อนาคต 'หัวลำโพง' พลิกสู่พื้นที่สร้างสรรค์กลางเมือง

เวลานี้”หัวลำโพง”หรือสถานีรถไฟกรุงเทพ ต้องเปลี่ยนพื้นที่สู่บทบาทใหม่ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปที่สถานีกลางบางซื่อแทน ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง มีคนจำนวนมากเข้าไปถ่ายรูปกับสถานีรถไฟหัวลำโพงเพื่ออำลาและเก็บไว้เป็นความทรงจำ

        ขณะเดียวกันมีการระดมความเห็นหาทิศทางว่า ควรจะพัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นที่ใจกลางเมือง”หัวลำโพง” ที่มีขนาดใหญ่ถึง 121 ไร่ ให้กลายเป็นอะไร ซึ่งคณะนักวิจัยจาก 5 สถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันอาศรมศิลป์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  ร่วมกันศึกษา โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผลวิจัยจะฉายภาพว่า ถ้าคนไทยมาใช้งานใช้ประโยชน์ในพื้นที่และอาคารต่างๆ เราควรออกแบบหัวลำโพงให้เป็นพื้นที่แบบไหน ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของหัวลำโพงจะเป็นเช่นไร

 สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ”หัวลำโพง” อยู่คู่กรุงเทพฯ มากว่า 105 ปี     

       ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ประธานสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการแผนงานการศึกษาเพื่อวางกรอบ“ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) กล่าวว่า โครงการเริ่มศึกษาตั้งแต่ ส.ค. 2563 ระยะเวลา ปี เป็นการวิจัยแบบสหวิทยาการ  ที่ใช้องค์ความรู้จากหลายศาสตร์ เก็บข้อมูลจาก 9 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุกช่วงวัย  บุคลากรสถานีรถไฟหัวลำโพง ผู้ใช้บริการ องค์กรภาครัฐ ภาคการลงทุน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคการท่องเที่ยว

              นักวิจัยจากจุฬาบอกกระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ เน้นวิจัยคุณค่าเชิงอนุรักษ์และนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ หัวลำโพงเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนานกว่า 105 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการวางรากฐานการคมนาคมในสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้ แผนวิจัยมีโครงการ 3 ย่อย ซึ่งบูรณาการระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ  ทั้งสถาปัตยกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  ตลอดกระบวนการวิจัยเปิดให้หลายภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของหัวลำโพงด้วย

           “ประชาชนเป็นทั้งผู้ร่วมคิด มีส่วนร่วมออกแบบในฐานะผู้ใช้ประโยชน์  และเป็นผู้รับผิดชอบต้องช่วยกันรักษาสมบัติของคนไทย  จากการวิจัยชัดเจนว่าประชาชนเห็นสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นของคนไทยทุกคน ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ กล่าว

เดินหน้าอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ

          "หัวลำโพง" จะพลิกโฉมสู่บทบาทใหม่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงย่านเมืองเก่าและย่านการค้าใหม่ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลาย

          ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ เผยผลการวิจัยเฟสแรกศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และความต้องการทางสังคม แนวทางพัฒนาต้องทำให้หัวลำโพงเป็นพื้นที่ที่พึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจ และเป็นจุดเชื่อมโยงกับย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เช่น เยาวราช วงเวียน 22 กรกฎาคม ตลาดน้อย ฯลฯ และเชื่อมโยงกับย่านการค้าใหม่ ยอดนิยมที่เรียงรายบนถนนพระราม ยาวไปจนถึงเขตคลองเตย

            ภาพที่สังคมวาดฝันจากผลวิจัยสอดคล้องกับแนวคิดของ รฟท.ที่ได้วางแผนลงทุนพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงให้เป็น บ้านรถไฟ โดยจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟและวางโครงการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ในเส้นทางเลียบทางรถไฟในลักษณะสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นและพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ บูรณาการร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่า

คนกทม.ถ่ายรูปกับสถานีรถไฟหัวลำโพงเก็บไว้เป็นความทรงจำ     

           แนวทางพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพงจากผลวิจัยเฟสที่ 1  คณะนักวิจัยหลายสถาบันต่อยอดสู่การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟ   จนได้ข้อเสนอลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่างๆ รูปแบบ

   แบบที่ 1 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด มีสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 30

    แบบที่ 2 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด ร้อยละ 30 รองลงมา  ลานกิจกรรม พื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่อนุรักษ์ ในสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 18  

     แบบที่ 3 พื้นที่ใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด ร้อยละ 40 รองลงมา  ลานกิจกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ในสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 18

     “ พบว่าทั้ง แบบเป็นทางเลือกที่คนในสังคมยอมรับได้ แต่อาจจะต้องมีการชดเชยในสิ่งที่คนในสังคมสูญเสียไป เช่น บางคนอาจไม่รู้สึกว่า ได้รับประโยชน์จากการใช้พื้นที่เป็นศูนย์การค้า “ ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ บอก

       นอกจากนี้ ทีมวิจัยมีการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงินเพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพพื้นที่หัวลำโพง และการศึกษาระบบโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่หัวลำโพงแบ่งเป็น ส่วนย่อย คือ ระบบเชื่อมโยงพื้นที่ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง และระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย อาทิ รถประจำทาง รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า BTS และ MRT และเรือ   โดยมีสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นจุดศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ

        ปฏิเสธไม่ได้ว่า หัวลำโพง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพฯ การศึกษาครั้งนี้นำเสนอ 4 เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียงในรูปแบบเสมือนจริง  (Virtual Tour)  https://hlpvirtualtour.com  ธีม”เที่ยวนอกราง” โดยแฮม วันวิสข์  เนียมปาน  แฟนพันธุ์แท้รถไฟไทยกูรูคอยให้คำแนะนำเล่าเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจแต่ละจุดหมายระหว่างทาง

เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพง-ถนนเจริญกรุง แสดงศักยภาพพื้นที่

         เส้นทางที่ 1 หัวลำโพง-ถนนเจริญกรุง สถานีรถไฟกับถนนสายแรกในกรุงเทพที่มีเอกลักษณ์ เส้นทางพาไปสัมผัสประวัติศาสตร์คลาสสิคที่ยังคงอยู่ทุกวันนี้เหมือนย้อนเวลาไทม์แมชชีน เส้นทางที่ 2  หัวลำโพง-ชุมชนวัดดวงแขและชุมชนตรอกสลักหิน ย่านชุมชนการค้าและอยู่อาศัยคู่กับหัวลำโพง ถ้าชอบเรื่องราววิถีชุมชนคลิกเลย

 พลิกโฉมหัวลำโพงเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวมาบรรจบตลาดน้อย แวะโบสถ์กาลหว่าร์

      เส้นทางที่ 3 หัวลำโพง-เยาวราช การขนส่งระบบรางกับไชน่า ทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก    พาไปดื่มด่ำกลิ่นอายวัฒนธรรมและบรรยายแบบจีน เดินสายขอพรเสริมสิริมงคลที่วัดและศาลเจ้าย่านเยาวราช  และเส้นทางที่ 4 หัวลำโพง-ตลาดน้อย ย่านอยู่อาศัยและการค้าตักลั๊คเกี๊ย สู่ย่านฮิบ-ชิค-คูล เด่นที่ผสานอดีตกับความทันสมัยมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร  

เที่ยวนอกรางจากสถานีหัวลำโพงมาบ้านเลขที่ 1 ย่านประวัติศาสตร์บางรัก 

            พัฒนาพื้นที่ใหญ่ใจกลางกรุงอย่างหัวลำโพงทุกภาคส่วนสังคมร่วมวาดฝันหัวลำโพง เหตุนี้  ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ บอกว่า    การวิจัยระยะที่ 2  เน้นการสื่อสารสู่สาธารณะสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง และเกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ทั้งกลุ่มผู้ที่อาศัยบริเวณพื้นที่หัวลำโพง บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหัวลำโพง ผู้ที่ใช้บริการที่หัวลำโพง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคการท่องเที่ยว นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาปนิก นักอนุรักษ์ เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ  ภาคประชาสังคม รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  มีการสื่อสารและรับฟังความเห็นผ่านช่องทาง Facebook Fanpage โครงการฯ  สำรวจความคิดเห็นผ่าน Google Form ในช่วงโควิด-19 มีการปรับรูปแบบการเก็บข้อมูลและการทำงานหลายด้านให้สอดคล้องกับสถานการณ์  

หัวลำโพงเป็นจุดเชื่อมโยงย่านเก่ากรุงเทพ วงเวียน22กรกฎาคม

             ภาพอนาคตเหล่านี้ ผู้อำนวยการแผนงานฯ ย้ำว่ามีประโยชน์ รฟท. และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไปใช้งานขับเคลื่อนเชิงนโยบายและเป็นกรอบในการประกวดแบบการพัฒนาหัวลำโพง เชิงพาณิชย์นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมกรุงเทพฯ สามารถนำผลวิจัยการบริหารจัดการด้านลงทุนไปใช้เป็นแนวทางร่วมลงทุนในพื้นที่หัวลำโพง ทั้งจัดการท่องเที่ยวและการประกอบการเชิงสร้างสรรค์
           “ กระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการวิจัยเป็นการเผยแพร่ทำความเข้าใจกับผู้คนกลุ่มต่างๆ  ให้รับรู้ถึงคุณค่าการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยรวมถึงคนได้แสดงความคิดเห็นนำไปสู่การได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน  ผอ.แผนงานกล่าวในท้ายเชื่อกระบวนการวิจัยมีส่วนร่วม ลดความเห็นต่าง สร้างความเห็นร่วม นำไปสู่ข้อสรุปในบทบาทหน้าที่ ประโยชน์ใช้สอย โดยเฉพาะกับชุมชนที่อยู่รอบพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ร่วมวางอนาคตหัวลำโพงไปพร้อมกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ม.ขอนแก่นประกาศ รายชื่อ 15 ศิลปินมรดกอีสาน 'เทพโพธิ์งาม-ปูพงษ์สิทธิ์' สาขาศิลปะการแสดง

มหาวิทยาลัยขอนแก่นประกาศรายชื่อผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2567

'เบิร์ด ธงไชย' ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ชมโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ

เพิ่งจบคอนเสิร์ตใหญ่ไปหมาดๆ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ จัดเวลาดูโขนร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม เป็นแบบอย่างของคนไทยที่ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของการแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ

“เสริมศักดิ์” รมว.วัฒนธรรม เปิดนิทรรศการผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “เมือง นคร บุรี” ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่นสร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชน

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฯ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ Creative Lab ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ กรุงเทพฯ

รฟท.เล็งเปิดหัวลำโพงจัดอีเวนต์สำคัญของประเทศ

รฟท.ลุยเปิดสถานีหัวลำโพง ยกระดับเป็นแลนด์มาร์กการจัดกิจกรรมที่สำคัญของประเทศ หวังเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์หัวลำโพงเป็นมรดกสำคัญทางประวัติศาสตร์ ย้ำไม่กระทบต่อการเดินทางของประชาชน