“พิพัฒน์”เผยความคืบหน้าแรงงานไทยจากอิสราเอลยื่นขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท แล้ว 7,622 ราย คิดเป็น 78.60 %

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์”เผยความคืบหน้าแรงงานไทยจากอิสราเอลยื่นขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท แล้ว 7,622 ราย คิดเป็น 78.60 % ด้านปลัดแรงงาน ยัน เร่งดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเต็มที่

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้เปิดให้แรงงานไทยจากอิสราเอลมายื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล รายละ 50,000 บาท ได้ที่กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง และสำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าขณะนี้ พบว่า มีผู้มายื่นคำร้องแล้ว จำนวน 7,622 ราย จากจำนวนทั้งหมด 9,697 คน คิดเป็น 78.60 % แยกเป็น กรณีมายื่นด้วยตนเอง 7,575 ราย กรณีเสียชีวิต 22 ราย กรณี Re-Entry 25 ราย

ส่วนจังหวัด 5 อันดับแรกที่ผู้มายื่นคำร้องมากที่สุด คือ อุดรธานี 1,061 ราย รองลงมา คือ เชียงราย 932 ราย นครพนม 595 ราย นครราชสีมา 470 ราย น่าน 421 ราย ตามลำดับ ในส่วนของกรุงเทพมหานคร มีผู้มายื่นที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานและติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล กระทรวงแรงงาน ชั้น 1 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี จำนวน 282 ราย

“ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบอนุมัติงบกลางปี 2566 วงเงิน 750 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายโครงการเยียวยาแรงงานไทยที่ขาดรายได้ จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ประมาณการไว้ 15,000 คน โดยจะจ่ายให้คนละ 50,000 บาท ประกอบด้วย แรงงานที่เดินทางไปทำงานและกลับไทยหลังวันที่ 7 ต.ค.2566 แรงงานที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบ แรงงานที่เดินทางไปทำงานและกลับก่อนวันที่ 7 ต.ค. โดยใช้ Re-entry Visa แต่ไม่สามารถเดินทางกลับไปทำงานที่อิสราเอลได้เนื่องจากถูกชะลอไว้ แรงงานไทยที่คาดว่าจะเดินทางกลับเพิ่มเติมรวมถึงแรงงานที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ ธันวาคม 2566 – กันยายน 2567 หรือจนกว่าจะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาแล้วเสร็จ

ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้ยื่นเอกสารไว้กับทางกระทรวงแรงงานและได้ติดต่อสอบถามมายังกระทรวงแรงงานถึงเรื่องที่ยังไม่ได้รับเงินค่าเดินทางกลับจากอิสราเอลนั้น เกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่องนี้ ขอแจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้ กระทรวงแรงงานได้จัดส่งเอกสารคำขอดังกล่าวไปยังกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาแล้ว 4,086 ราย จากจำนวนผู้มายื่นคำขอรับเงินค่าพาหนะ เดินทางกลับไทย 4,359 ราย
ในขณะที่มีผู้ยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ทั้งหมดจำนวน 9,740 ราย วินิจฉัยสั่งจ่ายไปแล้ว 9,540 คน จำแนกเป็น กรณีเสียชีวิต 40,000 บาท จำนวน 36 คน กรณีบาดเจ็บ 30,000 บาท จำนวน 18 คน กรณีสงคราม 15,000 บาท จำนวน 9,486 คน คิดเป็นเงิน 144,270,000 บาท

"การดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามข้อสั่งการของท่านพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่ได้เร่งทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้การจ่ายสิทธิประโยชน์กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ซึ่งเราจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด จนกว่าแรงงานไทยจะได้รับสิทธิครบทุกราย อย่างไรก็ดี ในการยื่นคำร้องขอรับค่าเดินทางกลับจากอิสราเอลนั้น กระทรวงแรงงานจะทำหน้าที่รับเรื่องของคนไทยทุกคนที่เดินทางกลับประเทศไทยเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ทั้งกลุ่ม นักเรียน นักศึกษา และแรงงานไทย ซึ่งขณะนี้ได้จัดส่งเอกสารให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาค่าชดเชย/ค่าใช้จ่าย โดยหลังจากยื่นเอกสารกับกระทรวงแรงงานแล้ว” นายไพโรจน์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์”รับฟังทุกฝ่าย ถกสภาอุตฯ หอการค้า เอสเอ็มอี ผู้ใช้แรงงาน ขึ้นค่าแรง 400 บาท

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับยื่นหนังสือจากกลุ่มแรงงาน นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน และนายมานพ เกื้อรัตน์ แกนนำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่ได้นำสมาชิกกว่า 150 คน

“พิพัฒน์” ้สั่งเร่งเยียวยาแรงงานเสียชีวิตแทงก์สารเคมีระเบิดระยอง กำชับปลัดก.แรงงาน ดูแลใกล้ชิด แนะประกันสังคมคุ้มครองสิทธิความปลอดภัยแรงงาน พร้อมรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บให้ครบ

วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีเกิดเหตุแทงก์เก็บสารเคมีระเบิดและเพลิงไหม้ที่จังหวัดระยอง เมื่อวานนี้ (9 พ.ค.67) จนทำให้มีลูกจ้างเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บว่า

'อนุทิน' ย้ำขึ้นค่าแรง 400 นโยบายรัฐบาล รอ 'บอร์ดไตรภาคี' ชี้ขาด

'อนุทิน' ย้ำขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ นโยบายรัฐบาล ชี้ผลสุดท้ายขึ้นอยู่ 'คกก.ไตรภาคี' มั่นใจ 'รมว.แรงงาน’ ดันสุดความสามารถ

รมว. “พิพัฒน์” เสริมสร้างความปลอดภัยการทำงาน นำเหล่า Safety จิตอาสา แสดงพลังเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานที่ยั่งยืน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดงาน “10 พฤษภาคม วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” ภายในงานมีพิธีถวายพระพรชัยมงคลและถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รมว.พาณิชย์ ซาอุฯ ไฟเขียว พบ "พิพัฒน์" รมว.แรงงาน กระชับสัมพันธ์ เปิดตลาดแรงงานภาคท่องเที่ยว สุขภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสองประเทศ

วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ดร.มาญิด บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลกอเศาะบี