บทบาทศาลรธน.วินิจฉัยปม 'นายกฯ 8 ปี' ต้องเป็นไปตามหลักสากล

11 ก.ย. 2565 -​ ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักกฎหมาย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

บทบาทศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปมนายกฯ 8 ปี ต้องเป็นไปตามหลักสากล

หลักทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้และการตีความกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ต้องตีความตามลายลักษณ์อักษร 

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264   นั้น ไม่ได้ระบุว่าให้รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 มาใช้ด้วย นั้น

ปัจจุบันใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมาย

โดยความเห็นชอบของรัฐสภา ส่วนในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้ เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้ เป็นกฎหมายอยู่

แท้จริงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในปี 2557 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไปถึงรัฐธรรมนูญปี 2560 ขณะนั้น

ด้วยเหตุดังกล่าว การประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  ผู้รับสนองพระราชโองการ คือนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศว่าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 นั้น ต้องตีความไปตามลายลักษณ์อักษร

แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคําร้องปมนายกรัฐมนตรี 8 ปี ไว้พิจารณาตามมาตรา 210 (2)  กระบวนการพิจารณาของศาลก็ต้องดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้  หากจะให้ศาลรัฐธรรมนูญ  มีอำนาจครอบจักวาลต้องแก้ไขกฎหมาย

ทั้งนี้ใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 256 (9)ให้อํานาจศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบในทางเนื้อหาของรัฐธรรมนูญมาตรา 264 “ขัดต่อกฎหมาย” หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอํานาจพิจารณากระบวนการในการแก้ไข รัฐธรรมนูญในลักษณะเดียวกันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 148 วรรคสามแต่อย่างใด ต้องพิจารณาใจความสำคัญและเนื้อหาแห่งรัฐธรรมนูญปี 2560 แล้ววินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีสามารถอยู่ต่อได้ตามรัฐธรรมนูญ ถึงปีไหน  หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นับตั้งแต่ปี 2560 นายกรัฐมนตรีก็จะสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2568

กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมาย มีลักษณะ เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้  แม้บ่อเกิด แห่งรัฐธรรมนูญจะบัญญัติในปี 2560 ก็ต้องพิจารณาว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อใด และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อใด

เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศว่าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ย่อมมีความหมายว่าก่อนหน้านั้น ตราบใดที่คณะรัฐมนตรียังไม่เห็นชอบ ย่อมไม่มีผลเป็นกฎหมาย นั้น

 เป็นไปตามบรรทัดฐาน ของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ10 ว่ากฎหมายมีผลบังคับเมื่อประกาศใช้ และศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยในปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย นับตั้งแต่ประกาศใช้

เป็นบรรทัดฐานแล้วกฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง

ดังนั้นการสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 9 มิถุนายน 2570.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ย้ำไม่ได้เร่งยุบก้าวไกลแต่ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ศาล รธน.แล้วตั้งแต่ 25 มี.ค.

กกต.แจง ส่งเอกสาร ยื่นยุบก้าวไกล เพิ่มเติมถึงศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ส่วนคำร้องยุบภูมิใจไทยเป็นคนรับประเด็น

กกต.ได้เอกสาร 44 สส.ก้าวไกลลงชื่อแก้ 112 ส่งศาลรธน.พิจารณายุบพรรคแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญยังไม่พิจารณาคำร้องยุบพรรคก้าวไกลเนื่องจากมีเอกสารบางรายการที่กกต.ส่งไปไม่ชัดเจนและมีคำสั่งให้กกต. ส่งเอกสารที่ชัดเจนให้กับศาลรัฐธรรมนูญภายใน

ดร.เสรี บอก 'สลิ่ม' อย่าเพิ่งดีใจว่าก้าวไกลจะโดนยุบพรรค

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า "สลิ่มอย่าเพิ่งดีใจไปว่าพรรคก้าวไกลจะโดนยุบพรรค เพราะเขา

'จตุพร' ชี้ 1% 'ก้าวไกล' รอดยุบพรรค

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ถึงศาล รธน.ไม่รับคำร้องยุบพรรคเพื่อไทยไว้พิจารณา เพราะคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ยื่นนั้น แตก