โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น มีส่วนสำคัญต่อการเสริมแผนงานต่าง ๆ ของรัฐบาลและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อันเป็นผลจากพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงวางรากฐาน จวบจนปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ในการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริของหน่วยงานต่างๆนั้นหากต่างฝ่ายต่างทำขาดการประสานงานความซ้ำซ้อนอาจเกิดขึ้นเพื่อความสอดคล้องซึ่งกันและกันอันจะบรรลุผลตามแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้รัฐบาลจึงได้จัดระบบการสนองพระราชดำริขึ้นในปพ.ศ.2524โดยออก “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2524” มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524 โดยกำหนดให้มีองค์กรระดับชาติที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กปร.”
นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมในทุกด้านทั้งแหล่งน้ำ คุณภาพชีวิตของพสกนิกร การสาธารณสุข การศึกษา การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ และพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น จำนวน 6 แห่ง ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อทำหน้าที่ศึกษา วิจัย ทดลอง ภายใต้บริบทภูมิประเทศและภูมิสังคม จนประสบความสำเร็จแล้วนำไปขยายผลสู่ประชาชน โดยให้ประชาชนเข้าไปเรียนรู้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลผลิต ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งดิน น้ำซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต
ปัจจุบันมีการขยายผลศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริมากถึง 221 แห่ง กระจายในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2567) เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย นับตั้งแต่เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ การประมง ปศุสัตว์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงการแปรรูปและหัตถกรรม และในปี 2567 สำนักงาน กปร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พัฒนาต่อยอดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ศูนย์สาขาฯ เกษตรกรขยายผลฯ และผลิตภัณฑ์จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้ได้รับเลขที่จดแจ้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย. จำนวนกว่า 70 รายการ ทำให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น
นอกจากการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดในภาพรวมทั้งห่วงโซ่คุณค่าแห่งการพัฒนาแล้ว สำนักงาน กปร. ยังได้สนับสนุนด้านช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ศูนย์สาขาฯ และเกษตรกรขยายผลในพื้นที่ โดยการจัดตั้งอาคารร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตรราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย อาคารสิริพัฒนภัณฑ์ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จ.จันทบุรี ร้านเลิศพัฒนภัณฑ์ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ.สกลนคร ร้านบวรพัฒนภัณฑ์ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี ร้านพิกุลเกษตรภัณฑ์ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส และร้านพวงคราม ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จ.ฉะเชิงเทรา
นอกจากนี้สำนักงาน กปร. ยังร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก และพืชสมุนไพรในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูประชาชนผู้มีปัญหาด้านทันตกรรม อีกด้วย
ในโอกาสครบรอบวันสถาปนา 43 ปี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานที่ร่วมสนองงานพระราชดำริ ขอสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดี และจักมุ่งมั่นเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เพื่อร่วมกันพัฒนา ส่งเสริมสร้างโอกาสขยายผลองค์ความรู้ สร้างสุข เปลี่ยนแปลงชีวิตให้มั่นคง สู่รอยยิ้ม ด้วยก้าวย่าง อย่างก้าวหน้า เพื่อความเจริญของสังคมไทยสืบไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( สำนักงาน กปร.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติพร้อมประกาศนียบัตร ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ 2567
ขยายผลพื้นที่และจำนวนประชากรรับประโยชน์ องค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาฯ และศูนย์สาขา
ในปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เดินหน้าสร้างความอยู่ดี กินดี ของประชาชนไทยโดยการสร้างต้นแบบเกษตรกรที่ได้รับองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์สาขาฯ ที่ได้นำผลจากการศึกษา ทดลอง
เอกลักษณ์ คน กปร. ตัวคูณ ร่วมสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงาน กปร. เดินหน้า 10 ปี ต่อเนื่อง โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) ก้าวสู่รุ่นที่ 12 และหลักสูตรนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) รุ่นที่ 11 ภายใต้โครงการ RDPB Talk ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
“ดิน น้ำ ลม ป่า” สมบูรณ์พูนสุข ด้วยการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
การพัฒนาประเทศหลากหลายโครงการที่เกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ประมง และปศุสัตว์ ปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพของประชาชนชาวไทย ได้รับการขยายผลก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการดำรงชีพสร้างมิติอยู่ดีมีสุขอย่างกว้างขวาง
ยึดมั่นแนวพระราชดำริ สู่ “ศูนย์เรียนรู้” ทำเกษตรแบบผสมผสาน
ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่เขตอับฝน ในอดีตมีการตัดไม้เพื่อทำถ่านขายโดยไม่มีการปลูกทดแทน อีกทั้ง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วย ราษฎร ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล มีน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สะอาดอย่างพอเพียง
ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบเนินเขา สลับกับเทือกเขาสูง ลุ่มน้ำมีความลาดเทจาก ทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา