19 กันยายน 2567 นายโสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าวเกี่ยวกับการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา
.
นายโสภณ กล่าวว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้คือ “พ.ร.บ.ฉบับปฏิวัติการศึกษา” ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้ “ทั่วถึง เท่าเทียม ทันยุค” ซึ่งปัจจุบันมนุษย์ได้รับผลกระทบ
จากสิ่งที่เกิดขึ้นมากมาย และกว้างขวาง อันส่งผลให้เกิดการลดลงของประชากร ความเป็นอยู่ของคนในสังคมที่ยากลำบาก
ขึ้น ปัญหาต่างๆ ในสังคมที่มีมากมาย ล้วนเกิดจากอิทธิพลทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมทั้งสิ้น
.
การศึกษานั้นจึงเป็นหลักประกันที่สำคัญ ที่จะสร้างองค์ความรู้ ความสามารถ และภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ
และความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชาติ จากการที่คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ เพื่อเก็บข้อมูลสภาพจริงเชิงลึก และรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน และได้นำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ ในหลายๆ ที่อย่างครอบคลุมทุกประเด็น ใช้เวลาทำงานอย่างต่อเนื่อง ทุ่มเท เสียสละ ร่วม 1 ปี เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนในสังคมอย่างแท้จริง จึงมั่นใจว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศได้อย่างตรงจุด และตรงประเด็น ปัจจุบันจำนวนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเรา เป็นสถานศึกษาขนาดเล็กกว่า 14,000 แห่ง และพบว่ามีปัญหาการจัดการศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านบุคลากร สื่อวัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ไม่มีความสุขในการเรียน จึงออกจากระบบการศึกษา มากถึง 1,020,000 คน
.
ใน พ.ร.บ.นี้ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหลายมิติ ไม่ว่าจะกำหนดให้มีการใช้ทรัพยากรด้านครู สื่อการเรียน ทรัพยากรอื่นๆ ร่วมกันในรูปแบบของกลุ่มโรงเรียน เพื่อสร้างความพร้อมในการจัด การศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาที่พบได้อย่างเหมาะสม พ.ร.บ.นี้ ยังให้ความสำคัญต่อการลดภาระของผู้ปกครอง และผู้เรียน โดยจัดให้มีระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติขึ้น เพื่อผู้เรียนสามารถนำผลการเรียนมาสะสมเทียบโอน และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มคุณวุฒิการทำงานและการศึกษาต่อ โดยจะเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ หรือ สกร.เป็นหน่วยงานกลาง ในการดำเนินการดังกล่าว เป็นต้น
.
สำหรับ การจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย ต้องให้ความสำคัญ กับการศึกษาของเด็กปฐมวัย ให้ได้รับการ พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ปลูกฝังภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้ใฝ่ดี เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สามารถกำหนดคุณสมบัติของคนเราเกือบจะทั้งหมด การให้การศึกษาในวัยนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
.
ปัจจุบันปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน ทำให้เด็กส่วนใหญ่ ในท้องถิ่นไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่ต้องดิ้นรนเพื่อปากท้อง ออกจากบ้านเพื่อหางานทำ จึงฝากบุตรหลานไว้กับ ปู่ย่า ตา ยาย ความอบอุ่นที่ได้รับก็ลดน้อยลง ความผูกพันกับพ่อแม่แทบจะไม่มีเลย ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องเป็นพ่อแม่ คนที่ 2 ของเด็ก ปลูกฝัง สร้างความรัก ความอบอุ่นได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แล้ว พ.ร.บ.นี้ยังให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา ได้ปรับเปลี่ยนเป็น 2 ระบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสร้างความเสมอภาคทาง ความรู้สึกและให้ความสำคัญของระบบทั้งสองอย่าเท่าเทียมกัน และเพื่อสนองตอบต่อความถนัด ความสามารถของผู้เรียน ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่ถนัด และหลากหลาย ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ยังระบุให้เป็นการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา - อาชีวศึกษา (วุฒิ ปวช.) เพื่อเปิดโอกาสในการเรียนฟรี สำหรับผู้ที่ถนัดสายสามัญ ก็จะถูกพัฒนาให้เป็นมันสมองของชาติ และผู้ที่ถนัดทักษะอาชีพ ก็จะเป็นกลไกสำคัญของตลาดแรงงานที่มีคุณภาพ และสร้างรายได้ ยกฐานะทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ และยังมีการปฏิวัติอีกหลายๆเรื่อง อาทิ เช่น ปรับปรุงการวัดผลประเมินผล การประเมินคุณภาพภายนอก ต้องมี ความน่าเชื่อถือ และไม่เป็นภาระของครูเหมือนในอดีตที่ผ่านมา พ.ร.บ.นี้จึงไม่บัญญัติ หน่วยงาน สมศ.ให้ทำภารกิจดังกล่าว
.
