โยงเก่ง! 'ปิยบุตร' อ้างประเทศอื่นที่มีกษัตริย์ ไม่มีปัญหาการลงนาม ICC

4 ต.ค.2565- นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟสบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล หัวข้อ ประเทศอื่นที่มีกษัตริย์ ไม่มีปัญหาการลงนาม ICC

ธรรมนูญกรุงโรมข้อที่ 27 ระบุว่า ต่อให้กฎหมายภายในของรัฐสมาชิกเขียนคุ้มกันไม่ให้ดำเนินคดีเอาไว้ แต่ถึงเวลาเมื่อต้องมาขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ สิ่งที่ถูกเขียนคุ้มกันเอาไว้ จะไม่มีผลคุ้มกันในการพิจารณาตัดสินคดีของอาญาระหว่างประเทศ

แต่ข้อนี้ทำไปทำมา กลายเป็นปัญหาของประเทศไทย ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เลยไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ มีการอ้างกันว่า ถ้าลงนามเข้าร่วมจะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 8 (ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550) และในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 คือ มาตรา 6 ที่ระบุไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

ข้อกล่าวอ้างที่ยกมาพูดกันคือ ตามธรรมนูญกรุงโรมข้อที่ 27 ที่ปลดความคุ้มกันออกไปจากกฎหมายภายในประเทศของรัฐสมาชิก ดังนั้นถ้าประเทศไทยเข้าร่วม ก็จะปลดความคุ้มกันของกษัตริย์ไป ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะขัดรัฐธรรมนูญของไทย เลยเข้าร่วมไม่ได้ อันนี้คือเหตุผลที่มีการยกมากล่าวอ้างกัน ทั้งๆ ที่การอ้างเช่นนี้ ให้เหตุผลเช่นนี้ไม่เป็นคุณต่อสถาบันกษัตริย์

ประการแรก รัฐที่มีกษัตริย์เป็นประมุขลงนามให้สัตยาบันรับรองธรรมนูญกรุงโรม เข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ สวีเดน สเปน นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา ฯลฯ ประเทศเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองแบบเดียวกับไทยทั้งสิ้น คือระบอบ Constitutional Monarchy

ประการที่สอง ระบอบ Constitutional Monarchy นั้น กษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจเอง กล่าวคือ คนที่ต้องรับผิดชอบการกระทำทั้งหมดคือรัฐมนตรีที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กษัตริย์ไม่เกี่ยว ตามหลัก the king can do no wrong because the king can do nothing เช่น หากรัฐบาลกระทำอะไรผิด ไปก่อสงคราม ไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คนที่รับผิดชอบก็คือ รัฐบาล นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้กระทำ เป็นผู้รับผิดชอบ กษัตริย์ไม่เกี่ยว ในทางกลับกัน ยิ่งไปให้เหตุผลแบบที่รอยัลลิสต์บางกลุ่มให้เหตุผลยิ่งเป็นอันตราย เพราะคนจะเริ่มคิดว่า สรุปแล้วเป็นเช่นใดกันแน่? แล้วเอามาใช้อ้างไม่เข้าร่วมกับศาลอาญาระหว่างประเทศเพราะเกรงว่ากษัตริย์จะเกี่ยวข้องหรือไม่ แบบนี้อันตราย ในต่างประเทศเขาไม่ได้สนใจเลย แล้วก็ไม่ได้ให้เหตุผลแบบนี้กันด้วย เพราะตามระบอบ Constitutional Monarchy กษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว รัฐบาลผู้ลงนามรับสนองเป็นผู้ที่ใช้อำนาจที่แท้จริง ดังนั้นต้องไปรับผิดชอบเอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปิยบุตร' ยก 'เลนิน-กรัมชี่' การปฏิวัติที่ยั่งยืน ต้องสถาปนาระบอบสภาเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพทั้งในและนอกสภา

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล หัวข้อ การเลื

'ดร.อานนท์' ร่ายยาว ไม่เคยมีใครสั่งให้เขียนหรือพูดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊ก Arnond Sakwora

ฟาด 'ธนาธร' ดึงสถาบันสู่ความขัดแย้ง คืนความเป็นธรรมให้ 'ทักษิณ' พากลับบ้านรื้อคดีใหม่

เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่ความขัดแย้งทั้งปวง แล้วอ้างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำแลง

'ชัยธวัช' ยังปากดี! บอกยุบก้าวไกลระวังเป็นเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันด้านกลับ

'ชัยธวัช'รับ อาจสู้ยากกว่าคดีอื่น แต่จะสู้เต็มที่ เพื่อให้ศาล รธน. เปิดการไต่สวนคดี เหตุ 'ก้าวไกล' ควรได้แจงข้อเท็จจริง ชี้หากถูกยุบ ไม่ใช่เรื่องต้องทำใจ กลับกลายเป็นการ 'เซาะกร่อนบ่อนทำลาย' สถาบันเอง

นิสิตเก่าจุฬาฯร่อนหนังสือถึงอธิการบดีฯขอความคืบหน้า ถอดถอนวิทยานิพนธ์ 'ณัฐพล'

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 ทำหนังสือถึง นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเนื้อหาดังนี้

เปิดรายงานสภาสูง ชี้พฤติการณ์จาบจ้วงสถาบันฯ ทวีรุนแรง เข้าข่ายภัยมั่นคง

เปิดรายงาน กมธ. สภาสูง ชี้พฤติการณ์จาบจ้วงล่วงละเมิดต่อสถาบันฯ นับวันยิ่งทวีความรุนแรง เข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง ย้ำมีการทำเป็นกระบวนการ หวั่นเกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม