ปลัดแรงงาน เผย ขั้นตอน - เอกสารหลักฐาน แรงงานไทยกลับจากอิสราเอลยื่นคำร้องขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท บรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดรายได้

วันที่ 14 ธันวาคม 2566 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เผย แรงงานไทยกลุ่มที่ 1.เดินทางไปทำงานที่อิสราเอลและเดินทางกลับประเทศไทยหลังวันที่ 7 ตุลาคม 2566 2.เดินทางไปทำงานที่อิสราเอลและเดินทางกลับประเทศไทยก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2566 โดยใช้วีซ่า Re-entry แต่ไม่สามารถกลับไปทำงานที่อิสราเอลได้เนื่องจากกรมการจัดหางานชะลอการเดินทาง สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินเยียวยา จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ด้วยตนเองได้แล้วที่กระทรวงแรงงาน ดินแดง หรือ สำนักงานแรงงานจังหวัด ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ ครม. ได้มีมติเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 อนุมัติให้กระทรวงแรงงานดำเนินโครงการเยียวยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดรายได้ของแรงงานไทย จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานถูกต้องตามกฎหมายได้รับการดูแลจากภาครัฐอย่างจริงจัง โดยมีแรงงานที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล และเดินทางกลับประเทศไทยหลังวันที่ 7 ตุลาคม 2566 กลุ่มที่ 2 แรงงานไทยที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล กลุ่มที่ 3 แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลและเดินทางกลับประเทศไทย ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2566 โดยใช้ Re-Entry Visa แต่ไม่สามารถเดินทางกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้เนื่องจากกรมการจัดหางานชะลอการเดินทางด้วยเหตุภัยสงครามในประเทศอิสราเอล และกลุ่มที่ 4 ประมาณการแรงงานไทยที่คาดว่าจะประสงค์เดินทางกลับประเทศไทย/เดินทางกลับไทยเพิ่มเติม รวมถึงแรงงานไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกัน นั้น

ขณะนี้ แรงงานไทยที่มีสิทธิดังกล่าว สามารถยื่นเอกสารคำร้อง ได้แล้วที่กระทรวงแรงงาน เขตดินแดง หรือสำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด โดยเงื่อนไขของผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยานั้นต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองเท่านั้น ส่วนกรณีเสียชีวิตให้ทายาทผู้มีสิทธิเป็นผู้ยื่นคำร้อง

“ แรงงานที่เดินทางกลับไทยหลังวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ให้เตรียมเอกสาร ได้แก่ 1) บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนา 2) หนังสือเดินทางพร้อมสำเนา หน้าที่มีรูปถ่าย และตราประทับเข้า – ออก ประเทศไทย หรือหนังสือเดินทางชั่วคราว (CI) พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย และตราประทับเข้าประเทศไทย 3) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอน ผ่านระบบ KTB Corporate Online 4) สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของแรงงาน ส่วนแรงงานกลุ่มที่เดินทางกลับไทยก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2566 โดยใช้ Re-Entry Visa ให้เตรียมเอกสาร ได้แก่ 1) บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนา 2) หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย และตราประทับเข้า - ออก ประเทศไทย (ไม่เกิน 90 วัน) 3) Re-entry Visa (อายุไม่เกิน 90 วัน) 4) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online 5) สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของแรงงาน และหากเป็นแรงงานไทยที่เสียชีวิตให้ทายาทผู้มีสิทธิเป็นผู้ยื่นคำร้อง โดยใช้เอกสารดังนี้ 1) สำเนาใบมรณบัตร 2) สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต 3) หนังสือรับรองความสัมพันธ์ทางครอบครัว 4) หนังสือให้ความยินยอมเป็น ทายาทโดยธรรม 5) บัตรประชาชนทายาท 6) สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีคู่สมรส) 7) สำเนาสูติบัตร (กรณีบุตร) 8) แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online 9) สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารทายาทผู้มีสิทธิรับเงินเยียวยา โดยสำเนาเอกสารทุกฉบับต้องรับรองสำเนาถูกต้องพร้อมลงลายมือชื่อเรียบร้อยแล้ว ”นายไพโรจน์ฯ กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงแรงงานจะมีคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน โดยจะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิหรือทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีเสียชีวิต) ภายใน 7 - 10 วัน โดยระหว่างนั้นผู้ยื่นคำร้องสามารถตรวจสอบสถานะคำร้องได้โดยการสแกน QR CODE ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้อง ทั้งนี้ ประมาณการว่าจะมีแรงงานไทยจะได้รับสิทธิ จำนวน 15,000 คน ๆ ละ 50,000 บาท คิดเป็นมูลค่ารวม 750 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โลกเดือด !!! “พิพัฒน์” ห่วงใย “ผู้ใช้แรงงาน” แนะ 6 ข้อ ช่วงอากาศร้อนจัด 40-43 องศา

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ

นายกฯ ร่วมผู้นำ 17 ประเทศ แถลงเรียกร้องปล่อยตัวประกันในกาซา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "วันนี้ ผมร่วมกับผู้นำ 17 ประเทศที่มีตัวประกันที่ยังอยู่ในกาซา ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวประกันทั้งหมด

ผู้ใช้แรงงานเฮ! 1 พ.ค.2567 วันแรงงาน "พิพัฒน์" ย้ำชัดประกาศแน่ ทำเร็วขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า