IRPC จับมือ กฟผ. ร่วมผลักดันงานวิจัยสารสกัด Humic, Fulvic Acid จากเหมืองแม่เมาะ สู่สารสกัดที่มีคุณประโยชน์ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา และความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี คุณวนิดา อุทัยสมนภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ พาณิชยกิจและการตลาด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC และ ดร.นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นผู้ร่วมลงนามในครั้งนี้ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา และต่อยอดนวัตกรรมสารสกัด Humic, Fulvic acid จาก Leonardite เพื่อนำไปใช้ในด้านการเกษตร เครื่องสำอาง และการแพทย์ เป็นต้น รวมถึงศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจของนวัตกรรมจนนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง

คุณวนิดา อุทัยสมนภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ พาณิชยกิจและการตลาด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า IRPC ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม นำองค์ความรู้ ความเข้าใจทั้งภายในและภายนอกองค์กร มาบูรณาการ และดำเนินธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศ สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ IRPC ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงานเพื่อชีวิตที่ลงตัว การร่วมมือระหว่าง IRPC กับ กฟผ. ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ ของเหมืองเพื่อสกัดสาร Humic, Fulvic Acid และองค์ประกอบอื่นๆ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาบุคลากร เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม

ดร.นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทาง กฟผ. มีแผนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมสารสกัด Humic acid/ Fulvic acid และ Humin จากวัสดุตั้งต้น คือ Leonardite อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาของทีม กฟผ. ที่ผ่านมา พบศักยภาพที่น่าสนใจทั้งการใช้งานด้านการเกษตร เครื่องสำอาง และการแพทย์ เป็นต้น หากมีความร่วมมือกันด้วยความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย จะสามารถทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นการศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจของนวัตกรรมจนนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อภาพรวมการร่วมมือพัฒนาประเทศด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

IRPC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ในรูปแบบ e-Meeting

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ได้จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 (AGM) ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)

กฟผ.ชวนสัมผัส “ELEXTROSPHERE โลกใหม่ Right คาร์บอน” โซนใหม่ศูนย์การเรียนรู้ จัดเต็มความรู้คู่ความสนุก พบกัน 2 เมษายนนี้!

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม หรือ Learning for Society

ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ 5 ดาว ประหยัดไฟ รักษ์โลกมากกว่าเดิม

แม้ไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนเพียงไม่นาน แต่บางพื้นที่มีอุณหภูมิร้อนแรงแตะ 45 องศาเซลเซียส ทำให้หลายคนเตรียมปาดเหงื่อทั้งจากอากาศที่ร้อนจัด

ตามโผ ‘ครม.’ ตั้ง ‘เทพรัตน์ เทพพิทักษ์’ นั่ง ผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่

ครม.มีเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเทพรัตน์  เทพพิทักษ์  ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กฟผ. พร้อมจ่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดในรูปแบบผสมผสาน กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ภายใน มี.ค. นี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 เข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของสถานีไฟฟ้าแรงสูงเขื่อนอุบลรัตน์