ทีมเรือไทยรุ่นพรีเมียร์ทวงแชมป์สำเร็จ เตรียมรับนักกีฬาทั่วโลก2-9 ธ.ค.2566

เรือ Pine Pacific โดยกัปตันอิทธินัย ยิ่งศิริ จากไทย

การแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 34 ประจำปี 2565 ปิดฉากลงอย่างยิ่งใหญ่ ทีมเรือไทยPine-Pacific คว้าแชมป์สำเร็จในรุ่นพรีเมียร์  ขณะที่การแข่งขันเรือใบเล็กประสบความสำเร็จอย่างงดงามด้วยเรือใบเยาวชนเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ถึง 2 เท่าของปีก่อน ๆ ตอกย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาวงการกีฬาเรือใบและนักกีฬาเรือใบไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมกระตุ้นการท่องเที่ยวภูเก็ตในฐานะ Premium Sports Event Destination of Asia  และเตรียมต้อนรับกีฬาเรือใบจากทั่วโลกในการแข่งขันปีหน้า 2-9 ธันวาคม 2566

ส่วนในรุ่นไออาร์ซี 0 (IRC Zero) ทีมเรือ THA 72 ของไทยผลัดกันชิงตำแหน่งผู้นำกับทีมคู่แข่งจากออสเตรเลียอย่างสูสี แต่สุดท้ายพ่ายคะแนนรวมคว้าเพียงอันดับสอง  รุ่นไออาร์ซี 1  ผู้ชนะคือเรือ Char Chan จากญี่ปุ่น รุ่น

รุ่นครูซิ่ง คือ เรือ Fei Jian จากสวิตเซอร์แลนด์ และรุ่นมัลติฮัลล์ เรือ 2fast4you จากออสเตรียคว้าชัยไปได้สำเร็จ

 การแข่งขันภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า 2022 ดำเนินการจัดการแข่งขันมาตั้งแต่วันที่ 3-10 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วยการแข่งขันเรือใบใหญ่ประเภทคีลโบ้ตและมัลติฮัลล์ (Keelboats and MultiHulls Race) และการแข่งขันเรือใบเล็ก อินเตอร์เนชั่นแนล ดิงกี้ คลาส (International Dinghy Classes) โดยได้รับความสนใจจากนักกีฬาเรือใบชั้นนำทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เอสโตเนีย สิงคโปร์ เดนมาร์ก สวีเดน จีน ออสเตรีย สหราชอาณาจักร อินเดีย และมาเลเซีย รวมจำนวนเรือใบทุกรุ่นที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นเกือบ 200 ลำ

 การแข่งขันเรือใบเล็กในปีนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามด้วยเรือใบเยาวชนเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ถึง 2 เท่าของปีก่อน ๆ สอดคล้องสโมสรเรือใบราชวรุณและสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยประกาศความมุ่งมั่นสร้างนักกีฬาเรือใบเล็กอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นยกระดับให้ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าเป็นหนึ่งในงานหลักของการแข่งขันเรือใบเล็กของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนนักกีฬาเรือใบเล็กขึ้นสู่การแข่งขันในสนามระดับโลก ยังเป็นการสร้างนักกีฬาเรือใบใหญ่ในอนาคต ซึ่งจะช่วยพัฒนาวงการกีฬาเรือใบของเมืองไทยอย่างยั่งยืน

 นายเควิน วิทคร๊าฟท์ ประธานกรรมการจัดการแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า กล่าวว่า “ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 34 ประสบความสำเร็จอย่างงดงามด้วยทัพเรือใบทั้งประเภทคีลโบ้ตและมัลติฮัลล์จากนานาประเทศ รวมถึงทีมนักกีฬาเรือใบเล็กที่เข้าร่วมแข่งขันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อร่วมชิงชัยความเป็นหนึ่งในศึกเรือใบอันทรงเกียรติแห่งเอเชีย และร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเทศชาติ และจิตวิญญาณแห่งท้องทะเลไทย หลังจากเว้นว่างจากการจัดงานมานานถึงสามปี เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้กลับมาจัดการแข่งขันอีกครั้ง เพื่อเริ่มต้น อนาคตใหม่แห่งคิงส์คัพรีกัตต้า และแสดงให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ว่าภูเก็ตและประเทศไทยพร้อมกลับมายิ่งใหญ่ในธุรกิจการท่องเที่ยวและกีฬาเรือใบอีกครั้ง ในนามของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะทุกท่านที่ได้เข้ารับถ้วยรางวัลพระราชทานในค่ำคืนนี้ และขอขอบคุณนักกีฬาทุกท่าน ตลอดจนผู้สนับสนุน คณะผู้จัดการแข่งขัน สโมสรเรือใบราชวรุณ กองทัพเรือ สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ต ที่ร่วมกันทำให้งานครั้งนี้สำเร็จลงด้วยดี สุดท้ายนี้ ผมขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่าภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 35 จะกลับมาเปิดศึกเรือใบที่ทวีความยิ่งใหญ่กว่าเดิม ในวันที่ 2-9 ธันวาคม 2566 ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ และพบกันใหม่ในภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งต่อไป

 รายชื่อผู้ชนะการแข่งขันเรือใบใหญ่ประเภทคีลโบ้ตและมัลติฮัลล์ ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 34

รุ่นไออาร์ซี 0 – เรือ Team Hollywood กัปตันเรย์มอนด์ โรเบิร์ต จากออสเตรเลีย

รุ่นไออาร์ซี 1 – เรือ Char Chan กัปตันคาซูกิ คิฮาระ จากญี่ปุ่น

รุ่นพรีเมียร์ – เรือ Pine Pacific กัปตันอิทธินัย ยิ่งศิริ จากไทย

รุ่นครูซิ่ง – เรือ Fei Jian กัปตันจาค็อบ แฮนด์เท จากสวิตเซอร์แลนด์

รุ่นมัลติฮัลล์ – เรือ 2fast4you กัปตันเฮอร์มานน์ ชวาร์ซ จากออสเตรีย

 รายชื่อผู้ชนะการแข่งขันเรือใบเล็ก อินเตอร์เนชั่นแนล ดิงกี้ คลาส คิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 34

รุ่นออพติมิสต์ชาย – ชนาธิป  ทองกล่ำ จากไทย

รุ่นออพติมิสต์หญิง – ปริญ ทรัพย์ยิ่ง จากไทย

รุ่นสกิฟฟ์โบ้ต – นริสรา สัตตะ และ นิชาภา ไหวไว จากไทย

รุ่นไอแอลซีเอ 4 โอเพ่น – คีแนน ตัน จากสิงคโปร์

รุ่นไอแอลซีเอ 6 โอเพ่น – คู แซคารี จากสิงคโปร์

รุ่นไอแอลซีเอ 7 โอเพ่น – ประกาศิต หงส์ประดับ จากไทย

รุ่นโอเพ่นสกิฟฟ์ – อนันดี ชานดาวาร์คาร์ จากอินเดีย

รุ่น 420 – ทีมของ ปาลิกา พูนพัฒน์ และ จักรภัทร วิริยะกิตติ จากไทย 

รุ่น 470 – ทีมของนาวี  ธรรมสุนทร และ ปณิดา สุขสมพร จากไทย

การจัดงานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าในปีนี้ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตให้กลับมาฟื้นตัว ผ่านส่งเสริมการธุรกิจเรือใบและการท่องเที่ยวทางทะเลให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดงานทุกครั้งที่ผ่านมาสามารถดึงดูดทีมเรือใบและเรือยอชท์กว่า 200 ลำ พร้อมนักกีฬาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินับพันคนจากทั่วโลก ทำให้เกิดเงินสะพัดในจังหวัดภูเก็ตหลายร้อยล้านบาท ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนในท้องถิ่นอย่างมาก

การแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดงานการแข่งขันเรือใบภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ภายใต้การอำนวยการของสโมสรเรือใบราชวรุณ โดยการสนับสนุนจากกองทัพเรือ สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้สนับสนุนการจัดงานคือ กะตะ กรุ๊ป รีสอร์ท, อาร์เอ็มเอ กรุ๊ป, บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และ เวิร์กฟอร์ซ อินเตอร์เนชั่นแนล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พสกนิกรชาวไทยปลื้มปิติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงนำทีมเรือTHA72 ชนะ2เที่ยว

การแข่งขันเรือใบนานาชาติชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ครั้งที่ 35 ประจำปี 2566 ปิดฉากลงอย่างยิ่งใหญ่และสร้างความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น ด้วยได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ จากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน (เป็นการส่วนพระองค์) ทรงร่วมการแข่งขันในทีมเรือใบรุ่นไออาร์ซี ซีโร่ (IRC Zero) หมายเลขเรือ THA72 ซึ่งในการแข่งขันวันสุดท้าย สามารถเข้าเส้นชัยได้เป็นที่ 1 ทั้งสองรอบ เป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาร่วมการแข่งขันครั้งแรกในรอบ 35 ปี

เรือใบภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า2022ยิ่งใหญ่ เรือ182ลำร่วม เรือใหญ่เริ่ม5ธันวาคม

การแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 34 ประจำปี 2565 พร้อมระเบิดความยิ่งใหญ่ของมหกรรมการแข่งขันเรือใบอันทรงเกียรติแห่งเอเชียในวันที่ 3-10 ธันวาคม 2565 ณ หาดกะตะ จังหวัดภูเก็ต โดยกำหนดจัดพิธีเปิดการแข่งขันในวันที่ 4 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 น. ณ โรงแรมบียอนด์ รีสอร์ท กะตะ