'ประเทือง เอมเจริญ' ศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตจากโควิด

โควิดพรากชีวิต ‘ประเทือง เอมเจริญ’ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ทายาทจัดงานฌาปนกิจที่วัดนิมมานรดี กรุงเทพฯ ศิลปิน-คนวงการศิลปะร่วมอาลัย

7 มี.ค.2565 – นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า นายประเทือง 
เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช  2548  ถึงแก่กรรม เมื่อวันจันทร์ที่ 7  มีนาคม 2565  เวลาประมาณ 04.00  น. ณ  โรงพยาบาลราชพิพัฒน์  เลขที่ 18 ถนนพุทธมลฑลสาย 3 ซอย 10 แขวงบางไผ่  เขตบางแค  กรุงเทพมหานคร  เนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สิริรวมอายุ 87  ปี  โดยทายาทจัดการทำพิธีฌาปนกิจศพ ณ วัดนิมมานรดี  วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565  สำหรับเวลาที่แน่นอนต้องรอการประสานยืนยันจากทางวัด และการจัดงานดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

” กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ 
ได้มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาทตามระเบียบสวัสดิการของศิลปิน” นายชาย กล่าว

สำหรับประวัติ นายประเทือง    เอมเจริญ   ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  (จิตรกรรม)  พุทธศักราช  2548   เกิดเมื่อวันที่  9  ตุลาคม  2478  เป็นศิลปินที่สร้างผลงานศิลปะอย่างสืบเนื่องยาวนานตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี  และได้ศึกษาศิลปะด้วยตนเองอย่างมุ่งมั่น  อดทน  ด้วยการศึกษาค้นคว้างานทางศิลปะอย่างหนัก  ศึกษาปรัชญาชีวิตทั้งศิลปะของอินเดีย  จีน  และศึกษาธรรมชาติโดยเฉพาะดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังแห่งแสงสว่าง  จนเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นรูปแบบของตนเอง  มองโลกในแง่ดี  เชื่อในคุณความดี  สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบการผสมผสานระหว่างสิ่งที่รับรู้จากธรรมชาติ  กับสิ่งที่มีอยู่ในตัวเขาทำให้ถ่ายทอดความงามที่มีอยู่ในธรรมออกมาอย่างมีพลังซึ่งได้กลายมาเป็นผลงานชุดจักรวาลอันมีชื่อเสียง

นอกจากนี้  นายประเทือง   เอมเจริญ  ยังได้สร้างศิลปะสถานเอมเจริญ  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและเผยแพร่ผลงานศิลปะของศิลปินต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้สนใจได้เข้าชมและศึกษางานด้านศิลปะ  ทั้งยังได้รับเกียรติเป็นประธานเปิดงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ  เป็นศิลปินรับเชิญเขียนภาพเพื่อการกุศลมากมาย  เป็นผู้ถ่ายทอดงานศิลปะให้แก่ผู้สนใจตามโรงเรียน  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ   สาขาทัศนศิลป์  (จิตรกรรม) พุทธศักราช  2548

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ สืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย

10 เม.ย. 2567 - ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดพิธีรดน้ำขอพรแสดงมุทิตาจิตแด่ศิลปินแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

รวมพลังศิลปินวาดภาพ'กรมสมเด็จพระเทพฯ'

ศิลปินทั่วฟ้าเมืองไทยรวมพลังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเทิดพระเกียรติองค์’วิศิษฎศิลปิน’  ด้วยความน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

อธิบดี สวธ. เยี่ยม2ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ที่ จ.นครราชสีมา ให้กำลังใจสร้างงานวัฒนธรรม

21 มี.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) พร้อมด้วย นางพรนิภา บัวพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติฯ นางสาวศิวพร

เผยแพร่ผลงาน 8 ศิลปินแห่งชาติ

กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลโครงการและกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ประจำปี 2567 โดยมีโครงการของศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้รับการสนับสนุนเผยแพร่งานมาสเตอร์พีซและมีชื่อเสียง ได้แก่ โครงการ "นิทรรศการบ้านคำปุน"

‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี