รำลึกวันสวรรคตในหลวงร.9 ครบรอบ 36 ปี แห่งการถวายพระราชสมัญญา'อัครศิลปิน'

หลังครองราชสมบัติ   พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีความสนพระทัยในงานศิลปะ โดยนับตั้งแต่ช่วงประมาณ พ.ศ. 2502 – 2510  ทรงสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไว้มากถึง 167 ภาพ  โดยมีทั้งผลงาน ที่เป็นสีน้ำมัน สีชอล์ก และสีน้ำ บนผืนผ้าใบ แผ่นไม้อัด หรือกระดาษ  และยังทรงนำวัสดุที่เหลือใช้หรือใช้แล้วมาดัดแปลง ทำเป็นกรอบรูปหลากหลายรูปแบบอีกด้วย 


ภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่ทรงรังสรรค์  มีหลากชนิตทั้งภาพเหมือน( Portrait) ภาพแบบเอ็กซ์เพรสซันม์(Expressionism) ภาพแบบคิวบิสม์ (Cubism) ภาพแบบนามธรรม( Abstract) และ ภาพแบบกึ่งนามธรรม (Semi-abstract) 
ในเพจ Great Stars ได้ให้ข้อมูลว่า หม่อมเจ้า การวิก จักรพันธุ์ ศิลปินสมัครเล่นที่ทรงใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เคยตั้งข้อสังเกตุการทรงงานศิลปะของในหลวงร. 9 ว่า 


“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มเขียนภาพเหมือน ซึ่งเหมือนจริงและละเอียดมากแต่ต่อมาได้ทรงวิวัฒน์ เข้ากับภาพของจิตรกร สมัยใหม่ และทรงค้นคว้าหาทางใหม่ ๆ แปลกๆ ที่จะแสดงออก ซึ่งความรู้สึกของพระองค์ โตยไม่ต้องกังวลกับความเหมือน อันจะมีอิทธิพลบังคับไม่ให้ปล่อยความรู้สึกออกมาได้อย่างอิสระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินโดยแท้ “

ด้วยพระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศ ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์หลายสาขา จนเป็นที่ประจักษ์ชัด ทำให้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือ ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน”

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565  กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้จัดงาน สานสัมพันธ์เครือข่ายรวมใจรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ และในโอกาสครบรอบ 36  ปี แห่งการถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ศิลปินแห่งชาติ เครือข่ายวัฒนธรรมในพื้นที่ จึงเข้าร่วมพิธีรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ หออัครศิลปิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานพิธี จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยและถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จ-พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมกันขับร้องเพลงพ่อแห่งแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2565  และครบรอบ 36 ปี การถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” โดยมีนางโชติกา อัครกิจโสภากล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั้งหน่วยงานภาคราชการและเอกชนในจังหวัดปทุมธานี  พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมน้อมสำในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติอัครศิลปิน ห้องแสดงผลงานศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และวรรณศิลป์  พร้อมรับชมการแสดงทางวัฒนธรรม ได้แก่ การแสดงดนตรีไทย นาฏศิลป์ และการแสดงดนตรีร่วมสมัย

หออัครศิลปิน

นายอิทธิพล  กล่าวว่า เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เหล่าพสกนิกรชาวไทย ต่างน้อมจิตตั้งมั่นเพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อีกทั้งทรงพระราชวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลขจรไปทั่วทุกทิศานุทิศ

นิทรรศการเทิดพระเกียรติ


“ปี 2565นี้ เป็นวาระครบรอบ 36 ปี ของการถวายพระราชสมัญญาอัครศิลปิน พระองค์ท่านได้ทรงเป็นแบบอย่างที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ในด้านศิลปะหลากหลายแขนง ทรงให้การสนับสนุน ส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ รวมทั้งทรงอุปถัมภ์งานศิลปะของไทย อันเป็นรากฐานให้งานศิลปะทุกสาขา มีความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป”นายอิทธิพลกลาว

รมว.กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินทุกสาขา และในนามพสกนิกรชาวไทย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะขอสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดี จะยึดมั่นในการปฏิบัติดี รักษาชาติบ้านเมือง และสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน สนองพระมหากรุณาธิคุณ จะน้อมนำพระบรมราโชวาทมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานพระราชปณิธานตามรอยพระยุคลบาทอัครศิลปิน อนุรักษ์ สืบสาน มรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ เพื่อความสุข ความเจริญ และความมั่นคงของชาติสืบไป

จัดแสดงภาพฝีพระหัตถ์

เพื่อร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไป เข้าชมนิทรรศการแสดงผลงาน “อัครศิลปิน” และนิทรรศการพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปวัฒนธรรมของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ “วิศิษฏศิลปิน” พร้อมรับชมนิทรรศการประวัติผลงานของศิลปินแห่งชาติ ทั้ง 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง ณ หออัครศิลปิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ทางเฟซบุ๊กหออัครศิลปิน facebook.com/artist.hall หรือโทร 0981808522 , 0930959665 และติดตามข่าวสารกิจกรรมทางวัฒนธรรม ได้ทาง www.culture.go.th หรือเฟซบุ๊กกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ Line @วัฒนธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.เปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ชวนสัมผัสวัฒนธรรมล้านนาฉลองมรดกโลก

15 เม.ย.2567 - สงกรานต์เชียงใหม่คึกคัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

วธ.เปิดสงกรานต์ปีใหม่ไทยวัดสุทัศน์ฯ นทท.คึกคัก ทั่วไทยร่วมสืบสานความงามประเพณี

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

นิทรรศการประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทยที่หอศิลป์กรุงเทพฯ จัดใหญ่โชว์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย

11 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดงาน “นิทรรศการประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” เนื่องในโอกาสที่ ประเพณี

วธ.จัดใหญ่มหาสงกรานต์ เปิดไฮไลต์ กทม. - 5 จังหวัด ฉลองมรดกโลก

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) แถลงข่าวการจัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival)ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธนนมแห่งประเทศไทย เมื่อวานนี้ โดย

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