ส่องวิถีชุมชนร่วมสมัยที่พิพิธภัณฑ์มีชีวิตบึงกาฬ

สถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชนที่มนุษย์สร้างขึ้นของจังหวัดบึงกาฬ โดยต่อยอดจากพื้นที่แห่งความศรัทธาพญานาคลุ่มน้ำโขง กลายมาเป็นภาพวาดกราฟฟิตี้พญานาคร่วมสมัยแห่งเดียวในโลก ที่ต้องได้มาสัมผัสด้วยตัวตาตัวเองกว่า 100 ภาพถูกวาดกระจายไปตามจุดต่างๆ  เปิดพื้นที่จากการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน โดยผลงานกราฟฟิตี้ส่วนหนึ่งเป็นการทำงานร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม    

เมื่อมาเยือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ จะได้สัมผัสประสบการณ์กับการอนุรักษ์บ้านอีสานอายุกว่า 70 ปีถูกนำปรับปรุงด้วยศิลปะให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต หรือสนใจอยากจะนุ่งโสร่งหรือผ้าซิ่น ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในอาคารไม้ที่คลาสสิก หรือไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นี่มีประติมากรรมพญานาค 3 แห่ง ประกอบด้วย พญาทะนะมูลนาคราชองค์สีเขียว 3 เศียร ให้ได้มากราบขอพร หรือประติมากรรมพญานาค 2 ฝั่งโขงเชื่อมสัมพันธ์มิตรภาพลาว ไทย และพญานาค 4 ตระกูล ประกอบด้วยพญานาคสีทอง สีรุ้ง สีเขียว และสีดำให้บูชา 


เสน่ห์ของที่นี่ที่พลาดไม่ได้คือ การเปิดประสบการณ์ทานอาหารพื้นถิ่นที่เลือกเสิร์ฟในรางไม้ไผ่สไตล์ Local chef’s table แต่ต้องโทรจองล่วงหน้าเท่านั้น และยังมีผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนให้เลือกมากมาย ถ้าต้องการดื่มด่ำในพื้นที่ก็มีวิลล่ามิวเซียม ที่พักในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ใกล้กับประติมากรรมพญานาค หรือหากต้องการพักผ่อนแบบเป็นส่วนตัวก็มีรีสอร์ตพญานาคไว้บริการเช่นเดียวกัน
ครูขาบ – สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง ในฐานะนวัตกรชุมชนศิลปินร่วมสมัย ผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ในหมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ  หัวหอกก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต กล่าวว่า วันนี้ชุมชนเรามีผลผลิตที่เป็นงานศิลปะร่วมสมัยหลากหลาย  ได้แก่ กราฟฟิตี้พญานาคในหมู่บ้าน จำนวน 100 รูป เมื่อรวมกันทั้งอำเภอโซ่พิสัย เราจึงมีกราฟฟิตี้พญานาคมากที่สุดในโลกถึง 200 ตนด้วยกัน ภายในพื้นที่พิพิธภัณฑ์  มีประติมากรรมพญานาค 2 ฝั่งโขง อยู่ในพื้นที่ชุมชน ซึ่งเชื่อมโยงกับกุศโลบายความเชื่อความศรัทธาของผู้คน   รวมทั้งประติมากรรมองค์พญานาค 3 เศียร พญาทะนะมูลนาคราช สถานที่เคารพกราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต นอกจากนี้ มีอาคารสถาปัตยกรรมเรือนไม้อีสานโบราณอายุ 70 ปี ออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “มองเก่าให้ใหม่”  เป็นต้นแบบให้ชุมชนได้หันมาช่วยกันอนุรักษ์ และองค์กรต่างๆ มาศึกษาและนำไปปรับใช้

สำหรับความยั่งยืนด้านรายได้ที่กลับคืนสู่คนในชุมชน ครูขาบบอกว่ามาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องจักสานจากภูมิปัญญาการสานกะติ๊บข้าวร่วมสมัยมากกว่า 50 รูปแบบดีไซน์ การพักค้างคืนโฮมสเตย์ ที่บูรณาการเรื่องวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น เข้ากับประเพณีบายศรีสู่ขวัญของชุมชนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว 

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชิวิต จังหวัดบึงกาฬ พร้อมต้อนรับทุกคนแวะมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ กันได้ภายใต้มาตรการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เที่ยวเมืองพญานาค’บึงกาฬ’ สัมผัสพลังศรัทธา

ชาวบึงกาฬเป็น 1 ใน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง มีความเชื่อ  ความศรัทธา เรื่องพญานาคอย่างเหนียวแน่นสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน  ทำให้พญานาคไปปรากฏในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พบได้จากงานสถาปัตยกรรมตามวัดวาอารามในจังหวัดบึงกาฬ  โดยเฉพาะวัดอาฮงศิลาวาสริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง จุดที่ได้ชื่อว่าลึกที่สุดของแม่น้ำโขง ซึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับความเชื่อเป็นเมืองหลวงพญา