เอกลักษณ์ คน กปร. ตัวคูณ ร่วมสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สำนักงาน กปร. เดินหน้า 10 ปี ต่อเนื่อง โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) ก้าวสู่รุ่นที่ 12 และหลักสูตรนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) รุ่นที่ 11 ภายใต้โครงการ RDPB Talk ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการอบรมและสร้างเอกลักษณ์ คน กปร. ตัวคูณ ไปยังหน่วยงานงานเครือข่าย ตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงาน กปร. ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570)

และเมื่อวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นประธานพิธีมอบประกาศนียบัตรและเข็มวิทยฐานะให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมทั้ง 2 หลักสูตร โดยมีนางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ กปร. กล่าวรายงาน

นางลักษวรรณ พวงไม้มิ่ง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าอบรมหลักสูตร นบร. รุ่นที่ 12 เผยว่า ในปัจจุบัน มีหน่วยงานโครงการพระราชดำริในสังกัด ประกอบด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถานีเกษตรที่สูง ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ บ้านเล็กในป่าใหญ่ โครงการเพื่อความช่วยเหลือราษฎร โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรในพื้นที่ความรับผิดชอบ รวมกว่า 50 โครงการ โดยจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หลักการทรงงาน รวมถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการต่าง ๆ และผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

ด้านนายประโพธิ อุปถัมป์ ผู้จัดการฝ่ายปลูกป่าและบำรุงรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม พพร. รุ่นที่ 11 เปิดเผยว่า ในหลายๆ อย่างที่จะนำไปประยุกต์ใช้คือการเปิดเวทีการมีส่วนร่วมของสังคมกับโครงการที่ดำเนินการเพื่อสังคมของ ปตท. เช่น โครงการปลูกป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส 72 พรรษา ในพื้นที่ 72,000 ไร่ โดยมีประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม ของ ปตท. ที่หลังจากการปลูกแล้วจะมีการสนับสุนการดูแลบำรุงรักษาถึง 9 ปีเพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกได้เจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ตามธรรมชาติต่อไปควบคู่กับการดำเนินโครงการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ “ป่าเปียก” ซึ่งเป็นทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามแนวทางที่สำนักงาน กปร. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนที่จะช่วยลดปัญหาไฟป่าได้เป็นอย่างดี เมื่อป่ามีความชื้นโอกาสเกิดไฟป่าก็ลดน้อยลง ซี่งอันนี้ก็เป็นการน้อมนำแนวพระราชดำริในการปลูกป่าของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาดำเนินการ ควบคู่กับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนซึ่งปี 2567 ได้มีการจัดตั้งไปแล้ว 33 แห่ง ที่ปตท.นำผลผลิตมาต่อยอดด้านการตลาดสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า และปลูกที่ดำเนินการตามโครงการด้วย นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับนักพัฒนาตามยุคสมัยในปัจจุบัน อาทิ ทักษะด้านดิจิตอล และทักษะด้านภาษาอังกฤษ เป็นต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( สำนักงาน กปร.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติพร้อมประกาศนียบัตร ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ 2567

ขยายผลพื้นที่และจำนวนประชากรรับประโยชน์ องค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาฯ และศูนย์สาขา

ในปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เดินหน้าสร้างความอยู่ดี กินดี ของประชาชนไทยโดยการสร้างต้นแบบเกษตรกรที่ได้รับองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์สาขาฯ ที่ได้นำผลจากการศึกษา ทดลอง

43 ปี "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" สร้างสุข สู่รอยยิ้ม และความยั่งยืน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น มีส่วนสำคัญต่อการเสริมแผนงานต่าง ๆ ของรัฐบาลและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อันเป็นผลจากพระราชกรณียกิจ

“ดิน น้ำ ลม ป่า” สมบูรณ์พูนสุข ด้วยการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

การพัฒนาประเทศหลากหลายโครงการที่เกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ประมง และปศุสัตว์ ปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพของประชาชนชาวไทย ได้รับการขยายผลก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการดำรงชีพสร้างมิติอยู่ดีมีสุขอย่างกว้างขวาง

ยึดมั่นแนวพระราชดำริ สู่ “ศูนย์เรียนรู้” ทำเกษตรแบบผสมผสาน

ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่เขตอับฝน ในอดีตมีการตัดไม้เพื่อทำถ่านขายโดยไม่มีการปลูกทดแทน อีกทั้ง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วย ราษฎร ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล มีน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สะอาดอย่างพอเพียง

ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบเนินเขา สลับกับเทือกเขาสูง ลุ่มน้ำมีความลาดเทจาก ทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา