ว้าวไทยแลนด์! 'วราวุธ' เปิดวิสัยทัศน์ ชูคาร์บอนเครดิต สร้างความมั่งคั่ง ประเทศยั่งยืนเพื่อลูกหลานไทย

1 มี.ค.2566-ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และว่าที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน, ผศ.ดร.สันติ กีระนันทน์ กรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา และทีมงานของพรรคฯ พบปะสื่อมวลชนในประเทศ และต่างประเทศ พร้อมตอบข้อซักถาม ในงานแถลงนโยบาย เรื่อง “จากสิ่งแวดล้อมไทย สู่สิ่งแวดล้อมโลก : ความมั่งคั่ง โอกาส และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน” (From Thai Environments to Global Environments : Wealth, Opportunity and Welfare For All.) โดยเป็นการอธิบายยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย ของพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ใช้เรื่อง “สิ่งแวดล้อม” เป็นจุดขายในการเลือกตั้งที่สามารถทำได้จริง และทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำในเวทีโลก

นายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงนโยบาย “ว้าว ไทยแลนด์” (WOW Thailand) ว่ามาจากคำว่า W = Wealth ความมั่งคั่ง O = Opportunity โอกาส และ W = Welfare For All คุณภาพชีวิต ที่ดีของทุกคน ซึ่งการกำหนดเป้าหมาย Sustainable country for all GENs สร้างประเทศที่ยั่งยืน เพื่อลูกหลานไทย ซึ่งเป็น Global Vision ของพรรค มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน The Sustainable Development Goals (SDG) ทั้ง 17 ข้อ ของสมัชชาสหประชาชาติที่เป็นกรอบการพัฒนาโลก ในอนาคต ที่จะทำให้สำเร็จร่วมกันในปี ค.ศ.2030 รวมถึงการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Net Zero ในปี ค.ศ.2050 ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นไว้ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี 2564 และ ในการประชุม COP27 ที่เมืองชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ เมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา

นายวราวุธ ยังกล่าวด้วยว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สนับสนุน ให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่ลงนามข้อตกลงถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต กับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภายใต้ ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส และถือเป็นประเทศคู่แรกของโลกที่ทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างกัน และเป้าหมายต่อไป คือ การสร้างศูนย์กลางคาร์บอนเครดิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีมาตรฐานด้านการวัด ประเมิน กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน การรับรองผลการตรวจประเมิน การสร้างตลาดซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต และการร่วมมือ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านคาร์บอนเครดิต โดยมีประเทศไทยเป็นแกนหลักในภูมิภาคอาเซียน

ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ปี ค.ศ.2019 มีปริมาณ 372 ตัน มีการดูดซับสุทธิ 92 ล้านตัน ทำให้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิอยู่ที่ 280 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 56.8 ล้านตัน หรือร้อยละ 15 มาจากภาคการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 28.7 ล้านตัน หรือร้อยละ 50 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคการเกษตร ดังนั้นแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนา จึงมีแนวคิดที่จะเร่งขยายการตรวจวัด Carbon Net ที่ได้มาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ และกำหนดตำแหน่งของแปลงการเกษตร ตรวจวัดอายุรายแปลง ให้ได้มาตรฐาน ในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ ทั้ง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว ไม้ผลยืนต้น ป่าไม้ สวนป่า ป่าเสื่อมโทรม ป่าฟื้นตัว และคาร์บอนในดิน และนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการไฟป่าอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างแบบจำลองจุดที่เกิดไฟป่าซ้ำซาก เพื่อกำหนดมาตรฐานการป้องกัน การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตจากไฟป่า โดยให้ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และได้รับประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ซึ่งหากทำได้จะช่วยลดปัญหาวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ได้

นอกจากนี้ จะต้องสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ หรือ Excellence Center ด้านคาร์บอนเครดิต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อการวัดประเมิน และยกระดับมาตรฐาน Carbon Net ผ่านการถ่ายทอดและร่วมมือทางวิชาการ และการปฏิบัติภาคสนามกับประเทศในภูมิภาค การทำแผนวิจัยและพัฒนาด้านคาร์บอนเครดิต เพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียม และสร้างความยั่งยืน ไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมาย และ แก้ไขกฎเกณฑ์การใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อการกีดกันทางการค้า และสร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา

ผศ.ดร.สันติ กีระนันทน์ กรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานีตรวจวัด ก๊าซเรือนกระจก หรือ สถานีตรวจวัดจุลอุตุนิยมวิทยา ที่มีข้อมูลรายละเอียดพื้นที่และความเป็นเจ้าของคาร์บอนเครดิตของแต่ละบุคคล สามารถนำข้อมูลเบื้องต้นมาสร้างเป็น Carbon credit token และใช้ Blockchain technology ในการเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และใช้เป็นสินทรัพย์ในการซื้อขายซึ่งมูลค่าจะขึ้นอยู่กับมาตรการอันเป็นที่ยอมรับในสากล

นายวราวุธ กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า นโยบาย “ว้าว ไทยแลนด์” ทุกนโยบาย มาจากการทำงานของรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกพรรคทุกคน ที่ลงพื้นที่ “รับฟัง” ปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการของคนไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ จนเกิดเป็นนโยบายที่ “ทำได้จริง” และ “ทำกันมาแล้ว” โดยเฉพาะ 10 นโยบายที่เปิดออกมา ถึงจะไม่ได้ลด แลก แจก แถม เหมือนพรรคการเมืองอื่น ๆ แต่ทุกนโยบายจะเน้นการสร้างความยั่งยืน สร้างสวัสดิการ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อลูกหลานของคนไทยในอนาคต โดยเชื่อว่าถ้าทุกคนร่วมมือกัน ทุกอย่างก็สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วราวุธ' ชี้ปมน้องไนซ์เชื่อมจิต ส่งทีมประเมินสภาพจิตใจ ยึดพรบ.คุ้มครองเด็ก

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์กรณีความคืบหน้า กระทรวง พม. กับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ. ) ดำเนินการตรวจสอบเรื่องน้องไนซ์เชื่อมจิ

‘วราวุธ’ ห่วงไทยเจอวิกฤตขาดแคลนล่ามภาษามือ หนุนจัดหลักสูตรอบรมด่วน

รมว.พม. ชี้ไทยเจอวิกฤตขาดแคลนล่ามภาษามือ หนุน กรม พก.-สถาบันราชสุดา ม.มหิดล-ม.สวนดุสิต-ส.ล่ามภาษามือ-ส.คนหูหนวก เร่ง จัดหลักสูตร อบรม ด่วน

พปชร. เดินหน้าเสนอร่างพรบ.ลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต เข้าสภาฯ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เตรียมที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิตพ

สองหัวดีกว่าหัวเดียว! ‘วราวุธ’ หนุนนายกฯดึง ‘ทักษิณ’ ร่วมลงพื้นที่

‘วราวุธ’ มอง ’เศรษฐา’ ดึง ‘ทักษิณ’ ร่วมลงพื้นที่เป็นเรื่องดี-เป็นประโยชน์ต่อรบ. ชี้ทำงานสองหัวดีกว่าหัวเดียว รับ เป็นเรื่องปกติฝ่ายโจมตีมองแง่ลบ

'วราวุธ' กำชับ สส.ชทพ. เฝ้าสภาฯฟังฝ่ายค้านอภิปราย มองเป็นโอกาสดีรัฐบาลได้ชี้แจง

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นประธานสภาเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 กล่าวหารัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี