
‘อดีตรองอธิการ มธ.’ ขอเคลียร์ประเด็นโพสต์วิจารณ์ อมธ. ประกาศใช้ ‘มอญดูดาว’ แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ยันไม่ได้ดุดันเกรี้ยวกราด
11 ก.ค. 2565 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความจริงควรจะจบเรื่องประกาศขององค์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) กรณีเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองไปแล้ว แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนของผมที่ตามมาทำให้ต้องกลับมาเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
ผมเขียนเรื่องนี้ 2 โพสต์ โพสต์แรกแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกาศของ อมธ. ที่จะใช้เพลงมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่ อมธ. เป็นผู้จัด พูดอีกอย่างคือจะยกเลิกการใช้เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองในทุกกรณี โดยอ้างผลสำรวจที่ อมธ. เรียกว่า ประชามติ นั่นเอง
โพสต์ที่ 2 ผมเขียนวิจารณ์คำชี้แจงของมหาวิทยาลัยต่อเรื่องดังกล่าวว่า ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยจะยังคงเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองไว้ แต่ในกรณีของ อมธ. คำชี้แจงค่อนข้างคลุมเครือ
ผมไม่แน่ใจว่าผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนของผมได้อ่านโพสต์ของผมทั้ง 2 โพสต์หรือไม่ หรืออ่านเพียงโพสต์ที่ 2 เท่านั้น เพราะบางคนอาจเข้าใจว่า ผมกดดันมหาวิทยาลัยให้หยุดการกระทำของ อมธ. แต่ข้อเท็จจริงคือผมได้วิจารณ์ว่า วิธีการได้ข้อมูลที่ อมธ. ใช้เป็นเหตุผลของการที่ไม่ใช้เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ว่าไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชามติ และได้ตั้งคำถามขอให้มหาวิทยาลัยวินิจฉัยว่า อมธ. มีอำนาจทำเช่นนี้ได้หรือไม่ เพราะ อมธ. เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่องค์กรอิสระ หากวินิจฉัยว่าไม่มีอำนาจ มหาวิทยาลัยจะดำเนินการอย่างไร หากวินิจฉัยแล้วว่า เป็นเสรีภาพของ อมธ. มหาวิทยาลัยก็ควรแสดงจุดยืนของมหาวิทยาลัยเองให้ชัดเจน ว่ามหาวิทยาลัยจะยังคงใช้เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองต่อไปหรือไม่ เพราะศิษย์เก่าจำนวนมากต้องการทราบ ผมต้องการเพียงเท่านั้น
ขอยืนยันว่า แม้ผมไม่ได้เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้คัดค้านการที่ อมธ. จะใช้เพลงมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง แต่ผมข้องใจว่า ทำไม อมธ. ต้องออกประกาศอย่างครึกโครมให้เป็นข่าวไปทั่วประเทศด้วย ซึ่งผมได้เขียนข้อความส่วนหนึ่งในโพสต์แรกไว้ดังนี้
“ความจริงหาก อมธ. จัดกิจกรรมเป็นการภายในแล้ว จะเปิดเพลงทำนองมอญดูดาวเสมือนหนึ่งเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ก็คงไม่มีใครไปจ้องจับผิด และยิ่งไม่มีใครไปขัดขวาง แต่การประกาศอย่างเป็นทางการเช่นนี้ โดยอ้างผลการสำรวจที่อ้างว่าเป็นประชามติ ซึ่งความจริงไม่ใช่ประชามติ จะแปลความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกเสียจากว่า อมธ. ต้องการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับในสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่”
ส่วนที่ผมวิจารณ์ว่าคำชี้แจงของมหาวิทยาลัยค่อนข้างคลุมเครือ ก็เพราะความหมายของประกาศของ อมธ. คือ จะใช้เพลงมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองในทุกกิจกรรมที่ อมธ. เป็นผู้จัด ซึ่งต้องถามว่าตามปกติ เราใช้เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองในโอกาสใด
คำตอบคือเกือบร้อยทั้งร้อย เราใช้เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองเพื่อเปิดงาน หรือปิดงานอย่างเป็นทางการ เราไม่ใคร่จะได้นำเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองมาเปิดในโอกาสอื่นๆ นัก เพราะเมื่อได้ยินเพลงนี้ ชาวธรรมศาสตร์ทุกคนก็มักจะต้องลุกขึ้นยืนเสมอ ดังนั้นคำตอบของมหาวิทยาลัยที่ว่า อมธ. สามารถเลือกเพลงใดก็ได้ใน 20 เพลงที่อยู่ในคำแถลง ตามโอกาสและความเหมาะสม จึงเป็นคำแถลงแบบเลี่ยงๆ ไม่ชัดเจนพอ เพราะการประกาศว่าจะใช้เพลงมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองในทุกกิจกรรม ย่อมหมายถึงการจะไม่ใช้เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองเพื่อเปิดหรือปิดงานอีกต่อไปนั่นเอง ไม่ใช่เป็นการเลือกใช้เพลงตามโอกาสและความเหมาะสมแต่อย่างใด
และมหาวิทยาลัยก็ไม่จำเป็นต้องนำรายชื่อเพลงธรรมศาสตร์ทั้ง 20 เพลงมาแสดง เพราะแม้แต่ อมธ. ก็คงไม่นำเอาเพลงเช่น อาลัยโดม มาเป็นเพลงเพื่อเปิดหรือปิดงานอย่างแน่นอน
อนึ่ง ผมต้องขอเรียนว่า ผมได้ตัดสินใจ block ผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในโพสต์ที่ 2 ไป 1 คน ประการแรกเนื่องเพราะคนๆ นี้ไม่ปรากฏว่าเป็นเพื่อน fb ของผม และไม่ทราบว่าเป็นใคร เพราะไม่ได้ใช้ชื่อจริง แต่ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ น่าจะเป็นเพราะเป็นเพื่อนของเพื่อนใน fb ประการที่ 2 ความคิดเห็นของเขาแม้ไม่ใช้คำหยาบ แต่ไม่ได้เป็นความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ ตรงกันข้าม เป็นความคิดเห็นที่เสียดสี ประชดประชันมากกว่า เพราะเขาบอกให้ผมไปสมัครเป็นอธิการบดี หรือนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสียเอง ซึ่ง page ของผมเป็น page ส่วนตัว จึงเป็นสิทธิของเจ้าของ page ที่จะ block ผู้ที่แสดงความเห็นในเชิงตีรวนได้ แต่หลังจาก block ไปแล้วคนๆ นี้ยังไปเขียนโจมตีในช่องทางอื่นอีก โดยกล่าวหาว่าผมพยายามกดดันสังคม มธ. ให้แบนหรือ ยกเลิกแถลงการณ์ฉบับนี้ของ อมธ. ซึ่งหากไปอ่านโพสต์ของผมทั้ง 2 โพสต์ ก็จะเห็นว่า ไม่ได้มีข้อความเช่นนั้นเลย และยังว่าผมดุดันเกรี้ยวกราด ก็ไม่ทราบว่าดุดันเกรี้ยวกราดอย่างไร ตรงไหน
หวังว่า เรื่องนี้จะจบเพียงเท่านี้ และต้องขออภัยทุกท่านที่ครั้งนี้ผมไม่ได้ใช้เนื้อที่ใน page นี้ เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือให้ความรู้อย่างที่เคยทำเสมอมา แต่มาใช้ในการอธิบายแก้ต่างให้กับตัวเอง
หวังว่าทุกท่านคงเข้าใจนะครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แม้ได้สัญญาณบวกจาก World Bank แต่ต้องระวังไม่ให้ 'หวยเกษียณ' กลายเป็นนโยบายพนันที่แฝงการออม
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ World Bank ชม ‘หวยเกษียณ’ เป็นสัญญาณบวก เหตุสร้างวินัยการออมโดยไม่บังคับ ผสมผสานเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับเป้าหมายเศรษฐกิจ คาดนำไปปรับใช้กับประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา หรือเอเชียใต้ เตือน! รัฐต้องระวังไม่ให้กลายเป็นนโยบายการพนันที่แฝงมากับการออม เสนอ
‘อดีตรองอธิการฯมธ.’ ฟังธง! ‘ลูกชายเนวิน’ ส่งสัญญาณ รัฐบาลจะถึงจุดจบในอีกไม่นาน ‘อิ๊งค์-แม้ว’ ไม่ได้อยู่ในไทย
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความว่า คงไม่ต้องถกเถียงกันแล้วว่า การประกาศกลาง
นักวิชาการแนะรัฐดึงเอกชนร่วมตรวจโครงสร้างพื้นฐาน เร่งเช็กความปลอดภัย ‘เขื่อน-ประปา’ ทั่วประเทศ
นักวิชาการธรรมศาสตร์ชี้แผ่นดินไหวยังอยู่ในระดับวางใจได้ แต่ต้องเร่งตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย แนะรัฐดึงเอกชนร่วมมือแก้ปัญหากำลังเจ้าหน้าที่ไม่พอ ย้ำหากปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารเคร่งครัด ความเสียหายจะไม่รุนแรง
'กลุ่มล้อการเมือง มธ.' ร้องถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามหนัก หลังงานฟุตบอลประเพณี
น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และน.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว สส.ปทุมธานี พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกกมธ.