‘ปริญญา’ โชว์ผลโหวตเสียงประชาชน 93.17% ‘บิ๊กตู่’ ไม่ควรเป็นนายกฯเกิน 8 ปี

22 ส.ค.2565-ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว แถลงผลโหวต เสียงประชาชน ครั้งที่ 2 โดย เครือข่ายนักวิชาการ “เสียงประชาชน” 8 มหาวิทยาลัย ระบุว่า ตามที่เครือข่ายนักวิชาการ “เสียงประชาชน” 8 มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับทีวีดิจิตอลและสื่อออนไลน์ 8 สำนัก จัดให้มีการโหวต “เสียงประชาชน” ครั้งที่ 2 ในเรื่อง 8 ปีนายกรัฐมนตรี ทางโทรศัพท์มือถือ โดยมีกติกาคือ โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง หรือ หนึ่งเลขหมายโหวตได้หนึ่งครั้ง ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น

บัดนี้การโหวต “เสียงประชาชน” ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน และสื่อที่ร่วมโครงการ จึงขอแถลงผลให้ทราบดังต่อไปนี้ 1. จำนวนการโหวตทั้งหมด คือ 374,063 โหวต โดยเป็นการโหวตในประเทศไทย 369,484 โหวต จากต่างประเทศ 4,579 โหวต ทั้งนี้มีการโหวตที่ไม่สมบูรณ์อีก 1,438 ครั้ง 2.จากคำถามที่ถามประชาชนว่า “การวินิจฉัยว่า​ พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ จะพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ​ 8​ ปี​ ในวันที่​ 24​ สิงหาคม​ 2565​ หรือไม่​ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ​ แต่ในฐานะประชาชน​ ท่านเห็นว่า​ พล.อ.​ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ ควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน​ 8​ ปีหรือไม่?”

ผลการโหวต คือ มีผู้ตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ “ไม่ควร” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี จำนวน 348,511 โหวต คิดเป็น 93.17% และตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ “ควร” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี จำนวน 25,552 โหวต คิดเป็น 6.83%

3.การโหวตนี้ไม่มีผลใดๆ ในทางกฎหมาย และไม่สามารถสรุปได้ว่า ประชาชนทั้งประเทศ 93.17% เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ “ไม่ควร” เป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี เพราะนี่คือผลการโหวตของประชาชนที่มาโหวตจากโทรศัพท์มือถือจำนวน 374,063 หมายเลขเท่านั้น  แต่สามารถสรุปได้ว่า จากการเปิดให้ประชาชนโหวต โดยฝ่ายที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี และฝ่ายที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี มีโอกาสในการโหวตอย่างเสมอกัน ผลการโหวตคือ 93.17% เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ “ไม่ควร” เป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี

4.พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกินกว่าวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หรือไม่? เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของการโหวต “เสียงประชาชน” คือการเปิดให้ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความสะดวก อยู่ที่ใดก็โหวตได้ไม่ต้องเดินทาง และไม่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระ

แม้ว่าการโหวต “เสียงประชาชน” ครั้งที่สอง จะมีผู้โหวตน้อยกว่าครั้งแรกเนื่องจากคำถามมีความซับซ้อนกว่า ทั้งยังดำเนินการในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่จำนวนการโหวต 374,063 ครั้งถือว่าเป็นจำนวนการเข้าร่วมทางออนไลน์ที่มากที่สุดอีกครั้ง จะเป็นรองก็เพียงการโหวต “เสียงประชาชน” ครั้งแรกที่มีผู้โหวต 524,086 โหวต เท่านั้น

เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน และทีวีดิจิตอลและสื่อออนไลน์ที่ร่วมโครงการ ขอขอบพระคุณประชาชนทุกท่านที่มาร่วมโหวต และขอบคุณสื่อต่างๆ อื่นๆ ทั้งหมดที่ช่วยประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำให้ “เสียงประชาชน” ได้ดังขึ้นมาในประเทศไทยของเรา เพื่อจะนำไปสู่การฟัง “เสียงประชาชน” ให้มากขึ้น และพัฒนาไปสู่การมี “ประชาธิปไตยโดยตรง” ให้มากขึ้นต่อไปในอนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ

'ปริญญา' แจ้งข้อสอบนักศึกษา มธ. มติรัฐสภาห้ามโหวตพิธาซ้ำ ขัด รธน.หรือไม่

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ขอแจ้งแนวข้อสอบแก้ตัว #วิชากฎหมายมหาชนเบื้องต้น (น.250) ซึ่งจะมีการสอบในวันพรุ่งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัว ดังนี้ครับ