องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ่มเพาะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ปี 2564-2565 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับเด็ก  เยาวชน และครอบครัว เพราะต้องเผชิญกับวิกฤต 3 ด้าน  สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาสังคมกับการเมือง และยังประสบปัญหาการเผชิญภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอย การเข้าถึงบริการรัฐที่ยากขึ้น การถูกผลักเข้าสู่โลกออนไลน์ สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาลดจำนวนลงช่วงโควิด เยาวชนมีความเสี่ยงต่อสารเสพติด  นักเรียนวัย 13-15 ปีใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มถึง 10 เท่าในปี 2565 อีกทั้งยังมีปัญหาอัตราการเกิดน้อยลง เด็กวัย 2-5 ขวบลดพรวดพราดเหลือ 5 แสนคน จากเดิม 9 แสนคน

ชุมชนท้องถิ่นเห็นถึงปัญหาความเสี่ยงต่างๆ ข้างต้น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้มีการเคลื่อนไหวสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน การนำบทเรียนการทำงานด้านเด็กและเยาวชนจากภาคีหลักในชุมชนท้องถิ่น ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การสรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ชุมชนท้องถิ่นนำไปขับเคลื่อนร่วมกันได้

นายมานะ ช่วยชู ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคใต้ (ศวภ.ใต้) ผู้ดูแลประเด็นเด็กและเยาวชน เวทีสานพลังสร้างนวัตกรรมสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนปี 2567 เปิดเผยว่า สถานการณ์เด็กและเยาวชนปัจจุบันน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดที่ระบาดหนักในหลายพื้นที่  ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และตัวเยาวชนเอง เหตุและปัจจัยนำเด็กและเยาวชนเข้าสู่ความเสี่ยง มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่สนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส.เข้าไปหนุนเสริมศักยภาพการทำงานของชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะการนำข้อมูลมาใช้และสานพลังเครือข่ายทำงานร่วมกัน  โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ขับเคลื่อน

ทั้งนี้ อบต.หนองสนิท อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ มีความโดดเด่นเรื่องการดูแลเด็กนอกระบบที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ได้กลับมาเรียนรู้ทักษะอาชีพต่างๆ ต.ทอนหงส์ จ.นครศรีธรรมราช รับมือกับปัญหายาเสพติดโดยออกกฎกติกาชุมชน เพื่อป้องกันและปราบปราม ส่งต่อเพื่อบำบัดยาเสพติด โดยใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถออกจากวงจรยาเสพติดได้

นายต้องการ สุขเหลือ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เจาะนโยบายส่งเสริมเด็กและเยาวชนโดยชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดเผยตัวเลขว่าขณะนี้เด็กอายุ 2-5 ขวบ มีจำนวนกว่า 5 แสนคน จากเดิมที่มีเด็กในวัยนี้ 9 แสนคน อัตราการเกิดเด็กน้อยลง ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุ ในอนาคตเราต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนรับผิดชอบ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาของมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาและ สสส.จัดทำในปี 2561 มี 12 ศูนย์ต้นแบบการพัฒนา บวร บ้าน วัด โรงเรียนมีส่วนร่วมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กด้วยการใช้แรงงานท้องถิ่น ผู้ปกครอง คนในชุมชนช่วยกันสร้าง ปี 2567 จะขยายสนามเด็กเล่น ปัจจุบันมี 4,733 แห่ง  การพัฒนาเด็กเล็กปฐมวัยเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเพื่อต่อยอด เพื่อเด็กจะได้เรียนอย่างสนุกสนาน  พัฒนาทักษะทางกายภาพและสติปัญญา

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด การสร้างสนามเด็กเล่นลดน้อยลง เนื่องจากหยุดอยู่บ้าน ขณะเดียวกันต้องเว้นระยะห่างกัน ห้ามรวมกลุ่ม เด็กเล่นด้วยกันไม่ได้ ขณะนี้ อปท.เน้นให้ความสำคัญของการมีสนามเด็กเล่นสำหรับเด็ก เพราะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเด็กด้านการเรียนรู้ โครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาบางส่วนของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงร่วมกับ สสส. มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม (SIY) ลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ เพื่อท้องถิ่นจะได้มีความรู้ความเข้าใจรับผิดชอบภารกิจมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้เด็กด้อยโอกาส ยากจน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาได้รับการสนับสนุน มีการจ้างครูมาพัฒนาเด็กได้ใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนด้วย

นายสมเกียรติ สาระ หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เด็กและเยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษาระดับมัธยมต้น จึงจัดตั้งกลไกร่วมกัน 4 ฝ่ายในท้องถิ่น มีจิตอาสาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก สร้างทักษะชีวิต สร้างแรงบันดาลใจในการจัดการตัวเอง ให้ปัญญา ความรู้ ลงมือทำ พัฒนาอาชีพ รู้จักจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง เด็กทำอะไรแล้วมีความสุข ร่วมมือกับผู้ใหญ่ใจดีนำภูมิปัญญาชาวบ้านทำให้เกิดการเรียนรู้

