ต้องอ่าน! อัษฎางค์ไล่เรียงให้เห็นอะไรทำให้รู้ว่าไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการล้มล้าง

“อัษฎางค์ ยมนาค” อธิบายชัดๆ ถึงที่มาที่ไป ทำไมศาลรัฐธรรมนูญถึงวินิจฉัยการกระทำของ 3 กับเป็นการล้มล้างการปกครอง พร้อมท้าเครือข่ายเก่งจริงกล้าสาบานไหม

11 พ.ย.2564 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาในลักษณะบทความเรื่อง “อะไรทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นความพยายามที่จะล้มล้างการปกครอง” มีเนื้อหาว่า การล้มล้างการปกครอง มีความหมายเดียวกับ การปฏิวัติ

“ปฏิวัติ” ความหมายของคำว่า ปฏิวัติ คือ
• เปลี่ยนแปลงทั้งหมดอย่างฉับพลันทันใด
• การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองด้วย อริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้
• การเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเป็นอีกฉบับหนึ่งโดยสมบูรณ์ (ซึ่งก็หมายถึง การล้มล้างรัฐธรรมนูญ)
• การดัดแปรรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิม

“ปฏิรูป” ความหมายของคำว่า ปฏิรูป คือ ปรับปรุงให้เหมาะสม ปรับปรุงให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีการประกาศของ”กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1" ซึ่งระบุข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ที่เป็นประเด็นสำคัญในข้อกฎหมาย ได้แก่
• ยกเลิกมาตรา 6
• ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ที่นี่มาดูว่า ทั้ง 2 มาตรา กำหนดไว้ว่าอย่างไร
• มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
• มาตรา 112 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

ผมขออธิบายสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ มาตรา 6 กำหนดว่า “ห้ามละเมิด” เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ มาตรา 112 กำหนดโทษ ผู้ละเมิด (ซึ่งรวมไปถึงดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย)
ต้องจำคุก

กฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ห้ามละเมิด พระมหากษัตริย์ แต่”กลุ่มแนวร่วม” เรียกร้องให้”ยกเลิก” ซึ่งหมายความว่า ต้องการปล่อยให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการกระทำที่”บ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์” อันอาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” พระมหากษัตริย์ทรงเป็นกลางทางการเมือง และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีผู้ใดจะละเมิด กล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ จึงต้องมีกฎหมาย เพื่อปกป้องพระมหากษัตริย์จากความขัดแย้งทางการเมืองและการกระทำในลักษณะหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย จึงเป็นที่มาของกฎหมายมาตรา 6 และมาตรา 112

ซึ่งหากมีผู้ใดหรือกลุ่มใดคิดยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112 มันส่อพฤติกรรมว่า คนผู้นั้นหรือกลุ่มนั้น มีเป้าประสงค์ในทางการเมือง เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองของไทยอย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ที่แปลว่า พระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย
หากปล่อยให้มีใครละเมิดพระมหากษัตริย์ได้ ก็เท่ากับละเมิดประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน

รัฐธรรมนูญกำหนดว่าอะไร มาตรา 5 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับ มิได้

***หมายความว่า ห้ามขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ แต่”กลุ่มแนวร่วม” ต้องการให้ยกเลิก ม.6 และ ม.112
ซึ่ง…มาตรา 6 กำหนดว่า “ห้ามละเมิด” เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
เท่ากับว่า กลุ่มแนวร่วม 1. ต้องการให้มีการ”ละเมิด”พระมหากษัตริย์ได้ และ 2. เป็นการกระทำที่ “ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” ซึ่งกระทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญห้ามเอาไว้ว่า ห้ามละเมิด และห้ามขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่า ศาล”รู้ทัน”กลุ่มแนวร่วม เพราะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า”ผู้ถูกร้องที่ 1-3 มี ‘เจตนาซ่อนเร้น’ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป”

สิ่งที่ทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นความพยายามที่จะล้มล้างการปกครอง ได้แก่… ความพยายามที่จะให้มีการยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112 เนื่องจาก ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยมี”พระมหากษัตริย์”เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย หากปล่อยให้มีใครละเมิดพระมหากษัตริย์ได้ ก็เท่ากับละเมิดประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ความพยายามในการละเมิดพระมหากษัตริย์ คือการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นความพยายามในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็เท่ากับความพยายามล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำวินิจฉัยว่า “การใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจ ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง”

“….หากยังคงให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 และองค์กรเครือข่าย กระทำการดังกล่าวต่อไป อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

“ด้วยเหตุข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
และสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 รวมถึงองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรค 2”

