยข้อจำกัดของปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ได้ในปัจจุบันยังคงไม่เพียงพอ เมื่อแม่น้ำโขงลดระดับลงและน้ำที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่จะระบายลงแม่น้ำโขงผ่านลำน้ำโสม ทำให้ในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำต้นทุนไม่มีเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ

โดยมีการจัดลำดับความสำคัญโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและโครงการบรรเทาอุทกภัย เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำโสม จากการรวบรวมแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และประชุมร่วมกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โครงการ โดยแผนหลักเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำห้วยน้ำโสม ประกอบด้วย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเสนอเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ (ภัยแล้ง) และอุทกภัย จำนวน 7 โครงการ และโครงการซึ่งสามารถดำเนินการโดยหน่วยงานระดับท้องถิ่น จำนวน 39 โครงการ รวมเป็นทั้งสิ้น 46 โครงการ ซึ่งสามารถส่งน้ำให้พื้นที่รับประโยชน์มากกว่า 45,000 ไร่ และจากการเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่โครงการไม่เห็นด้วยกับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำโสม อ.น้ำโสม จ. อุดรธานี กรมชลประทานและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้พิจารณาโครงการที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการของประชาชนในพื้นที่มากกว่า คือ ประตูระบายน้ำน้ำโสม อ.สังคม จ.หนองคาย ในการศึกษาความเหมาะสมโครงการ

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กล่าวว่า โครงการประตูระบายน้ำน้ำโสม ครอบคลุม บ้านแก้งไก่ บ้านสังกะลี ของ ต.แก้งไก่ และบ้านลำภูพาน ของ ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย มีพื้นที่หัวงานอยู่หมู่ที่ 3 บ้านแก้งไก่ ต.แก้งไก่ ดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำ และระบบส่งน้ำให้แก่ พื้นที่รับประโยชน์ โดยบานระบายมีขนาด 12.50x7.2 เมตร จำนวน 3 บาน มีความจุ 1.00 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำเก็บกัก +168.00 เมตร (รทก.) นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อการระบายน้ำหลากสู่น้ำโขงและสูบน้ำกลับจากโขงด้วยเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า จำนวน 3 เครื่อง มีอัตราการสูบน้ำสูงสุดต่อเครื่อง 3 ลบ.ม./วินาที ผ่านระบบส่งน้ำด้วยท่อสายหลัก ครอบคลุมพื้นที่ 437 ไร่ และท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย คลอบคลุมพื้นที่ 3,535 ไร่ ซึ่งจะมูลค่าการก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 643.147 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาโครงการประตูระบายน้ำน้ำโสม อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะมีพื้นที่รับประโยชน์จำนวน 4,885 ไร่ ในพื้นที่ 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 3 บ้านแก้งไก่ หมู่ที่ 5 บ้านสังกะลี ต.แก้งไก่ และหมู่ที่ 3 บ้านลำภูพาน ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย ประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการมีแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการเกษตรกรรม และการอุปโภค-บริโภคในช่วงฤดูแล้ง ลดอุทกภัยน้ำท่วมในช่วยฤดูฝน และยังเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และส่งเสริมการปลูกพืชที่มีรายได้สูง ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แบงค็อก ชน อุดร, ดีพีกาญฯ ดวล สมุทรสาคร รอบรองฯ'ช้าง เอฟเอ คัพ'

น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง ร่วมกับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ระเบิดศึกฟุตบอลถ้วยประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีที่ว่างสำหรับผู้แพ้ รายการ ช้าง เอฟเอ คัพ 2023/24 ซึ่งได้มีพิธีจับสลากประกบคู่การแข่งขันฟุตบอลช้าง เอฟเอ คัพ 2023/24 รอบรองชนะเลิศ ในวันที่ 11 เมษายน 2567 ณ ห้องเมต้า 1 สโมสรราชพฤกษ์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน อุปนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ , คุณทรงวิทย์ ศรีธรรม ผู้บริหารสูงสุดผลิตภัณฑ์น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง, คุณนิตรา ปิยะชัยสวัสดิ์ Sponsorship Manager บริษัท วอริกซ์สปอร์ต จำกัด (มหาชน) และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีจับสลากในครั้งนี้

ดีดปาก 'พิธา' มั่วข้อมูลหนองวัวซอโมเดล รัฐบาลทำดีชมบ้างก็ได้

"สุทิน"ติง"พิธา"ลงพื้นที่หนองวัวซอโมเดล ให้ข้อมูลชาวบ้านคาดเคลื่อน สร้างค่านิยมที่ผิด พร้อมแจงยิบปัญหา เผยรัฐบาลทำดีชมบ้างก็ได้

โถ! อ้างเลื่อนแจกเงินดิจิทัล เหตุมีคนดักตีหัวรัฐบาล

'จุลพันธ์' แจงชาวอุดรฯ ยังเดินหน้าแจกเงินดิจิทัล ขออดทนรอ อ้อนให้เห็นใจต้องเลื่อน อ้างโดนสกัด เปรียบรัฐบาลเปิดประตูบ้านแล้วมีคนดักตีหัว