เด็กบางคนชอบการตัดผมก็ส่งเสริมให้เด็กมีความชำนาญประกอบเป็นอาชีพได้ ไม่ต้องตีกรอบให้เขาทำงานอย่างมีความสุข มีรายได้เป็นของตัวเอง เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เด็กบางคนเลี้ยงไก่มีรายได้เป็นของตัวเอง เป็นการส่งเสริมให้เด็กใฝ่รู้ ขยันอดทน ฝึกฝนตัวเอง โดยผู้ใหญ่ให้การสนับสนุน ไม่สร้างความกดดันให้เด็ก สิ่งที่ได้รับจะเป็นภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กและเยาวชน การพัฒนาเด็กเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา พัฒนาเด็กจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่ได้แยกเด็กออกจากครอบครัว เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน

น.ส.วิยะดา เขื่อนแปด  นักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ ทำหน้าที่ส่งเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชน ด้วยหัวใจแพร่เรามีพลังและสร้างสุขในทุกพื้นที่ก่อตั้ง เพื่อให้เด็กรวมทีมสร้างสุขได้ในทุกพื้นที่ เป็นการถ่ายเลือดจากเด็กโตสู่เด็กเล็กให้เป็นต้นแบบ เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กที่นี่มีปัญหาพ่อแม่หย่าร้างกัน เด็กไม่มีกำลังใจที่จะเรียนหนังสือ น้องอยากไปเที่ยวทะเล แต่ก็ไม่ได้ไปเพราะมีฐานะยากจน จึงได้มีการจัดทีมทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กพัฒนาตัวเอง มีรายได้  มีแกนนำ เมื่อเด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง ได้ลองผิดลองถูกด้วยกัน เมื่อมีการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม เด็กทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ ในช่วงแรกๆ คุยกันเพียง 3 นาทีก็แตกคอกันแล้ว ต้องทำให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นผู้นำเป็นต้นแบบที่ดีของสังคม กิจกรรมสร้างสุข สานสุขด้วยการฝึกฝนปฏิบัติ บางคนเลือกการปลูกต้นไม้ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

“การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เป็นทีมกำปั้นน้อยสร้างสุข กล้าแสดงออก เป็นตัวของตัวเอง เป็น old smile  club เด็กทำงานกับผู้สูงอายุ ทำให้เด็กๆ รู้สึกรักบ้านเกิดของตัวเอง รักครอบครัว มีพื้นที่เล่นขายของ เปิดเฟซบุ๊ก  เปิดไลน์ นำสินค้ามาขายมีรายได้ ไม่ทำตัวเป็นกลุ่มเสี่ยงของสังคม เด็กและผู้ใหญ่มีความกลมเกลียวกัน เปลี่ยนแปลงวิธีคิด เด็กนำศิลปะภูมิปัญญาชาวบ้านมาจำหน่ายในชุมชน เป็น SME ตัวเล็กเพื่อต่อยอดเป็นนักธุรกิจเต็มตัวในอนาคต ไม่ต้องเป็นข้าราชการ ด้วยการคิดนอกกรอบ การเป็นนายตัวเองก็สร้างรายได้ให้ตัวเองได้ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีข้อแลกเปลี่ยนเมื่อเด็กทำดี เด็กกล้าพูดว่าเขาอยากไปเที่ยวทะเล ผู้ใหญ่ก็พาไปให้เด็กได้เห็นทะเลเกิดความสุขทางใจ เพราะพ่อแม่ไม่เคยพาเด็กไปเที่ยวทะเล” น.ส.วิยะดาเล่าถึงกลเม็ดทำงานกับเด็กๆ ที่มีความฝันเป็นของตัวเอง

นายโชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม (SIY) เปิดเผยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องใช้ความเป็นผู้นำบ่มเพาะพลเมืองสร้างสรรค์  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ SIY ทำงาน 5 ปีร่วมกับ สสส. กระทรวงมหาดไทย เปิดพื้นที่ท้องถิ่นรับฟังเสียงจากเยาวชนที่สามารถปฏิบัติได้ตามเทศบัญญัติ แปลงเป็นงบประมาณสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย เยาวชนลุกขึ้นมาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นคุณค่ามากมาย เด็กเป็นผู้แทนเยาวชน คนรุ่นใหม่เกิดพลังและสร้างสรรค์ในท้องถิ่น

WHY WE DO? เด็กทุกคน มนุษย์ทุกคนมีแสงสว่างอยู่ในตัวเอง เทศบาลนครอุบลฯ มีความสนใจสภาวะทางใจของวัยรุ่นเป็น Street Art สร้างความสุขได้ เยาวชนต้องการเรา สร้างพื้นที่เปิดเผยให้เขามีความกล้าที่จะแสดงความสามารถออกมา เป็นจุดมุ่งหมายที่เขาจะเดินหน้าต่อไปในวันข้างหน้า ในขณะเดียวกันเด็กก็ต้องการแรงบันดาลใจจากครอบครัว และครูก็มีบทบาทในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่เด็กเป็นอย่างดี

แต่ละท้องถิ่นมีงบประมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญของเยาวชน งานท้องถิ่นเป็นงานที่หนักเพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ข้าราชการท้องถิ่นก็ต้องทำงานควบคู่กับนักการเมือง มีการใช้เทคนิค matching ให้เป็นภารกิจสำคัญ SIY เสมือนหนึ่งเป็น Third Party กรุยทางใหม่ๆ เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ในการทำงาน SIY ทำงานร่วมกับสำนัก 4 สสส. การมีส่วนร่วมกับเยาวชนในเชิงบวก ในวันที่เยาวชนใช้วิธีการที่ผิด ต้องมีการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง เยาวชนยุคนี้ต้องการรางวัล  บุหรี่ไฟฟ้าคือยาเสพติดให้โทษ? การให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น