หลังคำวิวินิจฉัยเสร็จสิ้น รุ้ง ปิยะบุตร และแกนนำ ยังคงเคลื่อนไหวและกล่าวว่า ที่ศาลตัดสินว่า “…ให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 รวมถึงองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าว” องค์กรเครือข่าย ที่ศาลอ้างถึงคือใคร กลุ่มใด เป็นพยายามของผู้ถูกร้องหรือแกนนำ และผู้อยู่เบื้องหลังองค์กรเครือข่าย เพื่อจะปฏิเสธว่า ไม่มีเครือข่ายอะไร เพื่อปกป้องให้เครือข่าย ได้เดินหน้าเคลื่อนไหวต่อไป หากผู้ถูกร้องหรือแกนนำถูกดำเนินคดี ทั้งที่ผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ใช้คำเรียกตนเองว่า “กลุ่มแนวร่วม” ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียว หรือแค่แกนนำ 3 (อานนท์ รุ้งและไมค์) แต่เป็นการกระทำร่วมกันของ”กลุ่มแนวร่วม” ซึ่งมีความหมายเดียวกับ “เครือข่าย” หลักฐานสำคัญก็คือ มีการอ่านประกาศของ”กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ให้ยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112

ในภาพประกอบด้านล่าง คือภาพที่เบื้องหน้า ประกาศ ปฏิรูป แต่ข้อความด้านหลังเขียนชัดเจนว่า ต้องการ ปฏิวัติ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่า ศาล”รู้ทัน”กลุ่มแนวร่วม” เพราะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า”ผู้ถูกร้องที่ 1-3 มี ‘เจตนาซ่อนเร้น’ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป” ซึ่งไม่ว่าแกนนำที่อยู่เบื้องหน้าหรือที่อยู่เบื้อหลังโดยแอบอยู่ใต้กระโปรงนักศึกษา และกลุ่มเครือข่ายแนวร่วม จะอ้างว่า ตั้งใจเพียงแค่ ปฏิรูป แต่เชื่อได้สนิทใจว่า ทั้งหมดทุกคนรู้ดีอยู่แก่ใจว่า ตนเอง ต้องการปฏิวัติ ไม่ใช่แค่ ปฏิรูป

คนที่โกหกผู้อื่นและโกหกได้แม้กระทั่งโกหกตนเอง ยังมีความชอบธรรมอะไรมาอ้างว่าทำไปด้วยความหวังดี แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และราษฎร เพราะคำกล่าวอ้างนั้นย่อมมีแต่การโกหกทั้งสิ้น ออกมาสาบานซิ…ว่าไม่จริง ถ้าจริงขอให้ตนเองและวงศ์ตระกูลฉิบหาย 7 ชั่วโคตร และขอให้การกระทำเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่มีวันสำเร็จทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ทักษิณ ธนาธร ปิยะบุตร พิธา ช่อ เจี๊ยบ รุ้ง เพนกวิน อานนท์ ไมค์ ฯลฯ กล้าสาบานไหม
กล้ารับคำท้าหรือไม่ การไม่กล้ารับคำท้า ก็คือยอมรับแต่โดยดีนั้นเอง

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฟาด 'ธนาธร' ดึงสถาบันสู่ความขัดแย้ง คืนความเป็นธรรมให้ 'ทักษิณ' พากลับบ้านรื้อคดีใหม่

เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่ความขัดแย้งทั้งปวง แล้วอ้างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำแลง

ธีรยุทธ ผู้ร้องคดีต่อ กกต. ศาล รธน.ไต่สวน-จบเร็ว นับถอยหลังยุบ'ก้าวไกล'

จากมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ให้ส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบ "พรรคก้าวไกล" เนื่องจากมีหลักฐานเชื่อได้ว่ากระทำการล้มล้างการปกครอง

เหน็บ นายกฯ เดินสายเล่นตลกไปทั่วโลก จะสร้างอิมแพคผู้นำแฟชั่น เอาอะไรคิด

เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า ใคร….สามารถสร้างอิมแพค เกิดอิทธิพลเป็นผู้นำแฟชั่นกับโลกได้

ก้าวไกลพร้อมรับมือยุบพรรค 'พริษฐ์' เผยเตรียมพรรคสำรองไว้แล้ว!

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติส่งสำนวนยุบพรรคก้าวไกล ต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า พรรคก้าวไกล และทีมกฎหมาย

ศาลยกฟ้องคดี 'ธนาธร' แจ้งหมิ่นฯ 'หมอวรงค์' พาดพิงสนับสนุนล้มล้างการปกครอง

ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดี คดีดำอ.280/2564 ที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เป็นโจ