“ในด้านโครงสร้างการบริหาร ก็จะต้องปรับเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของส่วนราชการ ซึ่งจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานให้มากยิ่งขึ้น ในลักษณะ “จิ๋ว แต่ แจ๋ว” และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่จำเป็น สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ยังมีอีกหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรับไปในทางที่ดี มีความชัดเจน มีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ ดังคำกล่าวที่ว่า “ทั่วถึง เท่าเทียม ทันยุค” หลังจากนี้ จะได้ส่งนำร่าง พ.รบ.ดังกล่าว ส่งให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เพื่อให้เสนอข้อเสนอแนะมายังคณะ กมธ. ภายใน 15 วัน และนำมาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น จากนั้นพร้อมนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร ให้ทันภายในสมัยการประชุมนี้ต่อไป” นายโสภณ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘หนู’ ลั่นฟังแค่ ‘อิ๊งค์’ ยันร่วมรัฐบาลเป็นไฟต์บังคับ ‘ทักษิณ’ พูดไม่นำพา
"อนุทิน" ลั่น! รับสัญญาณจากนายกฯ อิ๊งค์เท่านั้น ยันที่ "ทักษิณ" พูดไม่ได้หมายถึงรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย "ท่านทักษิณพูดถึงพรรคที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผมก็ไม่นำพาไปฟังอะไรมาก"
'อนุทิน' ยันไม่ใส่ใจคำพูด 'ทักษิณ' โชว์ห้าวตะเพิดพรรคร่วมฯ ขอฟังแค่นายกฯอิ๊งค์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการข่าวเที่ยง ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาพรรคเพื่อ
การเมืองระอุ! เช็กชื่อ 'รมต.-พรรค' หลัง 'ทักษิณ' เห่าลั่นทำตัวอีแอบ ไม่ใช่ลูกผู้ชาย
สืบเนื่องจากกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างบรรยายพิเศษหัวข้อ สถานการณ์ทิศทางโลกและการปรับตัว ในงานสัมมนาพรรคเพื่อไทย ที่หัวหิน จ.ประจวบ
"โสภณ"ถกเครือข่ายการศึกษา รัฐ เอกชน ประชาสังคม แก้ไขปัญหาคุณภาพศึกษา ปลอดยาเสพติดในพื้นที่ บุรีรัมย์
วันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และเครือข่ายทางการศึกษา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมี ดร.ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์ ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ นายปิยวิทย์ เชิดกลิ่น
'ภูมิใจไทย' ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม-อสม. เข้าสภาฯ
พรรคภูมิใจไทย นำโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย สส.ของพรรคภูมิใจไทย ร่วมยื่นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเท่าเทียม และ ร่าง (พ.ร.บ.)
'อนุทิน' ยันไม่ได้พูดเอาหล่อ ภูมิใจไทยค้านกม.สกัดรัฐประหาร ขอไม่โต้ 'ทักษิณ'
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แซวว่านายอนุทินชิงหล่อกรณีคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม