ที่อาคารรัฐสภา กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และภาคีเครือข่าย 15 องค์กร จัดงาน “Sang Sook - Happiness is All Around Festival” ภายใต้โครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข : การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐสภาองค์กรแห่งความสุข เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวุฒิสภา มีองค์ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงเกิดความตระหนักรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน
พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 กล่าวว่า วุฒิสภา มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาวะดีทุกมิติ จึงร่วมกับ สสส. พัฒนาโครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุขฯ ตามหลักการองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) และความสุข 8 ประการ (Happy 8) จากรายงานผลตรวจสุขภาพบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จำนวน 1,222 คน ปี 2567 พบว่า บุคลากร 749 คน หรือ คิดเป็น 64.98% มีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการนำไปสู่การป่วยโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าบุคลากรมีภาวะเครียดจากภาระงานหนัก จนทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสมเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้า การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความเข้าใจในการดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ทำให้เกิดเป็นโมเดลรัฐสภาองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace Happy Life) ด้วยแนวคิด “สุขกาย สบายใจ ไร้หนี้ ชีวีมีสุข” พร้อมขยายผลสู่ประชาชนต่อไป
นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวว่า สถานการณ์สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนวัยทำงาน จากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2566 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ไทยมีคนวัยทำงานอยู่ 39 ล้านคน ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องสุขภาพป่วยโรค NCDs ที่น่าสนใจยังพบว่ากลุ่มโรค NCDs ที่คร่าชีวิตคนวัยทำงานมากที่สุดอันดับ 1 คือ โรคเบาหวาน รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง มีสาเหตุจากการขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ สอดคล้องกับรายงานผลตรวจสุขภาพบุคลากรรัฐสภา ปี 2567 พบว่า มีบุคลากรป่วยเป็นโรค NCDs โดยมีไขมันในเลือดสูง 61.85% ภาวะโภชนาการ 61.96% ความสมบูรณ์เม็ดเลือดไม่ปกติ 39.32%
“สสส. สานพลังกับ วุฒิสภา ขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาวะในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เกิดระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพและระบบที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ ชมรมออกกำลังกาย กิจกรรมให้คำปรึกษาบริการทางใจ รวมถึงจัดตั้งทีม ‘ฝ่ามือจันทรา CPR พาชีวิตรอด’ มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง และ เกิดต้นแบบนักสร้างสุของค์กรผู้นำสุขภาพ 103 คน ทั้งนี้ ในปี 2568 สสส. และวุฒิสภา ยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร โดยหวังให้วุฒิสภาเป็นโมเดลองค์กรสุขภาวะต้นแบบยั่งยืน พร้อมขยายความร่วมมือกับองค์กรรัฐและเอกชน ส่งต่อชุดองค์ความรู้ นวัตกรรม และกระบวนการสร้างสุขภาวะ ที่ทุกองค์กรสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีและยั่งยืนต่อไป” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
'สว.พันธุ์ใหม่' บี้สภาสูงเลื่อนโหวต 'ตุลาการศาลรธน.' จนกว่าจบ 'คดีฮั้ว'
'นันทนา' เรียกร้องชะลอลงมติ 'ตุลาการศาลรธน.' ออกไปก่อน จนกว่าปิดคดีฮั้วฮว. หวั่นส่งผลกระทบระยะยาว อาจส่งผลโมฆะ ด้าน 'ทนายอั๋น' ยก 3 ข้อห่วงใย ค้านโหวต 18 มี.ค.
รวมพลังชุมชน ขับเคลื่อนการจัดการป่า ลดฝุ่นควัน สร้างสุขภาวะที่ดี
กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุข
สสส.-พอช. ผนึกกำลัง 16 จังหวัด เดินหน้าป่าชุมชน ลดเผา-แก้ PM2.5 อย่างยั่งยืน
สสส. จับมือ พอช. และภาคีเครือข่าย เดินหน้าบริหารจัดการป่าชุมชน 60 แห่งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เสริมศักยภาพชุมชนลดการเผา พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าอย่างยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพประชาชน
เปิด 'ยะลาโมเดล' ชวนฟังเคล็ดลับสร้างเมืองสุขภาพดี จากนายกฯ พงษ์ศักดิ์ ที่งาน Active City Forum
“ยะลา” เป็นพื้นที่พหุสังคม ที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา ทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งเคยเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทว่าเมืองยะลาก็สามารถพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะ
ไรเดอร์: ฟันเฟืองของสังคมเมือง ต้องการสิทธิและความปลอดภัย
ทุกวันนี้ "ไรเดอร์" หรือแรงงานสองล้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตคนเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีจังหวะชีวิตเร่งรีบและการแข่งขันสูง อาชีพนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว