เช็กเลย! ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจคาด เพื่อไทย - ภูมิใจไทย 2 พรรคคว้าเก้าอี้ส.ส.เขต ทะลุร้อยที่นั่ง  

16 เม.ย. 2566 – สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลการศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง โพล เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 4 : ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ (ภูมิภาค) กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 400 เขตเลือกตั้งและผลการประมาณการจำนวน 100 ที่นั่งผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ดำเนินโครงการศึกษาแหล่งข้อมูลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยเครื่องมือประเมินขั้นสุทธิ (Net Assessment) จำนวนตัวอย่างในการศึกษาเพื่อประมาณการรวมทั้งสิ้น 6,990 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 15 เมษายน พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

เมื่อพิจารณาความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.5 หรือประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37,431,819 คน จะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 29.5 หรือ ประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 15,662,959 คน จะไม่ไปเลือกตั้ง

ที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งจำนวน 400 ที่นั่ง จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ที่เป็นกลุ่มจังหวัดในแต่ละภูมิภาค พบอย่างชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทยมีความเป็นไปได้ที่จะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งแบบแลนสไลด์ในภาคอีสานและภาคเหนือ โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะได้ 133 ที่นั่งหรือร้อยละ 33.3 ของจำนวนทั้งหมดทั่วประเทศ พรรคเพื่อไทยจะได้ ส.ส.เขตจำนวน 24 ที่นั่งหรือร้อยละ 64.9 ของจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดในภาคเหนือและในอีสาน พรรคเพื่อไทยจะได้ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 78 ที่นั่งหรือร้อยละ 58.6 ของจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดในภาคอีสาน แต่พบว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะไม่ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเลยในภาคใต้ในการศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า พรรคเพื่อไทย ได้ 8 ที่นั่งหรือร้อยละ 24.2 ในกรุงเทพมหานคร ได้ 18 ที่นั่งหรือร้อยละ 20.2 ในภาคกลาง พรรคเพื่อไทยยังได้ 4 ที่นั่งหรือร้อยละ 13.8 ในตะวันออก และ 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 5.0 ในภาคตะวันตก

ที่น่าพิจารณาคือ พรรคภูมิใจไทย ที่ได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งมาเป็นอันดับสอง คือ 101 ที่นั่งทั่วประเทศหรือร้อยละ 25.3 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมด โดยภาพของจำนวนที่นั่ง ส.ส. กระจายไปในทุกกลุ่มจังหวัดของแต่ละภาค โดย พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.เขตเลือกตั้ง มากที่สุด ในภาคตะวันตก จำนวน 10 ที่นั่งหรือร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือกระจายแทรกเข้าไปแต่ละภูมิภาคจำนวนมาก ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 5 ที่นั่งหรือร้อยละ 13.5 กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 24.2 อีสานจำนวน 36 ที่นั่งหรือร้อยละ 27.1 กลางจำนวน 26 ที่นั่ง หรือร้อยละ 29.2 ภาคตะวันออก จำนวน 6 ที่นั่งหรือร้อยละ 20.7 และภาคใต้จำนวน 10 ที่นั่งหรือร้อยละ 16.9 ในการศึกษาครั้งนี้

ในขณะที่ พรรคพลังประชารัฐ กลับขึ้นมาเป็นอันดับสามจำนวน ส.ส.เขต 53 ที่นั่งหรือร้อยละ 13.3 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ โดยกระจายไปแต่ละกลุ่มจังหวัดของภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือจำนวน 6 ที่นั่งหรือร้อยละ 16.2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 6.1 อีสาน จำนวน 10 ที่นั่งหรือร้อยละ 7.5 ภาคกลางจำนวน 17 ที่นั่งหรือร้อยละ 19.1 ตะวันออกจำนวน 8 ที่นั่งหรือร้อยละ 27.6 ตะวันตกจำนวน 3 ที่นั่งหรือร้อยละ 15.0 และภาคใต้ จำนวน 7 ที่นั่งหรือร้อยละ 11.9

ผลการศึกษาพบด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์ ตามมาอันดับที่สี่จำนวน ส.ส.เขต 44 ที่นั่งหรือร้อยละ 11.0 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.เขตเลือกตั้ง จำนวน 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 2.7 ในภาคเหนือ ได้ 3 ที่นั่งหรือร้อยละ 9.1 ในกรุงเทพมหานคร ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 1.5 ในอีสาน ได้ 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 1.1 ในภาคกลาง ได้ 7 ที่นั่งหรือร้อยละ 24.1 ในภาคตะวันออก ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 10.0 ในภาคตะวันตก และ ได้ 28 ที่นั่งหรือร้อยละ 47.5 ในภาคใต้ที่อาจกล่าวได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ แลนด์สไลด์ในภาคใต้แบบยกจังหวัดก็เป็นไปได้ในการศึกษาครั้งนี้

นอกจากนี้ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อันดับห้าจำนวน ส.ส.เขต 35 ที่นั่งหรือร้อยละ 8.8 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ โดยพรรครวมไทยสร้างชาติมีความเป็นไปได้จะได้ ส.ส.เขตเลือกตั้งจำนวน 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 2.7 ในภาคเหนือ และได้ 6 ที่นั่งหรือร้อยละ 18.2 ในกรุงเทพมหานคร ได้ 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 0.8 ในอีสาน ได้ 13 ที่นั่งหรือร้อยละ 14.6 ในภาคกลาง ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 6.9 ในภาคตะวันออก ได้ 3 ที่นั่งหรือร้อยละ 15.0 ในภาคตะวันตกและได้ 9 ที่นั่งหรือร้อยละ 15.3 ในภาคใต้

ในขณะที่ พรรคก้าวไกล ได้อันดับที่หก จำนวน ส.ส.เขต 10 ที่นั่งหรือร้อยละ 2.5 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส.เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศโดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้ ส.ส.เขตเลยในภาคเหนือ ได้ 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 3.0 ในกรุงเทพมหานคร ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 1.5 ในอีสาน ได้ 5 ที่นั่งหรือร้อยละ 5.6 ในภาคกลาง ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 6.9 ในภาคตะวันออก ในขณะที่ไม่พบเลยในภาคตะวันตกและภาคใต้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซูเปอร์โพลชี้ เด็ก- เยาวชน สนใจการเมืองแต่อยากเห็นการทำงานโปร่งใส

ดร.ชาญวิชย์ อริยาวรนันต์ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เด็กคิดอย่างไรต่อการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนอายุ 14 – 19 ปี ทุกภูมิภาคของประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,089 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม พ.ศ.2568 ที่ผ่านมา

นักวิชาการชี้เปรี้ยง พท.- ทักษิณ กวาด นายกอบจ. เรียบ ส่วนพรรคส้มร่วง

นักวิชาการชี้เปรี้ยง พท.-ทักษิณ โอกาสสูงกวาดนายกอบจ.เกือบหมด! ส่วนพรรคส้ม ปาดเหงื่อ เสี่ยงร่วงปักธงไม่สำเร็จ แต่สจ.ได้หลายจังหวัด   

เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง

ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค

กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD

กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา